#拭目以待
週五,大法官即將針對「黨產條例」的釋憲案公布結果,雖然從大法官的結構來看並不樂觀(15位大法官中,11位由蔡英文總統提名,而蔡總統提名又是出名的用人唯綠),仍必須善盡知識份子的言責。
美國1803年的 Marbury v. Madison 案,美國聯邦最高法院院長John Marshall 摒棄自己的政黨立場,駁回了William Marbury 的請求, 才確立了美國司法權的獨立崇高性。
從1803年到2020年,臺灣的大法官能不能夠展現美國聯邦最高法院大法官217年前即確立之獨立性呢?
---
德國處理黨產問題是為維護政黨公平競爭,與威權時期人權受到侵害而需要彌補之轉型正義無關,台灣早已經歷三次民主政權輪替,黨產條例與其立法目的「建立政黨公平競爭環境,健全民主政治」背道而馳。倘若全部合憲,無異回到德國納粹時期,領導者取得國會多數就可為所欲為,如此一來黨產條例不是在鞏固民主,而是在鞏固民進黨政權!大法官們如能適時導正,宣告黨產條例違憲,才不辜負憲法守護者之名器。
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「marbury v. madison」的推薦目錄:
marbury v. madison 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีสถานะสูงสุดของประเทศ การที่รัฐธรรมนูญมีสถานะสูงกว่ากฎหมายอื่นทั้งหลายย่อมไม่อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ เพื่อให้ความสูงสุดของรัฐธรรมนูญมีความศักดิ์สิทธิ์ในการประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ไม่ถูกละเมิดหรือทำลายหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ จึงต้องมีการควบคุมกฎหมายมิให้
ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งอำนาจใน “การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ” (Power of Judicial Review) ได้วางหลักไว้ว่า เมื่อใดที่รัฐธรรมนูญรับรองว่าตนเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ หรือบัญญัติให้เห็นโดยอ้อมว่าตนเป็นกฎหมายสูงสุด ด้วยการห้ามบทบัญญัติกฎหมายอื่นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เมื่อนั้นย่อมเกิดอำนาจในการพิทักษ์รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและอำนาจในการควบคุมมิให้กฎหมายอื่นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ โดยมีระบบการควบคุมหรือการตรวจสอบมิให้กฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงแนวคิดและหลักการทั่วไปการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญว่ามีองค์กรใดบ้างในการควบคุมกฎหมาย มีวิธีการควบคุมอย่างไร ผลของการควบคุมกฎหมายหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไรและการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งของประเทศไทย ดังนี้
องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แยกพิจารณาองค์กรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวออกได้เป็น 2 ประเภท คือ องค์กรที่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการกับองค์กรที่ไม่มีสถานะเป็นองค์กรตุลาการ ดังนี้
1.1 องค์กรที่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการ
องค์กรที่ถือว่าเป็น “องค์กรตุลาการ” (Judiciary) ผู้เขียนขอแยกพิจารณาองค์กรที่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการกับประเภทขององค์กรตุลาการที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
1.1.1 ลักษณะที่จะเป็นองค์กรตุลาการ
องค์กรที่ถือว่าเป็นองค์กรตุลาการได้นั้นหาใช่เพียงมีชื่อเรียกว่า “ตุลาการ” หรือ “ศาล” เท่านั้น แต่ยังต้องเป็นองค์กรที่มีลักษณะที่เป็นสาระสำคัญขององค์กรตุลาการครบถ้วนด้วยจึงถือว่าเป็นองค์กรตุลาการได้ในลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ คือ
1.1.1.1 ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท
ต้องเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการหรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทในกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการกระทำละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายในระหว่างเอกชน ระหว่างองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐ และระหว่างเอกชนกับองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งในกรณีหลังนี้คือ การพิจารณาตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำต่าง ๆ
ขององค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อมีการกล่าวหาว่าการกระทำที่ก่อให้เกิดผลกระทบสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนนั้นเป็นการกระทำที่ล่วงละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
1.1.1.2 คำวินิจฉัยจะต้องถึงที่สุด
คำวินิจฉัยจะต้องถึงที่สุด เด็ดขาดและไม่อาจจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนได้โดยองค์กรเจ้าหน้าที่องค์กรใดอีก ซึ่งหมายความว่า เมื่อองค์กรเจ้าหน้าที่
