ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過200萬的網紅SPY Channel,也在其Youtube影片中提到,เสาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา ------------------------- ติดต่อ E-mail [email protected] Facebook - #SPYchannel Thanks - www.transparency.org / COR...
「corruption perceptions index」的推薦目錄:
- 關於corruption perceptions index 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於corruption perceptions index 在 Facebook 的精選貼文
- 關於corruption perceptions index 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於corruption perceptions index 在 SPY Channel Youtube 的最讚貼文
- 關於corruption perceptions index 在 Corruption Perceptions Index 2021 | Transparency International 的評價
corruption perceptions index 在 Facebook 的精選貼文
เยอรมนีกับ "การโกง"
เพราะเราไม่สามารถเดินไปบอกคนอื่นว่า อย่าโกงน๊า แล้วเค้าจะหยุดโกงเนอะ และก่อนอื่นพ่อบ้านต้องขอบอกก่อนว่าในโลกนี้ไม่น่าจะมีประเทศไหนที่ปราศจาก
"การโกงได้ 100%"
ตราบใดที่ยังมีมนุษย์มันย่อมต้องมีช่องโหว่ทางใดทางนึงอย่างแน่นอน หากแต่ว่าประเทศไหนที่สามารถปิดช่องโหว่ของการทุจริตเหล่านั้นให้ได้มากที่สุดและโปร่งใสที่สุด
ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของพ่อบ้านที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือที่เยอรมนี
- คุณไม่สามารถที่จะจ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อให้เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกให้คุณได้
- ถ้าคุณมีปัญหาเช่นในเรื่องของจราจร ถ้าคุณผิดคุณจะไม่สามารถต่อรองกับตำรวจโดยใช้เงินฟาด หรือพับเล็กๆ ส่งให้ตำรวจได้
- เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ จะไม่เรียกร้องขอเงินพิเศษจากคุณ เพื่อให้เค้าลัดขั้นตอนพิเศษ
- จะไม่มีเงินทอน(ในระบบแน่นอน) และนายทุนนั้นก็ไม่ได้มีอำนาจแข็งแรงจนเกินไปเพราะเค้ามีกฎหมายด้านการผูกขาดอย่างโคตรเข้มแข็ง และมีทนายและเจ้าหน้าที่รอพร้อมที่จะฟ้องร้องคุณตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นได้เลยว่ามีดีลขนาดใหญ่หลายครั้งของบริษัทต่างๆ ที่โดนระงับเพราะด้วยเหตุผลข้างต้นอยู่เรื่อยๆ
นี่คือสิ่งที่พ่อบ้านสัมผัสได้เบื้องต้นหลังจากการอาศัยอยู่ที่นี่มา โดยสิ่งที่เยอรมนีทำนั้นก็คือการ
"วางระบบ, ไม่เลือกปฏิบัติ, และบังคับใช้เท่าเทียม"
วางระบบ = การปิดช่องโหว่ในการโกงตั้งแต่ในระบบ เช่น
- การโอนค่าธรรมเนียมแก่หน่วยงานรัฐต่างๆ ที่เยอรมันจะเน้นการโอนเงินเข้าบัญชีกลางเป็นหลัก ซึ่งมีกรณีที่น้อยมากๆ ที่เจ้าหน้าที่จะรับเงินสดเอง หรือถ้ารับเองก็จะมีใบเสร็จให้
- การประมูลโครงการต่างๆ นั้นสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่ขั้นตอนการประกาศชัดเจน และคอยแจ้งความคืบหน้าให้กับประชาชนเป็นระยะๆ เช่นการลงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ในหนังสือพิมพ์ของเมือง, Website พร้อมรายละเอียดทั้งหมดเช่น ผู้เข้าร่วมประมูลมีใครบ้าง และมีการเสนอราคาเท่าใด เป็นต้น
-การทำงานแต่ละขั้นตอนจะมีลำดับชั้นในการเข้าถึงข้อมูลอย่างชัดเจน และแม้แต่หน่วยงานของรัฐเองก็ไม่สามารถนำข้อมูลของคุณไปใช้ได้อย่างผิดวัตถุประสงค์
ไม่เลือกปฏิบัติ = ที่เยอรมันไม่ว่าคุณจะใหญ่มาจากไหน คุณก็ต้องเข้าคิว แม้แต่ผู้นำประเทศเองก็ตามถ้ายังไม่ถึงคิวก็จะมาลัดคิวมั่วซั่วไม่ได้
บังคับใช้เท่าเทียม = ต่อให้คุณเป็นเศรษฐี, เป็น สส., เป็นผู้ที่มีอำนาจ ถ้าคุณทำผิดจริง คุณก็จะต้องได้รับโทษอย่างเท่าเทียมกัน
และที่นี่ก็ดีอยู่อย่างเช่น ถ้า สส. คนไหนมีข้อครหาเกี่ยวกับเรื่องการทุจริต (แบบไม่ใช่ลอยๆ ไม่มีหลักฐาน) เค้าจะยุติบทบาท หรือลาออกทันทีโดยไม่ต้องมีใครมาร้องขอ
แต่ก็ใช่ว่าเยอรมนีนั้นจะโปร่งใส 100% ดังที่พ่อบ้านกล่าวไว้ข้างต้น เพราะมันก็มีกรณีที่หลุดมาเป็นระยะๆ เช่นกันหากแต่ว่าถ้าคุณสังเกตุดีๆ ปัญหามันจะเป็นการโกงในลักษณะที่
- ไม่ได้โกงในประเทศเยอรมนี เช่นกรณีล่าสุดของ Wirecard ที่ทำการทุจริตในประเทศอื่น หากแต่ว่าหน่วยงานของเยอรมันก็สืบค้น จนจับได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น
