ครบรอบ 9 ปี ที่ ‘อากง’ หรือ อำพล ตั้งนพกุล ผู้ถูกดำเนินคดี 112 และพรบ.คอมฯ จาก SMS เสียชีวิต
อากงถูกตำรวจจับกุมจากการถูกสั่งฟ้องว่าได้ใช้มือถือส่ง SMS มีเนื้อหาผิด 112
เขาให้การปฏิเสธ ให้เหตุผลว่าขณะเกิดเหตุได้นำมือถือไปซ่อมที่ร้านในห้าง แต่จำชื่อร้านไม่ได้ ทั้งยังส่งข้อความไม่เป็น และไม่ทราบว่าหมายเลขที่ส่งไปเป็นของเลขานุการอดีตนายกรัฐมนตรี
อากงได้ประกันตัวในชั้นสอบสวนในช่วงสั้นๆ ประมาณ 3 เดือน แต่เมื่ออยู่ในชั้นพิจารณาคดี ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัวอีกเลย โดยให้เหตุผลว่า “ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี” แม้จะมีการยื่นขอประกันตัวอีกหลายครั้ง
จนวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 20 ปี ภรรยาของอากง ยื่นหลักทรัพย์ 2,200,000 บาท เพื่อขอประกันตัวด้วยเหตุผลเรื่องความเจ็บป่วยของเขา ศาลส่งเรื่องดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณา และมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวตามที่ร้องขอ
"ศาลพิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหา และพฤติการณ์แห่งคดีกับพยานหลักฐานที่ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้ว นับว่า ร้ายแรง ประกอบกับข้อที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ยังไม่มีเหตุเชื่อว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด หากให้ปล่อยชั่วคราว ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะไม่หลบหนี และที่จำเลยอ้างเหตุความเจ็บป่วย ไม่ปรากฏถึงขนาดจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ทั้งราชทัณฑ์ก็มีโรงพยาบาลที่จะให้การรักษาจำเลยได้ทันทีอยู่แล้ว"
รวมแล้ว ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำนวน 4 ครั้ง ศาลอุทธรณ์ 3 ครั้ง และศาลฎีกา 1 ครั้ง
หลังรับโทษจำคุกได้ 6 เดือน อากงเสียชีวิตในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ด้วยโรคมะเร็ง
เรียบเรียงจาก : ประชาไท, ilaw, ผู้จัดการ, Kapook
ilaw 112 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的精選貼文
พูดไม่ออก
ไว้เจอกันนะน้อง :-(
เราไม่รู้ว่าคืนนี้ ไผ่ จตุภัทร์เพื่อนเรา มันจะนอนหลับมั้ย ?
เราไม่รู้ว่ามันเจ็บปวดแค่ไหน ในบางประโยคที่มันได้พูดออกไปต่อหน้าศาลในวันนี้
เราไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้ ไผ่จะยังยิ้มแบบที่มันเคยยิ้มได้หรือไม่
แต่ขอให้รู้ว่ามีคนมากมาย เชื่อ เคารพ และเข้าใจ ในการตัดสินใจของไผ่
"ไผ่ จตุภัทร์ ขอเพื่อนจงหยัดยืน"
....................................................
สืบพยานคดี 112 'ไผ่ ดาวดิน' #3 : การตัดสินใจครั้งสำคัญ
.
วันนี้ (15 สิงหาคม 2560) ศาลจังหวัดขอนแก่นนัดสืบพยานคดีที่จตุภัทร์หรือ 'ไผ่ ดาวดิน' ถูกฟ้องในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์บีบีซีไทยต่อเป็นวันที่ 3 บรรยากาศในห้องพิจารณาคดีวันนี้ผ่อนคลายลงบ้าง ศาลขึ้นบัลลังก์ในเวลาประมาณ 10.00 น. และพิจารณาคดีอื่นก่อนหลังจากนั้นจึงนำป้าย 'พิจารณาลับ' มาติดหน้าห้อง และขอให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องยกเว้นคู่ความและพ่อกับแม่ของจตุภัทร์ออกจากห้องพิจารณาคดี
.
