เมื่อ Bill Gross ราชาแห่งพันธบัตร กำลังบอกว่า พันธบัตรคือขยะ /โดย ลงทุนแมน
เราอาจแปลกใจถ้ามีคนพูดว่า “การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
แต่เราคงตกใจยิ่งกว่านั้น เมื่อรู้ว่าคนที่พูดประโยคนั้นคือ หนึ่งในนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ที่มีชื่อว่า บิลล์ กรอสส์ เจ้าของฉายา “ราชาแห่งพันธบัตร”
พันธบัตรเป็นหนึ่งตัวแทนของสินทรัพย์ทางการเงิน
ที่หลายคนมองว่าปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่ำ
แต่ทำไมตอนนี้ บิลล์ กรอสส์ ถึงมองว่า การลงทุนในพันธบัตร คือการลงทุนในขยะ..
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดหุ้น หลายคนคงนึกถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์
แต่ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดพันธบัตร เราจะต้องพูดถึง บิลล์ กรอสส์ (Bill Gross)
บิลล์ กรอสส์ เป็นผู้จัดการกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ และประสบความสำเร็จ จนได้รับฉายาว่า “Bond King” หรือ “ราชาแห่งพันธบัตร”
เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทจัดการลงทุน
ที่ชื่อว่า Pacific Investment Management Company หรือเรียกสั้น ๆ ว่า PIMCO ซึ่งปัจจุบัน เป็นหนึ่งในบริษัทจัดการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
PIMCO มีการลงทุนที่หลากหลายตั้งแต่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ กองทุน ETF กองทุนเฮดจ์ฟันด์ และไพรเวทอิควิตี้
จากจุดเริ่มต้นของ PIMCO ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารไม่ถึง 400 ล้านบาท ในปี 1971 ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงกว่า 72 ล้านล้านบาท ในปี 2020
โดยการลงทุนที่สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเขาในฐานะผู้จัดการกองทุนอย่างมาก คือการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้
ในปี 2010 Morningstar องค์กรที่ให้บริการข้อมูลและจัดอันดับเปรียบเทียบกองทุนรวมทั่วโลก ระบุว่า “ไม่มีผู้จัดการกองทุนคนไหนอีกแล้ว ที่จะสามารถทำเงินจากการลงทุนในตราสารหนี้ ได้มากกว่า บิลล์ กรอสส์”
แต่ประเด็นน่าสนใจที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ คือ
บิลล์ กรอสส์ ได้ออกมาบอกว่า
“การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
ทำไมราชาแห่งพันธบัตร ถึงพูดแบบนี้ ?
เราลองมาทำความเข้าใจกับ ลักษณะที่สำคัญของตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชนกันก่อน
ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
หรือพูดอีกมุมหนึ่งคือ ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ที่ออกตราสารหนี้นั้น
จุดเด่นสำคัญของตราสารหนี้ คือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้น
ยิ่งถ้าผู้ที่ออกตราสารดังกล่าว เป็นรัฐบาลที่มีเครดิตดี และโอกาสน้อยมากที่จะผิดนัดจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือตราสาร ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ก็ยิ่งต่ำ
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มีความเสี่ยง
เพราะนอกจากความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้แล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ ยังมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ “ความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น”
อธิบายกลไกของตราสารหนี้ง่าย ๆ คือ
ความสัมพันธ์ของราคาตราสารหนี้กับอัตราดอกเบี้ยจะสวนทางกัน
หมายความว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ราคาตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้น และเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาตราสารหนี้จะลดลง
ทีนี้ย้อนกลับมาถึงในสิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ พูดไว้ข้างต้น ซึ่งเขามองว่า การลงทุนตราสารหนี้เริ่มไม่น่าสนใจ เนื่องจาก
- นโยบายอัดฉีดเงินเข้าระบบผ่านการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยทางธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) หรือที่เรียกว่าการทำ QE กำลังจะลดขนาดลง
