💡 สวัสดีจ้าเพื่อน ๆ วันนี้แอดจะพาเพื่อน ๆ มารู้จักกับโครงสร้างของ HTTP Messages นั่นเอง !!
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญอีกหนึ่งอย่างสำหรับเราชาวเดฟนั่นเอง
.
จะเป็นยังไง และมีรายละเอียดยังไง หากพร้อมแล้วไปอ่านกันเลยจ้าาาา ~
.
🌟 HTTP Messages เป็นวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Server และ Client โดยมี Messages 2 แบบ ได้แก่
.
🔸 HTTP Request คือ คำขอที่ส่งโดย Client เพื่อดำเนินการบน Server
🔸 HTTP Response คือ การตอบกลับจาก Server ไปยัง Client
.
⚙️ โครงสร้างของ HTTP Messages
.
ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
.
1️⃣ Start-line - เป็นบรรทัดแรกของ HTTP Messages เพื่อใช้ระบุว่าต้องการทำอะไรกับ Request และ Response ประกอบด้วย
.
🔹 Request Message
👉 HTTP Method - ใน Request Message เช่น GET, PUT, หรือ POST ระบุเพื่อใช้อธิบาย Action ภายใน Messages ที่จะส่งให้ Server นั่นเอง
👉 URL - เป็นพอร์ตหรือเส้นทางเป้าหมาย
👉 HTTP version - เวอร์ชันของ HTTP นั่นเอง
.
🔹 Response Message
.
👉 Protocol Version - เช่น HTTP/1.1
👉 Status Code - เป็นสถานะที่ระบุว่าคำขอสำเร็จหรือล้มเหลว จะแทนด้วยหมายเลขต่าง ๆ เช่น 404, 200 หรือ 302
👉 Status Text - เป็นข้อความระบุสถานะ เช่น Not Found
.
2️⃣ HTTP Headers - แต่ละช่องจะประกอบด้วย Name และ Value คั่นด้วยเครื่องหมาย (:) ใช้อธิบายเนื้อหาหรือรายละเอียดใน Messages
.
3️⃣ Body - เนื้อหาเพิ่มเติมที่สำคัญ เช่น HTML Form หรือ Response Document ซึ่งจะถูกระบุโดย Start-line และ HTTP Headers นั่นเอง
.
จบกันไปแล้ววววว หากพี่ ๆ คนไหนมีอะไรอยากเพิ่มเติมสามารถคอมเมนต์ไว้ด้านล่างได้เลยนะคะ และหวังว่าโพสต์นี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ น้าาาา 🥰
.
📑 Source : https://developer.mozilla.org/en-US/docs/Web/HTTP/Messages
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
#HTTP #BorntoDev
Search