ก่อนเริ่มการพิจารณา ศาลถามจตุภัทร์ว่ายืนยันจะสู้คดีหรือเปล่า เพราะนัดที่แล้วมีการตกลงกันว่าจตุภัทร์จะขอเวลาไปพิจารณาเรื่องแนวทางคดีอีกครั้ง ศาลระบุด้วยว่า การต่อสู้คดีนี้ให้ชนะเป็นเรื่องยาก เพราะองค์พระมหากษัตริย์ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ทีมทนายของจตุภัทร์จึงให้ตัวจตุภัทร์และครอบครัวปรึกษากับศาลเองก่อนจะออกจากห้องไป ขณะที่ศาลก็ขอให้อัยการออกไปรอนอกห้องก่อน
.
การพูดคุยระหว่างจตุภัทร์ ครอบครัว และศาลใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง พ่อของจตุภัทร์เล่าว่า ได้พูดคุยเรื่องความเป็นไปได้ของอัตราโทษหากจตุภัทร์ตัดสินใจรับสารภาพ เมื่อพูดคุยกันเสร็จพ่อกับแม่ก็ออกมาจากห้องเพื่อให้จตุภัทร์มีโอกาสทบทวนและตัดสินใจแนวทางคดีด้วยตัวเอง ขณะที่ศาลก็ออกไปปรึกษากันภายในองค์คณะนอกห้องพิจารณาคดี จตุภัทร์อยู่ในห้องพิจารณาคดีคนเดียวจนถึงเวลาประมาณ 11.00 ศาลก็กลับขึ้นบัลลังก์อีกครั้ง และคุยกับจตุภัทร์สองคน
.
จตุภัทร์ตัดสินใจยอมเปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพต่อศาลในที่สุด ศาลสั่งพักการพิจารณาและให้กลับมาฟังคำพิพากษาในช่วงบ่าย
.
ในช่วงบ่าย บรรยากาศค่อนข้างผ่อนคลาย เพื่อนของจตุภัทร์และผู้มาให้กำลังใจราว 20 คนเข้ามานั่งรอฟังคำพิพากษาในห้องพิจารณาคดี ในเวลาประมาณ 16.00 น. ศาลกลับขึ้นบัลลังก์และแจ้งว่า คดีนี้ได้สั่งพิจารณาลับแล้ว และให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องออกนอกห้องพิจารณาคดี
.
ศาลอ่านคำพิพากษาในห้องพิจารณาคดีลับ โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมายืนบังที่กระจกไม่ให้มองเข้าไปด้านใน ศาลใช้เวลาประมาณ 10 นาที มีคำพิพากษาจำคุกจตุภัทร์เป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากคำรับสารภาพเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือ จำคุก 2 ปี 6 เดือน
.
สำหรับมูลเหตุของคดีนี้ ในวันที่ 2 ธันวาคม 2559 เว็บไซต์บีบีซีไทยเผยแพร่บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จตุภัทร์หรือ 'ไผ่ ดาวดิน' แชร์บทความดังกล่าวบนเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยตั้งค่าเป็นสาธารณะให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ต่อมาในวันที่ 3 ธันวาคม 2559 จตุภัทร์ซึ่งอยู่ระหว่างร่วมเดินธรรมยาตรากับพระไพศาล วิศาโล ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปตั้งข้อกล่าวหามาตรา 112 หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลอาญา
.
วันที่ 4 ธันวาคม 2559 จตุภัทร์ถูกนำตัวไปฝากขังกับศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งศาลอนุญาตให้จตุภัทร์ประกันตัวในวันเดียวกันด้วยวงเงิน 400,000 บาท ต่อมาวันที่ 22 ธันวาคม 2560 ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งให้ถอนประกันจตุภัทร์ตามที่พนักงานสอบสวนร้องขอ โดยให้เหตุผลว่า จตุภัทร์โพสต์ข้อความ "เศรษฐกิจมันแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน" รวมทั้งมีการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐในสื่อสังคมออนไลน์ ไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองจนก่อให้เกิดความเสียหาย
.
นับตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2559 จตุภัทร์ถูกควบคุมตัวในเรือนจำมาโดยตลอด และได้ยื่นขอประกันตัวอีกอย่างน้อย 9 ครั้งและวางเงินประกันสูงสุด 700,000 บาทแต่ก็ถูกปฏิเสธทุกครั้ง นอกจากนี้ศาลยังสั่งให้พิจารณาคดีนี้เป็นการลับตลอดทั้งกระบวนการตั้งแต่ชั้นไต่สวนคัดค้านคำร้องฝากขังของพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นชั้นที่ไม่ได้มีการพูดถึงเนื้อหาหรือข้อความที่จตุภัทร์ถูกกล่าวหาตามมาตรา 112 แต่อย่างใด
.
วันที่ 20 มกราคม 2560 จตุภัทร์เคยประท้วงการคำสั่งพิจารณาลับในการไต่สวนคัดค้านการฝากขังด้วยการเชิญทนายของตัวเองออกจากห้องพิจารณาคดี ขณะที่ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 แม่ของจตุภัทร์ก็เคยประท้วงคำสั่งพิจารณาลับด้วยการวิ่งชนกำแพงห้องพิจารณาคดี ขณะที่เพื่อนของจตุภัทร์เจ็ดคนซึ่งเคยแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่หน้าศาลจังหวัดขอนแก่นเพื่อคัดค้านการสั่งพิจารณาคดีลับและการไม่ให้ประกันตัวในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งในภายหลังเพื่อนของเขาถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่า ละเมิดอำนาจศาลจากการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
.
ขณะที่ระหว่างการพิจารณาคดีศาลก็มีคำสั่งห้ามทนายจำเลยให้ข้อมูลหรือเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาคดีนี้กับสื่อ นอกจากนี้เมื่ออัยการนำพยานโจทก์ที่เป็นรุ่นน้องของจตุภัทร์มาเบิกความต่อศาลก็มีการนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายมาคอยดูแลไม่ให้พยานคนดังกล่าวพูดคุยกับพ่อแม่หรือเพื่อนของจตุภัทร์คนอื่นๆที่มาสังเกตการณ์ด้วย
.
นับตั้งแต่ 22 ธันวาคม 2559 ที่จตุภัทร์ถูกถอนประกันจนถึงวันนี้ (15 สิงหาคม 2560) ซึ่งเขาให้การรับสารภาพ จตุภัทร์ถูกคุมขังรวม 237 วันเท่ากับว่าหากไม่ได้รับการลดโทษ จตุภัทร์จะต้องถูกคุมขังอีกประมาณ 1 ปี 10 เดือนจึงจะพ้นโทษ
.
นอกจากคดี 112 ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น จตุภัทร์ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมืองอีก 4 คดีได้แก่
1.คดีตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 จากการชูป้ายต้านรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาที่ศาลทหารขอนแก่น (http://bit.ly/2vzrljJ)
2.คดีตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 จากการร่วมชุมนุมกับนักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่กรุงเทพฯ คดีนี้ยังอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน (http://bit.ly/2wZDnke)
3.คดีตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 จากการจัดกิจกรรม "พูดเพื่อเสรีภาพ" รัฐธรรมนูญกับคนอีสานที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งพนักงานสอบสวนนัดส่งผู้ต้องหาให้อัยการทหารจังหวัดขอนแก่นในวันที่ 29 สิงหาคม 2560 (http://bit.ly/2uXVMwa)
4.คดีตามพ.ร.บ.ประชามติฯจากการแจกใบปลิวที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ (http://bit.ly/2uXEfUT)
.
อ่านคดีมาตรา 112 ของจตุภัทร์เพิ่มเติมที่นี่: http://bit.ly/2vWQbuY
ที่มา iLaw