การปรับตัวขึ้นของราคาสินทรัพย์ทางการเงินหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรือแม้แต่สินทรัพย์ทางเลือกอย่างคริปโทเคอร์เรนซีในช่วงหลายปีที่ผ่านนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากการอัดฉีดเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกา
โดย Fed ทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อจำนองค้ำประกันของ Fed รวมกันเดือนละประมาณ 3.9 ล้านล้านบาท อย่างต่อเนื่อง
เรื่องนี้ทำให้ราคาพันธบัตรเหล่านี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐอเมริกา อายุ 10 ปี นั้นลดลง ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งอัตราผลตอบแทนดังกล่าวเคยลดลงไปเหลือเพียง 0.5% ในช่วงกลางปี 2020
อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ Fed เริ่มส่งสัญญาณลดการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบลง หรือที่เรียกว่า QE Tapering
ซึ่งเม็ดเงินที่ลดลงนี้ หมายความว่า ปริมาณการซื้อตราสารหนี้มีแนวโน้มจะลดลง จนทำให้ความน่าสนใจในตราสารหนี้ ลดลงไปด้วย
- แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
เราอยู่ในจุดที่อัตราดอกเบี้ยนั้นต่ำมาเป็นเวลานานพอสมควร ธนาคารกลางหลายประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปอยู่ที่ 0% หรือแม้แต่ติดลบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมาเติบโตเหมือนเดิม
แต่สิ่งหนึ่งที่มักมาพร้อมกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจคือ “เงินเฟ้อ” ซึ่งหากเงินเฟ้อมีการปรับตัวขึ้นเร็วจนเกินไป ก็จะส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ
เพราะฉะนั้น ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น Fed ก็ต้องมีมาตรการมาควบคุม ไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเร็วจนเกินไป
หนึ่งในวิธีที่ทำกันมานาน ก็คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้ดอกเบี้ยในภาพรวมของประเทศปรับตัวสูงขึ้น เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจและชะลอเงินเฟ้อได้
ขณะเดียวกัน นักลงทุนหรือคนที่ถือพันธบัตรอยู่ในปัจจุบัน พอเห็นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น พวกเขาก็จะเริ่มทยอยขายพันธบัตรที่ถืออยู่ออกมา เพื่อนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ชุดใหม่ ๆ ที่จะให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า หรือเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า
เมื่อมีการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนมาก ก็จะทำให้ราคาตราสารหนี้นั้นปรับตัวลดลง จนทำให้ผู้ที่ถือตราสารหนี้ โดยเฉพาะยิ่งเป็นตราสารหนี้ระยะยาวอาจจะขาดทุนหนักได้
นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ยังทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ) จะยิ่งลดลงไป ซึ่งหมายความว่า อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการถือตราสารหนี้ ลดลงไปอีก
เมื่อเป็นแบบนี้ ก็จะทำให้มีแรงเทขายตราสารหนี้ออกมาในปริมาณมาก จนอาจทำให้หลายคนที่ลงทุนในตราสารหนี้อยู่ ต้องขาดทุนอย่างหนักมากกว่าเดิมก็เป็นได้
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า สิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ คาดการณ์ไว้เช่นนี้ จะเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
แต่ก็ต้องยอมรับว่า นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ กำลังจะต้องเจอความท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่กำลังจะปรับตัวขึ้นหลังจากนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-09-01/bill-gross-says-bonds-are-investment-garbage-just-like-cash
-https://www.investopedia.com/terms/w/william-h-gross.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bill_H._Gross
-https://www.ft.com/content/f1a48ac2-36fb-4e7f-8d23-71477f1fc0a4
-https://www.sunsigns.org/famousbirthdays/d/profile/bill-gross/
同時也有24部Youtube影片,追蹤數超過1萬的網紅GAMECO Channel,也在其Youtube影片中提到,アブノーマリティーの管理を始める、手伝ってくれ。 次の動画:準備中 ※公開日前の場合、リンク先の動画は表示されません。ご了承ください。 前の動画:https://youtu.be/yf5rWfeZPME パート1:https://youtu.be/dhZuqtGyoNQ 再生リスト:https:/...
management wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
รู้จัก BIG3 แห่งวงการ ที่ปรึกษาธุรกิจ McKinsey BCG Bain /โดย ลงทุนแมน
บริษัทที่ปรึกษา นั้นมีอยู่หลายประเภท
แต่ถ้าพูดถึงผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ (Management Consulting)
คนส่วนใหญ่ คงต้องนึกถึง บริษัทยักษ์ใหญ่ 3 ราย
ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “BIG3” ของวงการ
BIG3 บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ คือใคร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
บริษัทให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
และเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น หลังเหตุการณ์วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา หรือ Great Depression ที่เกิดขึ้นช่วงปี 1929-1933
สาเหตุเนื่องจาก หลายบริษัทต้องการความช่วยเหลือ ทั้งด้านทิศทางกลยุทธ์, การบริหารจัดการต้นทุน รวมไปถึงการลงทุน เพื่อเร่งฟื้นตัวจากวิกฤติในขณะนั้น
เวลาผ่านไปเกือบร้อยปี สถานการณ์ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขึ้นและตลอดเวลา
ก็ยิ่งทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องการที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือ มาช่วยให้สามารถก้าวตามทันตลาดหรือคู่แข่งได้
ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทที่เป็นกลุ่มผู้นำของวงการที่ปรึกษาธุรกิจ ประกอบไปด้วย 3 ราย ได้แก่
- McKinsey & Company
- Boston Consulting Group
- Bain & Company
บริษัทที่อายุมากสุดในกลุ่ม คือ “McKinsey & Company”
McKinsey ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1926 โดยคุณ James McKinsey
ซึ่งเคยเป็นอาจารย์สอนบัญชี แต่เกิดไอเดียทำธุรกิจที่ปรึกษา โดยนำหลักการทางบัญชีมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเสนอแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท
ต่อมา McKinsey ก็ได้พัฒนาองค์ความรู้เฉพาะทาง เกี่ยวกับธุรกิจประเภทต่าง ๆ เพิ่มเติม
ทำให้บริษัทมีชื่อเสียง ในเรื่องการมีผู้เชี่ยวชาญ ครอบคลุมแทบทุกอุตสาหกรรม
นอกจากนั้น บริษัทได้ใช้นโยบายที่เรียกว่า One-Firm Partnership
ซึ่งสำนักงานทุกสาขา จะใช้วัฒนธรรมองค์กรเดียวกัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้พนักงานของ McKinsey มีมาตรฐานสูง ไม่ว่าจะทำงานอยู่ในประเทศใดก็ตาม
ปัจจุบัน McKinsey มีพนักงานทั้งหมดราว 30,000 คน ใน 130 เมืองทั่วโลก
โดยอดีตพนักงาน McKinsey ที่เราอาจคุ้นชื่อกัน เช่น
คุณ Sundar Pichai ปัจจุบันเป็น CEO ของ Google
คุณ Sheryl Sandberg ปัจจุบันเป็น COO ของ Facebook
บริษัทต่อมา คือ “Boston Consulting Group” หรือ BCG
BCG ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1963 โดยคุณ Bruce Henderson
ซึ่งเดิมทีทำงานอยู่บริษัทที่ปรึกษา ชื่อว่า Arthur D. Little แต่ต่อมาตัดสินใจออกมาสร้างธุรกิจของตัวเอง
BCG เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง จากการใช้ข้อมูลปัจจัยภายนอก มาแนะนำกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาด ซึ่งแตกต่างจากที่ปรึกษารายอื่นในอดีต ที่ส่วนใหญ่วิเคราะห์จากปัจจัยภายในของบริษัทเป็นหลัก
ตัวอย่างเครื่องมือที่ BCG คิดค้นขึ้น และหลายคนอาจเคยใช้งาน คือ Growth-Share Matrix
ซึ่งช่วยให้บริษัทเลือกจัดสรรทรัพยากร ไปในธุรกิจที่น่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า
โดย BCG แบ่งประเภทธุรกิจ เป็นตาราง 4 ช่อง ตามอัตราการเติบโตของตลาด และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
- Cash Cows ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง แต่ตลาดเติบโตต่ำ
- Stars ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง และตลาดเติบโตสูง
- Question Marks ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ แต่ตลาดเติบโตสูง
