ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過5萬的網紅Human & Tech by May,也在其Youtube影片中提到,** แก้ไขและเพิ่มเติมนะคะ ** ขอบคุณมากนะคะที่ทักมา คำว่าเงินเฟ้อ แปลว่าของแพงค่ะ (แปลว่าราคาของสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง) โดยมีสาเหตุคือ - ปัจจัย...
economic คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สรุปประเด็นสำคัญจากงาน Thailand Focus 2021 /โดย ลงทุนแมน
ผู้นำภาครัฐและเอกชน มองและปรับตัวอย่างไร ในยุคหลังโควิด
วันนี้ทาง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้จัดงาน Thailand Focus 2021 ที่จะมาพูดคุยกันในเรื่อง “Thriving in the Next Normal” ที่จะครอบคลุมตั้งแต่ประเด็นเกี่ยวกับ การรับมือกับสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา, การปรับตัวในช่วงหลังโควิด ไปจนถึงความสำคัญของการทำธุรกิจแบบยั่งยืน
โดยมีแขกรับเชิญ จากทางฝั่งภาครัฐ และนักธุรกิจแนวหน้าของเมืองไทย ที่จะมาแบ่งปันมุมมอง, ประสบการณ์ และการปรับตัว เพื่อรองรับ Next Normal ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งจะแบ่งหัวข้อย่อย ออกเป็น 6 หัวข้อด้วยกัน
แล้วมีประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้าง ? ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง..
1. หัวข้อ Shaping Thailand’s Readiness for Post COVID-19 Economic Opportunities
โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
โดยกล่าวถึงการสร้างความพร้อมประเทศไทย สู่โอกาสทางเศรษฐกิจหลังโควิด 19
สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทางรัฐบาลมีแผนที่จะสนับสนุนการเปิดเศรษฐกิจหลายด้าน เช่น
- เดินหน้าลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ถนน, ทางรถไฟ, การบิน และพลังงานสะอาด
- ลดก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และออกพันธบัตรที่สนับสนุนการเติบโตแบบยั่งยืน
- สนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัล, สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ และชีวเคมี
- สถานที่สำหรับการระดมทุน ที่โปร่งใส เท่าเทียม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ซึ่ง LiVE Platformคือหนึ่งในโปรเจกต์ที่ประสบความสำเร็จมาก ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการเป็นตัวกลางที่จะช่วยให้ SME และ Startup เข้าถึงแหล่งเงินทุน
2. หัวข้อ From Resiliency to Recovery and Beyond : Central Bank Policies for an Uncertain World
โดย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจไว้ 3 ประเด็น
1) ภาพรวมเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทย ฟื้นตัวจากพิษโควิดได้ช้า และไม่สม่ำเสมอ เพราะว่าภาคการท่องเที่ยว ที่คิดเป็น 11% ของ GDP มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าภาคเศรษฐกิจอื่น รวมถึงภาคการบริการอื่น ๆ ที่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
อีกทั้งการระบาดของโควิดระลอก 3 และการกระจายวัคซีนที่ช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เนื่องจากมีทุนสำรองระหว่างประเทศ อยู่ในกลุ่มที่สูงที่สุดในโลก ในขณะที่หนี้ต่างประเทศ ยังอยู่ในระดับต่ำ
2) สิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อวิกฤติ
ซึ่งเน้นใช้วิธีที่ยืดหยุ่นและปฏิบัติได้จริง เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
3) สิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะดำเนินการต่อไปในอนาคต
ในระยะสั้น ทาง ธปท. ต้องการผลักดันให้ธนาคาร หันมาใช้มาตรการปรับโครงสร้างหนี้กันมากขึ้น โดย ได้อำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้ธนาคารหันมาใช้มาตรการนี้
ส่วนในระยะยาว ทาง ธปท. อยากให้โลกหลังโควิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งประเทศไทย ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวให้เห็นกันบ้างแล้ว เรื่องของความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม
ทาง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เริ่มมีการจัดอันดับบริษัทที่ทำธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG Index
3. หัวข้อ Living in Next Normal : COVID-19 Lessons Learned and Future Directions
ตอนนี้การระบาดในประเทศไทยได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว การติดเชื้อของผู้คนชะลอตัวลง และอัตราการเสียชีวิต ก็เริ่มเห็นสัญญาณการลดตัวลงอย่างเห็นได้ชัด จากการกระจายวัคซีน
ตอนนี้ประมาณ 30% ของคนไทยได้รับวัคซีนเข็มแรก และประมาณ 10% ได้รับเข็มสองไปเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งคาดว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ จะสามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 4 เดือนข้างหน้า