ซึ่งมีอำนาจพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทได้ทำคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว คำวินิจฉัยนั้นจะต้องไม่อยู่
ในสถานะที่จะถูกกลับหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้อีก ทั้งนี้ไม่ว่าจะโดยองค์กรเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำวินิจฉัยนั้นเองหรือองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐองค์กรอื่นใด เว้นแต่องค์กรตุลาการ
ซึ่งอยู่ในระดับสูงขึ้นไปตามกระบวนการวิธีพิจารณาตามปกติของการอุทธรณ์ ฎีกา เท่านั้น และเมื่อมีคำวินิจฉัยขององค์กรตุลาการซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว คำวินิจฉัยขององค์กรนั้นจะต้องถือเป็นที่สุดไม่อาจโต้แย้งไปได้แม้จะมีความไม่เหมาะสมก็ตาม
1.1.1.3 กระบวนการพิจารณาโดยเปิดเผย
กระบวนการพิจารณาทำคำวินิจฉัยชี้ขาดจะต้องเป็นกระบวนการที่เปิดเผยต่อสาธารณชน เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าฟังได้ การพิจารณาลับจะกระทำได้เฉพาะที่มีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมทั่วไปหรือพิจารณาโดยเปิดเผย
จะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเท่านั้น และจะต้องเปิดโอกาสให้คู่กรณีสามารถนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ส่วนได้เสียของตนได้อย่างเต็มที่ ทั้งในกรณีที่เป็นการสนับสนุนข้ออ้างของตนและในกรณีที่เป็นการหักล้างข้อกล่าวหาของฝ่ายตรงกันข้าม
1.1.1.4 ความเป็นอิสระในการวินิจฉัยข้อพิพาทของตุลาการหรือผู้พิพากษา
องค์กรนั้นจะต้องทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทอย่างเป็นอิสระ กล่าวคือ การวินิจฉัยของตุลการหรือผู้พิพากษาล่าวจะต้องไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลหรืออำนาจบังคับบัญชาจากองค์กรหนึ่งองค์กรใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการด้วยกันเองหรือจากกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆในสังคม ด้วยเหตุนี้ระบบ “การบังคับบัญชาตามลำดับชั้น” (Hierarchical control) อย่างที่ใช้อยู่ในองค์กรของฝ่ายบริหารจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจนำมาใช้กับระบบงานขององค์กรตุลาการได้ เพราะในระบบซึ่งผู้บังคับบัญชามีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ เช่นนี้ไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำงานอย่างอิสระ
ได้อย่างแท้จริง
เมื่อพิจารณาแล้วองค์กรตุลาการต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 4 ประการข้างต้น ถ้าขาดคุณสมบัติเพียงประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ก็ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นองค์กรตุลาการ
1.1.2 องค์กรตุลาการที่จะทำหน้าที่ควบคุมมิให้กฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
องค์กรตุลาการที่จะทำหน้าที่ควบคุมมิให้กฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญโดยทั่วไปที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก มีอยู่ 2 รูปแบบองค์กร คือ ศาลยุติธรรมกับศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1.1.2.1 ศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรม (Court of Justice) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยทั่ว ๆ ไปทุกคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมทั้งสิ้น เป็นการวางหลักควบคุมแบบ “การกระจายอำนาจทางศาล” โดยศาลยุติธรรมทุกศาลมีอำนาจควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
แยกพิจารณาออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ศาลยุติธรรมทั่วไป (General Court of Justice) ซึ่งพิจารณาคดีพิพาททางรัฐธรรมนูญร่วมกับคดีอื่น ๆ โดยไม่มีการแบ่งแยกเจ้าหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะเจาะจง รัฐธรรมนูญบางประเทศมอบหมายอำนาจในการพิจารณาควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญให้ไว้แก่ศาลยุติธรรมทุกศาลอย่างชัดแจ้ง ส่วนใหญ่มักเปิดช่องว่าจะต้องมีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้ระบุว่าให้เป็นอำนาจขององค์กรใดควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมซึ่งมีอยู่เพียงเป็นองค์กรเดียวที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวง จึงอ้างว่าเป็นอำนาจของตนเอง โดยการตีความเอาจากตัวบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ได้เปิดช่องไว้นั้น