- Dogs ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ และตลาดเติบโตต่ำ
ปัจจุบัน BCG มีพนักงานทั้งหมดราว 22,000 คน ใน 90 เมืองทั่วโลก
โดยอดีตพนักงาน BCG ที่ประสบความสำเร็จ เช่น
คุณ Benjamin Netanyahu นายกรัฐมนตรีของประเทศอิสราเอล
คุณ Indra Nooyi อดีต CEO ของ PepsiCo
บริษัทสุดท้าย คือ “Bain & Company”
Bain ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1973 โดยคุณ Bill Bain
ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารระดับสูงของ BCG ที่ออกมาตั้งบริษัทที่ปรึกษาของตัวเอง
Bain มีชื่อเสียงในเรื่องคำปรึกษาด้านการลงทุน และดีลเข้าซื้อกิจการ
โดยมีลูกค้ากองทุน Private Equity ที่เน้นลงทุนในบริษัทที่ยังไม่จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ คิดเป็นสัดส่วน 75% ของตลาด
ซึ่ง Bain ถือเป็นที่ปรึกษารายแรก ๆ ที่คิดค่าบริการตามผลลัพธ์ของโครงการ ทำให้บริษัทสามารถร่วมประสบความสำเร็จไปกับลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว จนได้รับงานอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน Bain มีพนักงานทั้งหมดราว 9,000 คน ใน 59 เมืองทั่วโลก
โดยอดีตพนักงาน Bain ที่หลายคนน่าจะรู้จัก เช่น
คุณ Mitt Romney อดีตผู้ท้าชิง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากพรรครีพับลิกัน ในปี 2008 และ 2012
คุณ Susan Wojcicki ซึ่งเป็น CEO ของ YouTube
แล้วทำไมทั้งสามบริษัท ถึงครองตำแหน่ง BIG3 ได้ ?
จุดแข็งของ McKinsey, BCG และ Bain
คือ เครดิตความน่าเชื่อถือ และประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน
ทำให้พวกเขามีฐานลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมาก
และสามารถคิดค่าบริการได้ค่อนข้างสูงกว่าตลาด
พอเป็นเช่นนี้ บริษัท BIG3 จึงสามารถจ่ายเงินเดือนได้ในระดับสูง
ทำให้พนักงานเก่ง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก อยากสมัครเข้าทำงานด้วย
ส่งผลให้ บริษัทมีผลงานที่ดีต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับจากลูกค้าเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก
จนยากที่ผู้เล่นรายอื่น จะเข้ามาแย่งชิงตำแหน่ง BIG3 ไปได้
ซึ่งลักษณะธุรกิจที่อาศัยความได้เปรียบจากชื่อเสียงและการได้รับการยอมรับ ก็จะคล้าย ๆ กับกรณีของ “Big4” ในวงการตรวจสอบบัญชี อย่าง EY, PwC, KPMG และ Deloitte
เรามาลองดูรายได้ของแต่ละบริษัท เมื่อปี 2019
- McKinsey มีรายได้ 325,000 ล้านบาท
- BCG มีรายได้ 266,000 ล้านบาท
- Bain มีรายได้ 133,000 ล้านบาท
เมื่อเทียบกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กลุ่มที่ปรึกษาธุรกิจ BIG3 จะมีรายได้สูงติด 20 อันดับแรกของตลาดเลยทีเดียว
จากเรื่องนี้ เราอาจพอสรุปได้ว่า
ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ เป็นต้นทุนทางธุรกิจที่มีความสำคัญมาก
ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ย่อมมีโอกาสเสนอขายสินค้าหรือบริการได้มากกว่า
ซึ่งทำให้บริษัทเติบโต และครองส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่อง
เหมือนกรณีของ BIG3 ที่ปรึกษาธุรกิจ ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
และเป็นผู้นำของตลาด มานานหลายสิบปี
หรือกระทั่งบางราย เกือบร้อยปีแล้ว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://strategycase.com/the-big-3-consulting-firms-mckinsey-bcg-bain/
-https://igotanoffer.com/blogs/mckinsey-case-interview-blog/big-3-consulting-firms-mbb
-https://en.wikipedia.org/wiki/Big_Three_(management_consultancies)
-https://www.mckinsey.com/about-us/overview
-https://www.bcg.com/about/about-bcg/overview
-https://www.bain.com/about/what-we-do/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Management_consulting#History
management wiki 在 Facebook 的最讚貼文
梧:有朋友問在下——不如寫下華融爆煲?