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีที่แล้วนั้น อยู่ในจุดที่ต่ำแล้ว
ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกสินค้าที่แข็งแกร่ง
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำได้ดีกว่าคาด ใน 1-2 ไตรมาสแรกของปีนี้ การส่งออกเป็นตัวช่วยในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้สามารถเติบโตได้ 7.5% ในช่วงครึ่งปีแรก มากกว่าที่ตลาดวิเคราะห์ไว้ที่ 6.4%
โมเมนตัมการเติบโตน่าจะแข็งแกร่งในปีหน้า ด้วยโครงการ การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
นักลงทุนควรมองข้ามสถานการณ์โควิด ซึ่งรัฐบาลคาดว่า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเต็มที่ภายในปีหน้า
และอีกปัจจัยหลักในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย คือ การที่คนทั่วโลกได้รับวัคซีนเร็วที่สุด ไทยจึงสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้เหมือนเคย
4. หัวข้อ How Thai Business Adapt to Current Crisis
ระบบธนาคารต้องปรับตัวอย่างมาก โดยให้ความสำคัญด้านสุขภาพและความปลอดภัยต่อบุคลากรและลูกค้า ซึ่งธนาคารบางสาขาถูกปิดทำการชั่วคราว และให้บุคลากร Work From Home (WFH)
จึงใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลักในการทำงาน และได้เพิ่มทางเลือกการทำธุรกรรมใหม่ เช่น Website, E-Marketplace และ Social Media เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน
รวมถึงการให้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียน ให้ทุกธุรกิจก้าวข้ามผ่านปัญหาเศรษฐกิจครั้งนี้
สำหรับ SCG ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งทางบริษัทก็ได้มีการปรับตัวมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่การปรับให้พนักงานมาทำงานแบบ WFH หรือการแบ่งพนักงานโรงงาน ออกเป็นสองกลุ่ม เพื่อลดความเสี่ยงการระบาด
การปรับผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น โดยการสังเกตพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างเช่น การ WFH ทำให้คนหันมาปรับปรุงบ้านมากขึ้น ก็ได้มีการบริการด้านการปรับปรุงตกแต่งบ้านเพิ่มเข้าไปด้วย
ส่วนในอนาคต ทาง SCG ก็พยายามเน้นในเรื่องของนวัตกรรมให้มากขึ้น และจะหันไปพัฒนาด้านอีคอมเมิร์ซสำหรับธุรกิจก่อสร้าง โดยจะยังคงให้ความสำคัญในเรื่องของความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ส่วนกลุ่มธุรกิจในเครือ CRC นั้นได้รับผลกระทบหลายภาคส่วน ตั้งแต่ภาคการโรงแรม, รีเทล และอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทก็ได้เริ่มปรับตัวมาตั้งแต่ช่วงปี 2017 ที่เริ่มให้ความสำคัญกับธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น โดยมีการพัฒนาส่วนของ Omni Channel ที่เชื่อมประสบการณ์ช็อปปิงออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน
ทั้งนี้ การจะฝ่าวิกฤติไปได้ หลายฝ่ายต้องช่วยกัน ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
อย่างตัวซัปพลายเออร์ของทางเซ็นทรัล รีเทลเอง ก็ต้องไปจับมือกับธนาคารเพื่อเข้าไปช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง
ซึ่งเชื่อว่าหลังโควิด ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับ 3 สิ่งมากขึ้น คือ สุขภาพ, ประสบการณ์ และความยั่งยืน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเริ่มมีการรีเซตกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เข้ากับธีมเหล่านี้มากขึ้น
5. หัวข้อ Thailand Innovative Business
- aCommerce นั้นอยากที่จะเป็นผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซอันดับหนึ่งในอาเซียน
โดยบริษัทเป็นผู้ให้บริการ ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน ตั้งแต่การจัดการ การตลาด ไปถึงโลจิสติกส์ แก่ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ เช่น ร้านค้า
ซึ่งการที่เราจะประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ เราต้องมีวิสัยทัศน์ที่ไกล และมีทีมผู้บริหารที่แข็งแกร่ง
บริษัทควรสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถเติบโต และเป็นที่ต้องการของประชากรในประเทศนั้น
รวมถึงต้องมีการตัดสินใจให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่างเด็ดขาด
ที่สำคัญในประเทศไทย มีบริษัทชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ เข้ามาลงทุนเยอะมาก เช่น JD, Lazada
ทำให้บริษัทสามารถสร้างพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจกับบริษัทเหล่านี้ได้
- NR Instant Produce คือบริษัทอาหาร ที่ผลิตอาหารและส่วนผสม ที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ
การผลิตอาหารของบริษัทนั้น ได้ลดการปล่อยคาร์บอนฯ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งบริษัทเน้นย้ำในแนวคิด ESG ที่ส่งผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม, สังคม และธรรมาภิบาลที่ดี
บริษัทประสบความสำเร็จในการดำเนินการได้ เพราะมีทีมผู้บริหารที่แข็งแกร่ง
มีผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน และเรามีนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อทำให้สินค้าของเราแตกต่างจากคู่แข่ง
- Pomelo Fashion เป็นแพลตฟอร์มแฟชั่นดิจิทัล ชั้นนำในอาเซียน
บริษัทให้บริการด้าน Omni Channel สำหรับลูกค้า และมีสินค้าให้เลือกมากกว่า 37,000 รายการ
กุญแจสำคัญที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ คือ เรารู้ว่าทุกภาคส่วน จะต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล ซึ่งแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ก็คือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะเติบโตได้อีกมาก
โดยการประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ เราต้องเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ในด้านนี้มาก่อน
ถ้าเราเรียนรู้ข้อผิดพลาดของเขาได้ เราจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ซึ่งเมืองไทยมีพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจที่สำคัญเยอะมาก เช่น บริษัทเซ็นทรัล ที่มาเป็นพาร์ตเนอร์กับทางบริษัท
การมีพาร์ตเนอร์ดี ๆ จะทำให้เราเรียนรู้ระบบจากเขาได้
ทั้งนี้ ประเทศไทยควรเน้นเรื่องการวิจัยและพัฒนา โดยสอนเด็กรุ่นใหม่ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล เพราะเมืองไทยยังขาดคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอที ซึ่งส่วนนี้อาจทำให้เราสู้ประเทศคู่แข่งไม่ได้
- YGGDrazil Group เป็นผู้ให้บริการเอฟเฟกต์ภาพเสมือนจริงแก่ผู้ให้บริการเกมออนไลน์
และบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับ Virtual Production หรือการผสมกันระหว่าง Live Footage และภาพ Digital เพื่อสร้างคอนเทนต์แบบเรียลไทม์
สำหรับองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม คือ การมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมีพันธกิจที่แข็งแกร่ง
การสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้ร่วมทุน เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ
ซึ่งบริษัทควรสร้างวัฒนธรรมของคนในองค์กร ที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ หากต้องการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมภายในประเทศ
ภาครัฐ ควรเพิ่มมาตรการช่วยเหลือเหล่า SME และ Startup ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
และอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ
6. หัวข้อ Accelerating Sustainable Investing in Thai Capital Market
ในมุมมองของนักลงทุนสถาบัน อย่าง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ESG นั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญในการคัดเลือกการลงทุน แต่ก็ต้องคำนึงถึงทั้งด้านความเสี่ยงและผลตอบแทน
บางครั้งบริษัทที่มีคะแนน ESG ดี ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสร้างผลตอบแทนได้ดี
ดังนั้น เราต้องเน้นในเรื่องการเข้าไปทำ Due Diligence อย่างละเอียด และคอยติดตามว่าบริษัทนั้น ได้ทำ ESG อย่างจริงจังแค่ไหน
ส่วนในมุมของธุรกิจและองค์กรเอง ในเวลานี้ก็ได้มีการปรับตัวเข้าหา ESG กันมากขึ้น
อย่าง PTTGC ที่เป็นบริษัทด้านเคมีภัณฑ์ ที่ได้ปรับมาใช้แนวทาง ESG และกำลัง Perform ได้ดี
ก็ได้ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยคาร์บอนฯ ให้เหลือ 0% ภายในปี 2050 โดยเน้นที่การปรับกลยุทธ์ทั้งระบบ รวมไปถึงการกระจายการลงทุน ไปยังผลิตภัณฑ์ที่ผลิตคาร์บอนฯ ในปริมาณต่ำ
สำหรับธุรกิจธนาคาร ESG นั้นก็หมายถึง จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจด้วย
แน่นอนว่าการทำธุรกิจต้องคำนึงถึงทั้งสองฝ่าย คือผู้ถือหุ้น และลูกค้า
ซึ่งทาง TTB ก็ได้เน้นในเรื่อง Financial Well Being หรือ การสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีให้กับลูกค้า โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาชีวิตด้านการเงินของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
สุดท้ายนี้ การทำ ESG Report เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของความโปร่งใส หรือการบอกให้คนรู้
แต่การแบ่งปันข้อมูลจะช่วยให้บริษัทอื่น ๆ ได้เรียนรู้และพัฒนาไปพร้อม ๆ กันด้วย
ซึ่งเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่ใหม่ และหลายฝ่ายยังต้องปรับปรุงไปพร้อม ๆ กัน