คดีตัวอย่างที่เป็นต้นแบบของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ คดี Marbury v. Madison ผู้พิพากษา John Marshall ในคดีนี้ก็ได้อ้างหลักตรรกวิทยาอย่างง่ายๆ ในการตีความกฎหมายว่า “...องค์กรตุลาการนั้นเป็นองค์กรที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีอำนาจและเป็นหน้าที่ที่จะต้องพิจารณาว่าอะไรบ้างที่มีฐานะเป็นกฎหมายอันจะนำมาใช้เป็นหลักในการทำคำวินิจฉัยและถ้ามีความขัดแย้งกันในระหว่างบทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้ในเรื่องเดียวกันแล้ว ตุลาการก็จะต้องมีอำนาจเป็นผู้ตัดสินว่าจะใช้
บทกฎหมายใดบังคับ และในกรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในระหว่างรัฐบัญญัติซึ่งจะต้องใช้บังคับในกรณีเดียวกันแล้ว ศาลก็จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอาทางใดทางหนึ่งระหว่าง
การที่จะต้องตัดสินตามรัฐบัญญัติโดยไม่คำนึงถึงรัฐธรรมนูญหรือยึดถือไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญละเลยต่อรัฐบัญญัติ..” จากเหตุผลดังกล่าว Marshall ได้สรุปว่า เพราะประเทศสหรัฐอเมริกายึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีค่าบังคับสูงสุด ดังนั้นกฎหมายใดก็ตามที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจึงไม่มีค่าบังคับเป็นกฎหมายที่ศาลจะต้องนำมาใช้ตัดสินคดีและหลังจากที่คดี Marbury v. Madison นี้ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ รัฐต่างๆทั้งในยุโรปและเอเชียต่างก็รับเอาระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญโดยศาลยุติธรรมเข้ามาใช้ในรัฐของตน
ในทำนองเดียวกันกับที่ปรากฏอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
2. ศาลยุติธรรมเฉพาะ (Specialized Court of Justice) ซึ่งได้แยกเจ้าหน้าที่ไว้โดยเฉพาะเจาะจงในการพิจารณาข้อหานั้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญต่างหากจากการพิจารณาคดีอื่น ๆ ตามปกติ เช่น ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การพิจารณาคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญจะถูกแยกไว้เป็นแผนกหนึ่งต่างหากจากคดีประเภทอื่นๆ ทำนองเดียวกันกับการจัดตั้งศาลเด็กหรือศาลแรงงานในประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ว่า คดีรัฐธรรมนูญเป็นคดีที่มีความสำคัญมีความละเอียดอ่อนเกี่ยวพันทั้งผลประโยชน์ของเอกชนและของรัฐ ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้านค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางกฎหมายมหาชนซึ่งมีวิธีคิด วิธีตีความแตกต่างไปจากเอกชน หากปล่อยให้เป็นอำนาจขององค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่ชุดเดียวกับที่พิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาตามปกติ องค์กรเจ้าหน้าที่นั้นก็อาจจะมองข้ามความสำคัญหรือนำเอาวิธีคิดวิธีตีความที่ใช้อยู่กับคดีเหล่านั้นมาใช้ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่ไม่สมควรขึ้นได้ สมควรที่จะจัดให้มีองค์กรเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญในทางกฎหมายมหาชน (Public Law) เป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการจัดตั้งแผนกพิเศษไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงในศาลชั้นต้นเท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาก็ยังเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามปกติอยู่จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นศาลเฉพาะที่แยกต่างหากจากศาลยุติธรรมตามปกติศาล
ประเทศที่ใช้ศาลยุติธรรมเข้ามาควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเอสโทเนีย ประเทศนิวซีแลนด์ประเทศอิหร่าน ประเทศโบลิเวีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน ประเทศฟิจิ ประเทศอิสราเอล ประเทศเม็กซิโก ประเทศเนปาล ประเทศเคนยา ประเทศมาเลย์เซีย ประเทศอินเดีย เป็นต้น
1.1.2.2 ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาให้มีเขตอำนาจจำกัดอยู่แต่เพียงการพิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาและ
ทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ ศาลเฉพาะหรือที่เรียกว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” (Constitution Court) เป็นอำนาจตุลาการที่ถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษและเฉพาะเจาะจงเพื่อพิจารณาปัญหาหรือข้อขัดแย้งในทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกวางตัวอยู่นอกขอบเขตของศาลยุติธรรมในระบบปกติและเป็นอิสระซึ่งอำนาจในทางมหาชนอื่นๆ ซึ่งเป็นการวางหลัก “การควบคุมแบบรวมศูนย์อำนาจศาล” ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญถูกจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญของประเทศออสเตรีย ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1920 โดยคำเสนอแนะของ ฮันส์ เคลเซน (Hans Kelsen) นักรัฐธรรมนูญผู้มีชื่อเสียงของออสเตรีย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากการรับเอาระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยศาลยุติธรรมตามระบบของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้ในประเทศออสเตรียและประเทศเยอรมนีนำมาใช้จนเป็นที่ได้รับความนิยมต่อมา ทั่วโลกอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประเทศที่ใช้ศาลรัฐธรรมนูญควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ประเทศออสเตรีย ประเทศเยอรมนี ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศตุรกี ประเทศไซปรัส ประเทศศรีลังกา ประเทศโปแลนด์ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศโครเอเชีย ประเทศโรมาเนีย ประเทศอัฟริกาใต้ ประเทศชิลี ประเทศสเปน ประเทศไทย เป็นต้น
1.2 องค์กรที่ไม่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการ
องค์กรที่ไม่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการ (Non –Judicial Organization) หรือ เรียกว่า “องค์กรทางการเมือง” (Political organization) กล่าวคือ องค์กรที่ไม่มีลักษณะครบที่จะเป็นองค์กรตุลาการก็ต้องถือว่าไม่ใช่องค์กรตุลาการทั้งสิ้น ซึ่งเป็นองค์กรที่มีสมาชิกดำรงตำแหน่งโดยวิถีทางการเมืองอยู่ด้วย แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
1.2.1 คณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญ
องค์กรที่ไม่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการ ที่เรียกว่า “คณะกรรมการรัฐธรรมนูญ” (Committee on the Constitution) หรือ “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ”
(The jury is unconstitutional) ที่ทำหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ องค์กรที่ไม่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส
ประเทศแอลจีเรีย ประเทศโมร๊อคโค ประเทศโมซัมบิค เป็นต้น
1.2.2 รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติ
แนวคิดที่ให้รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นจากการอ้างเหตุผลว่า รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้แทนของประชาชนและมีหน้าที่จัดทำหรือบัญญัติกฎหมายย่อมทราบได้ดีว่ากฎหมายฉบับใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ บางประเทศที่ให้รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติ
มีอำนาจควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เช่น ประเทศจีน ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศคิวบา ประเทศเกาหลีเหนือ ประเทศเอธิโอเปีย ประเทศฟิลแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศบาเรนห์ ประเทศซิมบับเว ประเทศโอมาน ประเทศตูนิเซีย เป็นต้น
marbury v. madison 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
"องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ"
โดย รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แยกพิจารณาองค์กรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวออกได้เป็น 2 ประเภท คือ องค์กรที่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการกับองค์กรที่ไม่มีสถานะเป็นองค์กรตุลาการหรือเรียกว่า “องค์กรทางการเมือง” ดังนี้
1.1 องค์กรที่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการ
องค์กรที่ถือว่าเป็นองค์กรตุลาการ ผู้เขียนขอแยกพิจารณาองค์กรที่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการกับประเภทขององค์กรตุลาการที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
1.1.1 ลักษณะที่จะเป็นองค์กรตุลาการ
องค์กรที่ถือว่าเป็นองค์กรตุลาการได้นั้นหาใช่เพียงมีชื่อเรียกว่า “ตุลาการ” หรือ “ศาล”เท่านั้น แต่ยังต้องเป็นองค์กรที่มีลักษณะที่เป็นสาระสำคัญขององค์กรตุลาการครบถ้วนด้วยจึงถือว่าเป็นองค์กรตุลาการได้ในลักษณะต่างๆ เหล่านี้ คือ
1.1.1.1 ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท
ต้องเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทในกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการกระทำละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายในระหว่างเอกชน ระหว่างองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐ และระหว่างเอกชนกับองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งในกรณีหลังนี้คือ การพิจารณาตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำต่างๆขององค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อมีการกล่าวหาว่าการกระทำที่ก่อให้เกิดผลกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นเป็นการกระทำที่ล่วงละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
1.1.1.2 คำวินิจฉัยจะต้องถึงที่สุด
คำวินิจฉัยจะต้องถึงที่สุด เด็ดขาดและไม่อาจจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนได้โดยองค์กรเจ้าหน้าที่องค์กรใดอีก ซึ่งหมายความว่า เมื่อองค์กรเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทได้ทำคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว คำวินิจฉัยนั้นจะต้องไม่อยู่ในสถานะที่จะถูกกลับหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้อีก ทั้งนี้ไม่ว่าจะโดยองค์กรเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำวินิจฉัยนั้นเองหรือองค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐองค์กรอื่นใด เว้นแต่องค์กรตุลาการซึ่งอยู่ในระดับสูงขึ้นไปตามกระบวนการวิธีพิจารณาตามปกติของการอุทธรณ์ ฎีกา เท่านั้น และเมื่อมีคำวินิจฉัยขององค์กรตุลาการซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดแล้ว คำวินิจฉัยขององค์กรนั้นจะต้องถือเป็นที่สุดไม่อาจโต้แย้งไปได้แม้จะมีความไม่เหมาะสมก็ตาม
1.1.1.3 กระบวนการพิจารณาโดยเปิดเผย
กระบวนการพิจารณาทำคำวินิจฉัยชี้ขาดจะต้องเป็นกระบวนการที่เปิดเผยต่อสาธารณชน เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้าฟังได้ การพิจารณาลับจะกระทำได้เฉพาะที่มีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมทั่วไปหรือพิจารณาโดยเปิดเผยจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเท่านั้น และจะต้องเปิดโอกาสให้คู่กรณีสามารถนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ส่วนได้เสียของตนได้อย่างเต็มที่ ทั้งในกรณีที่เป็นการสนับสนุนข้ออ้างของตนและในกรณีที่เป็นการหักล้างข้อกล่าวหาของฝ่ายตรงกันข้าม
1.1.1.4 ความเป็นอิสระในการวินิจฉัยข้อพิพาท
องค์กรนั้นจะต้องทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทอย่างเป็นอิสระ กล่าวคือ การวินิจฉัยขององค์กรดังกล่าวจะต้องไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลหรืออำนาจบังคับบัญชาจากองค์กรหนึ่งองค์กรใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการด้วยกันเองหรือจากกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆในสังคม ด้วยเหตุนี้ระบบการบังคับบัญชาตามลำดับชั้น (Hierarchical control) อย่างที่ใช้อยู่ในองค์กรของฝ่ายบริหารจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจนำมาใช้กับระบบงานขององค์กรตุลาการได้ เพราะในระบบซึ่งผู้บังคับบัญชามีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ เช่นนี้ไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำงานอย่างอิสระได้อย่างแท้จริง
เมื่อพิจารณาแล้วองค์กรตุลาการต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 4 ประการข้างต้น ถ้าขาดคุณสมบัติเพียงประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ประกอบแต่ไม่ครบทั้ง 4 ประการ ก็ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นองค์กรตุลาการ
1.1.2 องค์กรตุลาการที่จะทำหน้าที่ควบคุมมิให้กฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