哦,咁咪寫小小囉。
華融嘅history在下就唔寫太多了——佢本身係靠食工行D壞賬起家,朱鎔基年代一次,工行上市之前一次。當年國有四大銀行要股改黎香港上市但係壞帳率過高,所以每間行就有對應一間嘅bad bank專食壞賬,而華融就係工行嘅bad bank……其餘個三間係信達、長城同東方(在下稱之為四大垃圾筒,因為佢地literally係靠食垃圾起家的),想知道個歷史就自己去wiki查資料啦屌。
原本呢四間bad bank嘅壽命定左係10年,但係10年之後,又唔好就咁摺左佢,咁就轉型做Asset Management。
華融2015年黎香港上市,但係佢地IPO之前買左993,即係當年張德熙嘅天行國際。為咩?張德熙當年都玩唔少細價股,咁攞晒天行D license,你話呢?
有人會問,華融點賺錢?一間主要業務係manage爛數asset嘅公司,屌咁爛數by nature就係難收,所以佢地轉型玩asset management之後,主要業務就係做大耳窿、炒樓,證券呀,乜撚都有,and in HK's case,玩細價股。
佢地呢D公司其中一條winning formula就係玩regulatory arbitrage——因為大股東係大6嘅財政部,所以佢地發嘅債息低到嚇撚死你(coupon係講緊3-5厘only),同埋佢地發債唔係一百幾十億人仔咁發,係幾百億美記歐羅咁發。
當年佢地玩細價股都玩得癲,在下有一個曾經係入面做過(走左好耐)嘅朋友話,有段時間佢地係個鱷魚潭入面最大嘅殼股玩家(話仲勁過金利豐添)。當然啦,當年仲有人話華融借左200球美記比漢能過不被否認。
賴小民2018年落馬之後,David Webb都有叫人唔好買華融系嘅股票(「迷網26」)。2019年華融(2799)總資產1萬7千億人仔,執14億net profit……
好啦,兩年後嘅而家,疑似爆煲(因為delay左results announcement所以停緊牌),阿爺會唔會救?首先,呢D資產公司唔同銀行,唔係systemically important,就算債務重組,好多人都識講,基本上haircut就走唔甩的。其次,你唔爆煲,阿爺點樣整頓換自己友上去呢?