ส่วนอนาคตของ ESG ยังมีแนวโน้มไปในทางที่ดี และควรที่จะทำให้อยู่ในกระบวนการดำเนินงานของบริษัทจริง ๆ เพราะการทำ ESG ไม่ใช่แค่เรื่องของสิ่งแวดล้อม แต่ยังทำให้การทำงานมีความหมาย
สร้างผลตอบแทนระยะยาวให้กับผู้ถือหุ้น และยังทำให้โลกดีขึ้นด้วย
และนี่ก็คือการสรุปเนื้อหาจากงาน Thailand Focus 2021 ที่ได้พูดคุยกันในเรื่อง “Thriving in the Next Normal” ซึ่งเราก็น่าจะได้รับข้อมูล และมุมมองที่น่าสนใจจาก ผู้นำภาครัฐและเอกชน หลายองค์กร โดยเราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการรับมือกับสถานการณ์โควิด เตรียมพร้อมปรับตัวในช่วงหลังโควิด และได้แนวคิดในการทำธุรกิจได้แบบยั่งยืน ในอนาคต..
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ดู Presentation และชม Clip ย้อนหลังได้ที่ www.set.or.th/thailandfocus
economic คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
การทำ QE คืออะไร ? ทำไมประเทศไทย ไม่ใช้มาตรการนี้ /โดย ลงทุนแมน
“775 ล้านล้านบาท” คือ มูลค่าการอัดฉีดเงินเข้าระบบการเงิน ผ่านมาตรการ QE ทั้งหมดของธนาคารกลางขนาดใหญ่ของโลก 4 แห่ง คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ณ สิ้นปี 2020
ถามว่าตัวเลขนี้มากขนาดไหน ? ถ้าลองเทียบกับ GDP รวมทุกประเทศในโลกปี 2020 ที่ประมาณ 2,824 ล้านล้านบาท มูลค่าอัดฉีดดังกล่าว จะคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP โลก
มาตรการ QE นี้ มันมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง
และทำไมประเทศไทย ถึงยังไม่ใช้มาตรการนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ แต่ละประเทศจะดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อทำให้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับขึ้นมา
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น จะแบ่งนโยบายต่าง ๆ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ นโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน
ซึ่งในส่วนของนโยบายการคลังจะถูกดำเนินการโดยรัฐบาล
โดยรัฐบาลจะใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ในกรณีนี้จะเรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” ซึ่งเกิดจากก่อหนี้สาธารณะผ่านการกู้ยืมเพื่อมาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล
นอกจากนี้ นโยบายการคลังยังรวมไปถึงการลดอัตราภาษีต่าง ๆ เพื่อให้คนมีเงินเหลือมากขึ้น จนนำเงินออกมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
ผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ปัจจุบัน หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต่างก็ต้องใช้นโยบายการคลัง อัดฉีดเงินช่วยเหลือให้ประชาชนผ่านนโยบายต่าง ๆ เพื่อพยุงและเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา
นอกจากรัฐบาลที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ในอีกขาหนึ่ง ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ก็จะดำเนินนโยบายการเงิน ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือซบเซา ธนาคารกลางจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จูงใจให้คนนำเงินออกมาใช้จ่าย แทนที่จะฝากไว้ในธนาคาร
ซึ่งกรณีนี้ถูกเรียกว่า “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย” ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้นำมาใช้ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เราจะเห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพียงอย่างเดียว กลับไม่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเหมือนอย่างเคย
หลักฐานก็คือ เราเห็นธนาคารกลางหลายประเทศทำการปรับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว จนบางประเทศอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเท่าไร
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่ง จึงมีการนำมาตรการที่มีชื่อว่า Quantitative Easing (QE) ซึ่งเป็นนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย อีกรูปแบบหนึ่งออกมาใช้เพื่อรับมือกับปัญหาการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ
หรือพูดง่าย ๆ ว่ามาตรการ QE เป็นเครื่องมือพิเศษที่มาช่วยสนับสนุนและช่วยกดดันอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั่นเอง
อธิบายวิธีการดำเนินมาตรการ QE แบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ธนาคารกลางจะพิมพ์เงินเพิ่ม และนำเงินดังกล่าวไปซื้อตราสารทางการเงินระยะกลาง-ยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน
คำถามที่สำคัญต่อมาก็คือ แล้วข้อดี ข้อเสียของการทำ QE คืออะไร ?