องค์กรตุลาการที่จะทำหน้าที่ควบคุมมิให้กฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญโดยทั่วไปที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก มีอยู่ 2 รูปแบบองค์กร คือ ศาลยุติธรรมกับศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1.1.2.1 ศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรม (Court of Justice) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยทั่วๆ ไปทุกคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมทั้งสิ้น โดยส่วนมากถูกจัดตั้งขึ้นในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมอนลอว์ (Common Law) ซึ่งแยกพิจารณาออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ศาลยุติธรรม ซึ่งพิจารณาคดีพิพาททางรัฐธรรมนูญร่วมกับคดีอื่นๆ โดยไม่มีการแบ่งแยกเจ้าหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะเจาะจง รัฐธรรมนูญบางประเทศมอบหมายอำนาจในการพิจารณาควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญให้ไว้แก่ศาลยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง โดยส่วนใหญ่มักเปิดช่องว่าจะต้องมีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้ระบุว่าให้เป็นอำนาจขององค์กรใด ศาลยุติธรรมซึ่งมีอยู่เพียงเป็นองค์กรเดียวจึงอ้างว่าเป็นอำนาจของตนเอง โดยการตีความเอาจากตัวบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ได้เปิดช่องไว้นั้น
ตัวอย่างคดีต้นแบบของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ คดี Marbury v. Madison ผู้พิพากษา Jhon Marshall ในคดีนี้ก็ได้อ้างหลักตรรกวิทยาอย่างง่ายๆ ในการตีความกฎหมายว่า “...องค์กรตุลาการนั้นเป็นองค์กรที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีอำนาจและเป็นหน้าที่ที่จะต้องพิจารณาว่าอะไรบ้างที่มีฐานะเป็นกฎหมายอันจะนำมาใช้เป็นหลักในการทำคำวินิจฉัยและถ้ามีความขัดแย้งกันในระหว่างบทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้ในเรื่องเดียวกันแล้ว ตุลาการก็จะต้องมีอำนาจเป็นผู้ตัดสินว่าจะใช้บทกฎหมายใดบังคับ และในกรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในระหว่างรัฐบัญญัติซึ่งจะต้องใช้บังคับในกรณีเดียวกันแล้ว ศาลก็จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอาทางใดทางหนึ่งระหว่างการที่จะต้องตัดสินตามรัฐบัญญัติโดยไม่คำนึงถึงรัฐธรรมนูญหรือยึดถือไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญละเลยต่อรัฐบัญญัติ..” จากเหตุผลดังกล่าว Marshall ได้สรุปว่า เพราะประเทศสหรัฐอเมริกายึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีค่าบังคับสูงสุด ดังนั้นกฎหมายใดก็ตามที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจึงไม่มีค่าบังคับเป็นกฎหมายที่ศาลจะต้องนำมาใช้ตัดสินคดีและหลังจากที่คดี Marbury v. Madison นี้ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ รัฐต่างๆทั้งในยุโรปและเอเชียต่างก็รับเอาระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญโดยศาลยุติธรรมเข้ามาใช้ในรัฐของตน ในทำนองเดียวกันกับที่ปรากฏอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
2.ศาลยุติธรรมเฉพาะ ซึ่งได้แยกเจ้าหน้าที่ไว้โดยเฉพาะเจาะจงในการพิจารณาข้อหานั้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญต่างหากจากการพิจารณาคดีอื่นๆ ตามปกติ เช่น ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การพิจารณาคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญจะถูกแยกไว้เป็นแผนกหนึ่งต่างหากจากคดีประเภทอื่นๆ ทำนองเดียวกันกับการจัดตั้งศาลเด็กหรือศาลแรงงานในประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ว่า คดีรัฐธรรมนูญเป็นคดีที่มีความสำคัญมีความละเอียดอ่อนเกี่ยวพันทั้งผลประโยชน์ของเอกชนและของรัฐ ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะด้านค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางกฎหมายมหาชนซึ่งมีวิธีคิด วิธีตีความแตกต่างไปจากเอกชน หากปล่อยให้เป็นอำนาจขององค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่ชุดเดียวกับที่พิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาตามปกติ องค์กรเจ้าหน้าที่นั้นก็อาจจะมองข้ามความสำคัญหรือนำเอาวิธีคิดวิธีตีความที่ใช้อยู่กับคดีเหล่านั้นมาใช้ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่ไม่สมควรขึ้นได้ สมควรที่จะจัดให้มีองค์กรเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญในทางกฎหมายมหาชนเป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว
แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีการจัดตั้งแผนกพิเศษไว้ก็ตามแต่ก็เป็นเพียงในศาลชั้นต้นเท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาก็ยังเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามปกติอยู่จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นศาลเฉพาะที่แยกต่างหากจากศาลยุติธรรมตามปกติศาล