Bad bank爆煲,咪整多間bad bad bank囉,無限復活。
management wiki 在 GAMECO Channel Youtube 的最佳貼文
アブノーマリティーの管理を始める、手伝ってくれ。
次の動画:準備中
※公開日前の場合、リンク先の動画は表示されません。ご了承ください。
前の動画:https://youtu.be/yf5rWfeZPME
パート1:https://youtu.be/dhZuqtGyoNQ
再生リスト:https://www.youtube.com/playlist?list=PLVcZtkRxri1gPSVFzE5ceb_M1GLymqdj4
オンラインマルチプレイ/SLG作品を中心に毎日コンテンツを配信中です。
是非チャンネル登録をお願いします!:http://www.youtube.com/channel/UCfUc0lM8L8AkDm_n0Gwmn3A?sub_confirmation=1
作品公式サイト:https://store.steampowered.com/app/568220/Lobotomy_Corporation__Monster_Management_Simulation/
wiki:
https://lobotomy-corporation.fandom.com/ja/wiki/Lobotomy_Corporation%E6%94%BB%E7%95%A5_Wiki
ゲームの魅力を日本中に広めるために
動画コンテンツを通じて新しい楽しみ方をご提供します。
ゲーマーが楽しめる日本一のコミュニティを目指しています、
応援よろしくお願いします。
Twitterアカウント:http://twitter.com/GAMECO_jp
(げむこ/ゲムコ)
#LobotomyCorporation #ロボトミーコーポレーション #GAMECO
management wiki 在 GAMECO Channel Youtube 的最佳貼文
アブノーマリティーの管理を始める、手伝ってくれ。
次の動画:https://youtu.be/fx-uuY-fvmo
※公開日前の場合、リンク先の動画は表示されません。ご了承ください。
前の動画:https://youtu.be/hHJ7zeoOHGE
パート1:https://youtu.be/dhZuqtGyoNQ
再生リスト:https://www.youtube.com/playlist?list=PLVcZtkRxri1gPSVFzE5ceb_M1GLymqdj4
オンラインマルチプレイ/SLG作品を中心に毎日コンテンツを配信中です。
是非チャンネル登録をお願いします!:http://www.youtube.com/channel/UCfUc0lM8L8AkDm_n0Gwmn3A?sub_confirmation=1
作品公式サイト:https://store.steampowered.com/app/568220/Lobotomy_Corporation__Monster_Management_Simulation/
wiki:
https://lobotomy-corporation.fandom.com/ja/wiki/Lobotomy_Corporation%E6%94%BB%E7%95%A5_Wiki
ゲームの魅力を日本中に広めるために
動画コンテンツを通じて新しい楽しみ方をご提供します。
ゲーマーが楽しめる日本一のコミュニティを目指しています、
応援よろしくお願いします。
Twitterアカウント:http://twitter.com/GAMECO_jp
(げむこ/ゲムコ)
#LobotomyCorporation #ロボトミーコーポレーション #GAMECO
management wiki 在 GAMECO Channel Youtube 的最讚貼文
アブノーマリティーの管理を始める、手伝ってくれ。
次の動画:https://youtu.be/yf5rWfeZPME
※公開日前の場合、リンク先の動画は表示されません。ご了承ください。
前の動画:https://youtu.be/1pYhQL6oNys
パート1:https://youtu.be/dhZuqtGyoNQ
再生リスト:https://www.youtube.com/playlist?list=PLVcZtkRxri1gPSVFzE5ceb_M1GLymqdj4
オンラインマルチプレイ/SLG作品を中心に毎日コンテンツを配信中です。
是非チャンネル登録をお願いします!:http://www.youtube.com/channel/UCfUc0lM8L8AkDm_n0Gwmn3A?sub_confirmation=1
作品公式サイト:https://store.steampowered.com/app/568220/Lobotomy_Corporation__Monster_Management_Simulation/
wiki:
https://lobotomy-corporation.fandom.com/ja/wiki/Lobotomy_Corporation%E6%94%BB%E7%95%A5_Wiki
ゲームの魅力を日本中に広めるために
動画コンテンツを通じて新しい楽しみ方をご提供します。
ゲーマーが楽しめる日本一のコミュニティを目指しています、
応援よろしくお願いします。
Twitterアカウント:http://twitter.com/GAMECO_jp
(げむこ/ゲムコ)
#LobotomyCorporation #ロボトミーコーポレーション #GAMECO