เรามาเริ่มที่ข้อดีกันก่อน
- สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
กรณีของธนาคารนั้น เมื่อมีสภาพคล่องมากขึ้น ก็สามารถนำไปปล่อยสินเชื่อได้สูงขึ้น ส่วนภาคธุรกิจที่มีเงินไหลเข้ามาซื้อหุ้นกู้ บริษัทก็จะมีเงินนำไปใช้จ่าย ลงทุน และขยายงาน ได้ด้วยเช่นกัน
- ต้นทุนทางการเงินที่ลดลง
การเข้าซื้อตราสารทางการเงินเหล่านั้นยังส่งผลกดดันให้อัตราผลตอบแทนของตราสารทางการเงินเหล่านั้นลดลงมา ทำให้ต้นทุนในการระดมทุนผ่านการออกตราสารเหล่านี้ของรัฐบาลและเอกชนลดลง
จนมีแนวโน้มที่ทำให้สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้กู้ในการนำเงินไปลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอย จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจกลับมาเติบโต
- เพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ผู้บริโภค
การใช้มาตรการ QE ยังส่งผลให้ราคาสินทรัพย์หลายอย่างปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ทำให้นักลงทุนที่ถือสินทรัพย์ดังกล่าวรู้สึกมั่งคั่งขึ้น (Wealth Effect) ทำให้รู้สึกอยากนำเอาส่วนหนึ่งของทรัพย์สินออกมาใช้จ่าย จนส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้มาตรการ QE ในปริมาณมากและนานเกินไป ก็อาจส่งผลเสียด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- มูลค่าของเงินลดลง
ถึงแม้ว่าการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน ผ่านการซื้อตราสารทางการเงินต่าง ๆ จะไม่ได้อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจจริง และมันอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเงินเฟ้อโดยตรง แต่การอัดฉีดนี้ถ้าทำมากเกินไป ก็อาจทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจริงเพิ่มขึ้นในทางอ้อม และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จนทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลง และอำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย
- ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์
การอัดฉีด QE จะทำให้ภาวะอัตราดอกเบี้ยถูกกดให้ต่ำ และทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงนั้นลดลง ซึ่งเรื่องนี้ยิ่งทำให้นักลงทุนต้องการนำเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
จนอาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ
- กระทบต่อการออมในภาพรวมของประเทศ
อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ส่งผลให้ประชาชนขาดแรงจูงใจในการออมเงิน ซึ่งอาจทำให้คนจำนวนไม่น้อยมีเงินไม่พอใช้ตอนเกษียณ
หรือแม้แต่ผู้ที่เกษียณอายุไปแล้ว และต้องการรายได้ที่สม่ำเสมอจากการลงทุนในการฝากเงินหรือตราสารหนี้ ก็จะได้รับผลตอบแทนที่ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภาพรวมในระบบที่ลดลง
สำหรับประเทศไทยเรา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ยังไม่ได้มีการหยิบเอามาตรการ QE ออกมาใช้ในวิกฤติครั้งนี้
แต่รู้ไหมว่า ที่ผ่านมาก็มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้เสนอให้ ธปท. นำมาตรการ QE ออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
เพราะมองว่า นโยบายการเงินของไทยมีข้อจำกัดมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% แล้ว
อย่างไรก็ตาม ธปท. มองว่า การนำมาตรการ QE มาใช้ในประเทศไทย อาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในตอนนี้
เพราะว่า ปัจจุบัน สภาพคล่องในระบบ ที่สะท้อนออกมาในรูปของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยนั้นอยู่สูงกว่า 14.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