- เป็นการโกงที่ไม่ได้อยู่ในระบบ เช่นไม่ได้ผ่านระบบราชการ หรือระบบบริษัท แต่แอบไปดีลกันในรูปแบบ ปากต่อปาก หรือความสัมพันธ์ส่วนตัว โดยแทบที่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆ เลย แต่เราก็จะเห็นได้ว่าหลายครั้งระบบของเยอรมันก็ไปตามจับมารับผิดจนได้แม้ว่าคุณจะใหญ่แค่ไหนก็ตาม
ดังนั้นเมื่อ ระบบมันมี, ไม่เลือกปฏิบัติ และบังคับใช้ได้จริง เมื่อผ่านไปหลายๆ เคสเข้า หลายๆ เคสเข้า
"มันก็ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมที่ไม่อยากจะโกงที่สืบต่อกันไปเรื่อยๆ"
และคนที่คิดจะโกงนั้นก็จะต้องคิดหนักเป็นอย่างมาก
พ่อบ้านจึงไม่แปลกใจว่าทำไมเวลามีการวัดผลด้านทุจริตใดๆ ก็ตามประเทศเยอรมนีนั้นก็มักจะติดอันดับอยู่ต้นๆ เสมอเช่น
Corruption Perceptions Index เยอรมนี ได้ลำดับที่ 9 จาก 180 ประเทศ
หรือข้อมูลจาก GAN Integrity ก็ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเรื่องของการทุจริตนั้นไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงหลักของประเทศเยอรมนี
"เห็นด้วยกับพ่อบ้านมั้ยครับว่าเรื่องของการโกงนั้น ใครๆ ก็รู้ว่าควรแก้ไขอย่างไร หากแต่ว่าคุณก็ต้องมีการวางระบบที่ดีเพื่อกันไว้ดีกว่าแก้, ไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม, ถ้าผิดจริงบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน"
"เพราะถ้าไม่มีสิ่งที่พ่อบ้านบอกข้างต้นเอาไว้อย่างเข้มแข็งพอ บางครั้งถึงจะมีจิตสำนึกที่ดีหรือซื่อสัตย์แค่ไหนก็ตาม ก็อาจจะพ่ายแพ้ให้กับกิเลศ หรืออำนาจที่มองไม่เห็นก็เป็นได้"
" พ่อบ้านขอแสดงความเคารพแก่ทุกๆ คนไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน หน่วยงานใดก็ตาม ที่ทำหน้าของคุณอย่างสุจริต"
#พ่อบ้านเยอรมัน #เยอรมนี #เยอรมัน #Germany #German
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.transparency.org/en/countries/germany#
https://tradingeconomics.com/germany/corruption-index
https://www.oecd.org/germany/39254544.pdf
https://www.ganintegrity.com/portal/country-profiles/germany/
https://workpointtoday.com/wirecard-explained/
https://www.lexology.com/library/detail.aspx?g=2379856c-84cc-4f13-b6cc-cc0f546df7fb
corruption perceptions index 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
บราซิล ประเทศที่เคยเติบโตสูง แต่ตอนนี้คนอยากย้ายออก /โดย ลงทุนแมน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา บราซิล เคยได้รับการจับตามองว่า จะกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงประเทศหนึ่งของโลก เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างโดดเด่น
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีมานี้ ความหวังนั้นค่อย ๆ ริบหรี่ลงไปเรื่อย ๆ
เศรษฐกิจของบราซิลกลับเติบโตช้าลง จำนวนคนตกงานพุ่งสูงขึ้น
เรื่องนี้ทำให้ชาวบราซิลจำนวนมาก เริ่มสิ้นหวังและตัดสินใจอพยพออกนอกประเทศ จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สมองไหล”
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2000-2011 บราซิลมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว มากกว่า 5% ต่อปี
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในปี 2012 GDP ของบราซิลสูงถึง 86.2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า GDP ของสหราชอาณาจักร
และเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ณ เวลานั้น
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนบราซิล เพิ่มขึ้นจากราว 123,600 บาท ในปี 2000 มาอยู่ที่ราว 426,700 บาท ในปี 2011
จุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการเติบโตของบราซิลนั้นเกิดมา ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ รับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ
ขณะที่ในปี 1995 บราซิลได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