ซึ่งประเทศที่ใช้องค์กรศาล คือ ศาลยุติธรรมเข้ามาควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเอสโทเนีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศอิหร่าน ประเทศโบลิเวีย ประเทศเจแปน ประเทศนอร์เวย์ ประเทศสวีเดน ประเทศฟิจิ ประเทศอิสราเอล ประเทศเม็กซิโก ประเทศเนปาล ประเทศเคนยา ประเทศมาเลย์เซีย ประเทศอินเดีย เป็นต้น
1.1.2.2 ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาให้มีเขตอำนาจจำกัดอยู่แต่เพียงการพิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ ศาลเฉพาะหรือที่เรียกว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” (Constitution Court) ศาลรัฐธรรมนูญถูกจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญของประเทศออสเตรีย ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1920 โดยคำเสนอแนะของ ฮันส์ เคลเซน (Hans Kelsen) นักรัฐธรรมนูญผู้มีชื่อเสียงของออสเตรีย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากการรับเอาระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยศาลยุติธรรมตามระบบของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้ในประเทศออสเตรียและประเทศเยอรมนีนำมาใช้จนเป็นที่ได้รับความนิยมต่อมาทั่วโลกอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประเทศที่ใช้ศาลรัฐธรรมนูญควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ประเทศออสเตรีย ประเทศเยอรมนี ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศตุรกี ประเทศไซปรัส ประเทศศรีลังกา ประเทศโปแลนด์ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศโครเอเชีย ประเทศโรมาเนีย ประเทศอัฟริกาใต้ ประเทศชิลี ประเทศสเปน ประเทศไทย เป็นต้น
1.2 องค์กรที่ไม่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการ
องค์กรที่ไม่มีลักษณะครบที่จะเป็นองค์กรตุลาการก็ต้องถือว่าไม่ใช่องค์กรตุลาการทั้งสิ้น ซึ่งเป็นองค์กรที่มีสมาชิกดำรงตำแหน่งโดยวิถีทางการเมืองอยู่ด้วย แบ่งออกได้ 2 รูปแบบดังนี้
1.2.1 คณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญ
องค์กรที่ไม่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการ ที่เรียกว่า “คณะกรรมการรัฐธรรมนูญ” (Committee on the Constitution) หรือ “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” (The jury is unconstitutional) ที่ทำหน้าที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ องค์กรที่ไม่มีลักษณะเป็นองค์กรตุลาการ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ประเทศฝรั่งเศสประเทศแอลจีเรีย ประเทศโมร๊อคโค ประเทศโมซัมบิค เป็นต้น
1.2.2 รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติ
แนวคิดที่ให้รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นจากการอ้างเหตุผลว่า รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้แทนของประชาชนและมีหน้าที่จัดทำหรือบัญญัติกฎหมายย่อมทราบได้ดีว่ากฎหมายฉบับใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ บางประเทศที่ให้รัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เช่น ประเทศจีน ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศคิวบา ประเทศเกาหลีเหนือ ประเทศเอธิโอเปีย ประเทศฟิลแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศบาเรนห์ ประเทศซิมบับเว ประเทศโอมาน ประเทศตูนิเซีย เป็นต้น
marbury v. madison 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
marbury v. madison 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
marbury v. madison 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
marbury v. madison 在 Marbury v. Madison - Wikipedia 的相關結果
Marbury v. Madison, 5 U.S. (1 Cranch) 137 (1803), was a landmark U.S. Supreme Court case that established the principle of judicial review in the United ... ... <看更多>
marbury v. madison 在 Marbury v. Madison | Background, Summary, & Significance 的相關結果
Marbury v. Madison, legal case in which the U.S. Supreme Court first declared an act of Congress unconstitutional and thus established the ... ... <看更多>
marbury v. madison 在 Marbury v. Madison | Oyez 的相關結果
The Court found that Madison's refusal to deliver the commission was illegal, but did not order Madison to hand over Marbury's commission via writ of mandamus. ... <看更多>