นอกจากนี้ ภาคเอกชนของไทยยังมีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ในสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับประเทศใหญ่ ๆ ที่มีการนำมาตรการ QE มาใช้ ขณะที่ต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ขณะนี้อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ที่ตลาดตราสารหนี้มีขนาดใหญ่สุดในโลก ที่พออัดฉีดเงินเข้าไปในตลาดตราสารหนี้แล้ว จะเห็นผลกระทบกับเศรษฐกิจภาพรวมได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น การใช้มาตรการ QE ในประเทศไทย จึงอาจไม่ได้ส่งผลบวกในวงกว้างเหมือนกับประเทศที่มีตลาดตราสารหนี้ขนาดใหญ่มากนัก
และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเลือกที่จะนำมาตรการการเงินอื่น ๆ เช่น การพักชำระหนี้ การให้สินเชื่อพิเศษ การปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ แต่ยังไม่หยิบเอามาตรการอย่าง QE มาใช้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD
-https://www.bot.or.th/Thai/BOTStoryTelling/Pages/MonetaryPolicy_StoryTelling_AcademicAndFI.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/q/quantitative-easing.asp
- https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_27Oct2020.aspx
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/thailand-economic-qe-covid-040864?fbclid=IwAR3R788vgTs8-J9kaX730qOWpxnGIrHLDOWRdqpHDQfJphSbElF9xh9W2cY
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=31&language=TH
-https://www.atlanticcouncil.org/blogs/econographics/global-qe-tracker/
-https://www.icmagroup.org/Regulatory-Policy-and-Market-Practice/Secondary-Markets/bond-market-size/
economic คือ 在 Human & Tech by May Youtube 的最佳解答
** แก้ไขและเพิ่มเติมนะคะ **
ขอบคุณมากนะคะที่ทักมา
คำว่าเงินเฟ้อ แปลว่าของแพงค่ะ (แปลว่าราคาของสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง)
โดยมีสาเหตุคือ
- ปัจจัยขึ้นราคา เช่น น้ำมัน ค่าแรง
- ความต้องการสินค้ามากขึ้น หรือ ผลิตน้อยลง คือ คนต้องการมากกว่าคนขาย
- ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ของแพงขึ้น เช่น ภาษี หรือบริษัทต้องการกำไร
การพิมพ์เงินไม่ได้มีนิยามโดยตรงอะไรเกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อที่แปลว่าราคาของแพงขึ้นเรื่อยๆค่ะ
แต่การพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบ ทำให้เกิดเงินเฟ้อทุกครั้งไปค่ะ เป็นผลทางอ้อมนะคะ
ขอบคุณมากนะคะที่ช่วยทักและเตือนกันนะคะ
-----------------------
เคยอ่านข่าวเศรษฐศาสตร์แล้วเหมือนจะเข้าใจแต่จริงๆแล้วงง ไม่รู้เรื่องบ้างไหมคะ ขึ้นดอกเบี้ย ลดดอกเบี้ยทำไมจะตื่นเต้นกันนักหนา แล้วอยู่ๆบาทแข็งขึ้นมานี่ใครทำ ??
เมย์ต้องขอบคุณเพื่อนๆที่ส่งคำถามเข้ามาพูดคุยกันอยู่เสมอทั้งในไลน์และเฟสบุ๊คเลยนะคะ เลยทำให้เข้าใจว่า อ๋อ ยังไม่มีใครทำคลิปที่อธิบายศัพท์พวกนี้มากเท่าไหร่เลยแฮะ
เมย์พยายามจะใช้คำที่บ้านๆ เพื่อให้เข้าใจและ"เก็ตฟีลลิ่ง" ของคำได้มากขึ้นนะคะ
------------------------------------------
มาดูวิดีโอกันที่ https://goo.gl/EZvcyV
มาคุยกันต่อที่เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/HumanAndTechByMay/
และ กรุ๊ป https://www.facebook.com/groups/319013512295700/
Add LINE เพื่อรับสาระความรู้ฟรี ที่ช่อง Human and Tech
https://line.me/R/ti/p/%40fgk4074r