ทั้ง 2 ปัจจัย ทำให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศของบราซิลนั้นเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าการค้าของประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการจ้างงานและการลงทุนต่าง ๆ ภายในประเทศเกิดขึ้นตามไปด้วย
การเปิดประเทศยังช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตในประเทศ
นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลบราซิลในตอนนั้น
ยังได้แสดงเจตจำนงในการชำระหนี้ที่กู้จากต่างประเทศ
ทำให้ภาระหนี้สินที่บราซิลกู้ยืมจากต่างประเทศ จากเดิมที่ประมาณ 59% ต่อ GDP ในปี 2003 ลดลงจนเหลือ 12% ต่อ GDP ในปี 2009
ภาระหนี้สินที่กู้จากต่างประเทศที่ลดลงจนเหลือสัดส่วนต่ำ ช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลให้โดดเด่นมากในเวลานั้น
จนบราซิลเคยถูกจับตามองว่า เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงทางด้านเศรษฐกิจ
บราซิล ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีชื่อว่า “BRIC” ซึ่งประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน ก่อนที่จะเพิ่มประเทศแอฟริกาใต้เข้ามาอีกในปี 2010 และใช้ชื่อว่า “BRICS” ในปัจจุบัน
แต่ใครจะรู้ว่า นับจากนั้นเศรษฐกิจของบราซิลก็เริ่มประสบปัญหา
GDP ของบราซิล ในปี 2020 ลดลงมาเหลือ 47.6 ล้านล้านบาท จากที่เคยสูงกว่า 86 ล้านล้านบาท ในช่วงพีกคือปี 2011
ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้อดีตประเทศดาวรุ่งอย่างบราซิล กลับต้องเข้าสู่ยุคแห่งความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ปัจจัยก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น
- ประสิทธิภาพในการผลิตที่ต่ำ สวนทางกับค่าจ้างแรงงานที่พุ่งสูงขึ้น
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในช่วงปี 2003-2014 ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 68% ในขณะที่อัตราการผลิตต่อคนงานเพิ่มขึ้นเพียง 21%
พูดง่าย ๆ คือ ต้นทุนค่าแรงของธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพและผลผลิตนั้นเพิ่มขึ้นน้อยกว่ามาก ซึ่งการขาดผลิตภาพในการผลิตส่วนสำคัญเกิดมาจากการลงทุนในนวัตกรรมของประเทศที่ต่ำ
- ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
โดยเฉพาะท่าเรือ ถนน หนทาง ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ข้อมูลของ World Bank ระบุว่า ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของบราซิลนั้น ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 56 จาก 160 ประเทศทั่วโลก
ขณะที่ข้อมูลจาก International Trade Administration ของสหรัฐอเมริการะบุว่า การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ภายในบราซิลนั้นใช้รถบรรทุก ซึ่งเมื่อโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนหนทางไม่ค่อยมีความพร้อม ก็ทำให้เกิดต้นทุนค่าขนส่งที่สูง
- ปัญหาคอร์รัปชันในบราซิล ถือว่ารุนแรงไม่แพ้หลายประเทศในแถบอเมริกาใต้
ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ของประเทศนั้นได้คะแนนน้อยลงเรื่อย ๆ (ยิ่งน้อยลงคือยิ่งภาพลักษณ์ไม่ดีในเรื่องคอร์รัปชัน)
ปี 2012 บราซิลได้ 43 คะแนน และลดลงเหลือเพียง 38 คะแนนในปี 2020
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการคอร์รัปชันในบราซิลไม่เพียงแต่ยังคงอยู่ แต่กลับเลวร้ายลงเรื่อย ๆ
ปัญหาคอร์รัปชัน มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำสูงสุดของประเทศอย่างประธานาธิบดี อย่างเช่น ในปี 2015 อดีตประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
โดยเป็นการรับสินบนเพื่อแลกกับ การอนุมัติให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง เข้าไปรับงานก่อสร้างจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่อย่างปิโตรบาส รัฐวิสาหกิจน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ
ปัญหาคอร์รัปชันที่อื้อฉาวของนักการเมือง นักธุรกิจ สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบราซิลจำนวนมาก
เรื่องนี้ถึงขนาดทำให้ครั้งหนึ่งชาวบราซิลใน 3 รัฐทางใต้ ที่ไม่พอใจการบริหารและเรื่องคอร์รัปชันของรัฐบาล ร่วมลงคะแนนประชามติเพื่อแสดงความต้องการแยกประเทศ ภายใต้แคมเปน “The South is My Country”
การประท้วง การก่อจลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบราซิล
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้บราซิลที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว กลับสะดุด จนเหมือนกลายเป็นคนป่วยแห่งทวีปอเมริกาใต้ไปแล้วในตอนนี้
ความเปราะบางทางเศรษฐกิจแบบนี้ ยิ่งมาเจอผลจากการระบาดของโควิด 19 ก็ยิ่งทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย
ปี 2014 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 6.0 ล้านคน
ปี 2021 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 14.7 ล้านคน
จำนวนผู้ว่างงานสูง เศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมากรู้สึกว่า ตนเองต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข้อมูลจาก Migration Policy Institute (MPI) ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีชาวบราซิลอพยพออกนอกประเทศเฉลี่ยปีละกว่า 100,000 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และปัญหาความขัดแย้งมากมายในประเทศที่ดูไร้ทางออก
ประเด็นคือ ผู้ที่อพยพออกไป ได้รวมแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Brain Drain” หรือสมองไหล
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ประเทศหนึ่งกำลังสูญเสียคนเก่งไปจากประเทศ เนื่องจากคนเหล่านั้นต้องการออกไปทำงานและอาศัยในประเทศที่ทำให้พวกเขามีรายได้สูงกว่า สภาพการทำงานที่ดีกว่า
ดังนั้น อนาคตของบราซิลหลังจากนี้ จึงเกิดเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ของคนในประเทศตามมาว่า แล้วประเทศจะพัฒนาและก้าวหน้าจากวันนี้ไปได้อย่างไร ?
คนเก่ง ๆ ที่หมดหวังกับประเทศและอพยพออกไป
ทำให้บราซิลกำลังมีบุคลากรแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ ยิ่งทำให้มีการสร้างสรรค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ
รู้ไหมว่า วันนี้ สัดส่วนนักวิจัยต่อประชากร 1 ล้านคนของบราซิล มีอยู่เพียง 700 คนเท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอื่น
- จีน 1,071 คน
- รัสเซีย 3,191 คน
- สหราชอาณาจักร 4,269 คน
- สหรัฐอเมริกา 4,663 คน
ตอนนี้ ยังไม่มีใครรู้ว่า ปัญหาสมองไหลที่บราซิลกำลังเจออยู่นั้น จะรุนแรงมากกว่านี้ในอนาคตหรือไม่
และรัฐบาลจะหาทางหยุดปัญหานี้ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ฝังลึกอยู่ในประเทศได้อย่างไร
แต่เรื่องนี้ ก็ถือเป็นกรณีศึกษา ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยควรต้องจับตามอง
ว่าประเทศที่เคยรุ่งเรือง เปี่ยมไปด้วยความหวัง
ทุกอย่างก็พังทลายลงได้ หากการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/country/BR
-https://en.wikipedia.org/wiki/BRIC
-https://ditp.go.th/contents_attach/81555/81555.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazil
-https://www.migrationpolicy.org/article/migration-brazil-making-multicultural-society
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazilian_diaspora
-https://www.worldbank.org/en/country/brazil/publication/brazil-how-resume-growth-keep-social-progress
-https://www.trade.gov/knowledge-product/brazil-infrastructure
-https://tradingeconomics.com/brazil/unemployed-persons
-https://www.if.org.uk/2020/07/06/politics-covid-brain-drain-in-brazil/
-https://www.transparency.org/en/cpi/2020/table/bra
-https://www.bbc.com/thai/international-41544397
-http://chartsbin.com/view/1124
corruption perceptions index 在 SPY Channel Youtube 的最讚貼文
เสาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา
-------------------------
ติดต่อ E-mail Spykungchannel@gmail.com
Facebook - #SPYchannel
Thanks - www.transparency.org / CORRUPTION PERCEPTIONS INDEX / wikipedia
corruption perceptions index 在 Corruption Perceptions Index 2021 | Transparency International 的推薦與評價
... <看更多>