ใครจะได้ประโยชน์ ในโลกยุค Sustainability
ประเด็นเรื่องความยั่งยืนของโลก ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ได้รับการถูกกล่าวถึงมายาวนาน
แต่ทำไมผู้คนจึงพูดถึงเรื่องนี้กันมากขึ้น ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา
นั่นก็เพราะผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้ กำลังเป็นเรื่องใหญ่ที่ยากจะมานั่งใจเย็นได้
อย่างเช่นปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกปล่อยในอัตราเดิม จนถึงปี 2100
เศรษฐกิจโลกจะเกิดความเสียหายสูงกว่า 550 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
นานาประเทศจึงได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
หรือที่เรียกว่า Net-Zero Greenhouse Gas Emission
อาทิ
- ระดับโลก ภายใต้ Paris Climate Agreement
- ฝั่งเอเชีย อย่างจีน ที่ตั้งเป้าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2060
- ฝั่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้รัฐบาลโจ ไบเดน ตั้งงบลงทุน 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ Climate and Environmental Justice Proposal
“ความยั่งยืน” ไม่เพียงเป็นนโยบายระดับประเทศ
แต่ยังเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ในโลกธุรกิจ
เมื่อผู้บริโภคตื่นตัวกันมากขึ้น ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม และความเท่าเทียมทางสังคม
และพร้อมที่จะเลิกสนับสนุนธุรกิจที่ไม่มีความรับผิดชอบ
เช่น การแบนสินค้าที่มีกระบวนการผลิตละเมิดสิทธิมนุษยชน
โจทย์สำคัญในยุคนี้ของโลกธุรกิจ..
ก็คือ ทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโต โดยไม่ส่งผลทำลายโลกและสังคม เพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต
ความท้าทายนี้ สำคัญต่อการอยู่รอด หรือการเป็นผู้ชนะ ของโลกธุรกิจเลยทีเดียว
แล้วเรื่องนี้สำคัญต่อการลงทุนของเราอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
ผลจากการตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน กำลังก่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ๆ
ที่เป็นมิตรต่อโลกและสังคม เรียกว่า CLIC Economy
Lombard Odier องค์กรไพรเวทแบงกิ้งระดับโลก
คาดการณ์ว่า CLIC Economy จะส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรม
และจะเกิดเม็ดเงินลงทุนหมุนเวียนกว่า 5.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปีเลยทีเดียว
โดย CLIC Economy ที่ว่านี้ จะประกอบไปด้วย
C (Circular) คือ การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน
L (Lean) คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
I (Inclusive) คือ การสร้างความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจและสังคม
C (Clean) คือ การดำเนินการที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
พูดง่าย ๆ ว่าแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ว่านี้
กำลังผลักดันธุรกิจให้กลายเป็น “ธุรกิจแห่งความยั่งยืน” นั่นเอง
หลายคนอาจสงสัยว่า..
แล้วธุรกิจเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
จะปรับตัวมาเป็น “ธุรกิจแห่งความยั่งยืน” ได้อย่างไร ?
รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ Apple คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มาจากวัสดุรีไซเคิล 100%
รวมทั้งการใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตทั้งหมด ภายในปี 2030
เช่นเดียวกัน TSMC ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก ที่มีเป้าหมาย Positive Impact ต่อโลกให้มากที่สุด เช่น ลดของเสียในกระบวนการผลิตและลดมลพิษทางอากาศ
สะท้อนได้ว่า “เทรนด์ Sustainability” ไม่ใช่แค่เรื่อง CSR
แต่กำลังเป็น “หนึ่งเป้าหมายหลัก” ในโลกธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
ธุรกิจที่ปรับตัวก่อน ย่อมอยู่รอด และก้าวขึ้นไปสู่ชัยชนะในโลกธุรกิจ
ส่วนธุรกิจที่มองข้ามความสำคัญนี้ อาจไม่ได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และนักลงทุน จนต้องล้มหายตายจากไปในอนาคต
ทีนี้น่าจะมองออกแล้วว่า..
ธุรกิจที่กำลังเติบโต และกำลังสร้างความยั่งยืน ด้วยการเป็น “ธุรกิจแห่งความยั่งยืน”
ก็คือโอกาสสำคัญในการลงทุน ที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว หรือที่เรียกว่า Long Term Growth นั่นเอง
จึงไม่แปลกใจ หากปัจจุบันนี้จะมีรูปแบบการลงทุน Sustainable Investing เกิดขึ้นมากมาย
คำถามคือ แล้วเราจะเลือกลงทุนในธีม Sustainability อย่างไรดี ?
หนึ่งในผู้นำด้าน Sustainable Investing
ก็คือ KBank Private Banking ซึ่งเป็นไพรเวทแบงก์รายแรกในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง
และยังมีพันธมิตรเป็นผู้ให้บริการไพรเวทแบงกิ้งระดับโลก
อย่าง Lombard Odier ผู้มีประสบการณ์กว่า 225 ปี
มองว่า จุดเด่นของ Sustainable Investing
คือ การลงทุนระยะยาว ที่จะสร้างความมั่งคั่งแบบ Smooth และ Sustainable
ไปพร้อมกับความยั่งยืนของโลก
ธีมการลงทุนนี้ จึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนลักษณะ Momentum Play
ที่เน้นเล่นรอบระยะสั้น แบบจับจังหวะราคาขึ้นลง
ภายใต้ตัวเลือก Sustainable Investing ที่มีอยู่มากมาย
สิ่งที่นักลงทุนต้องพิจารณา คือ การพยายามมองหากองทุนหลักต่างประเทศที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และลงมือทำจริง
โดยเข้าไปพิจารณาถึงเนื้อในของการทำงานกองทุนนั้น ๆ
ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญที่จะทำหน้าที่แนะนำการลงทุน ทั้งในเรื่องการดำเนินการของธุรกิจตามเป้าหมายและระดับราคาที่เหมาะสม จึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นนั่นเอง
ตัวอย่างกองทุนรวมประเภท Feeder Fund ที่ KBank Private Banking แนะนำแก่ลูกค้า
ในธีมการลงทุน Sustainable Investment ที่น่าสนใจ
คือ กองทุน K-CLIMATE และ กองทุน K-CHANGE
แล้วกองทุน K-CLIMATE น่าสนใจอย่างไร ?
กองทุน K-CLIMATE มีจุดเด่นที่น่าสนใจ
คือ การลงทุนในธุรกิจที่สามารถเติบโต มีศักยภาพในการแข่งขันระยะยาว
พร้อมมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
รวมทั้งธุรกิจที่ปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
ธุรกิจกลุ่มนี้ ถือเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์โดยตรงจาก Paris Agreement
ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าไปลงทุน เช่น
-Vetas Wind System ผู้นำด้านการพัฒนากังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้สูงถึง 130 กิกะวัตต์ ใน 82 ประเทศทั่วโลก มีส่วนแบ่งตลาด 20% และมีบริการยาวนานถึง 19 ปี
-Delta Airlines บริษัทสายการบินใหญ่ที่สุดในโลกที่พยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยแผนการลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในอีก 10 ปี ข้างหน้า
โดยปัจจุบัน กองทุน K-CLIMATE มีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนต่อปี 17.99% ใกล้เคียงดัชนีอ้างอิงที่ 19.25% ต่อปี (ณ 1 เมษายน 2564)
แล้วกองทุน K-CHANGE น่าสนใจอย่างไร ?
กองทุน K-CHANGE มีจุดเด่นที่น่าสนใจ
คือ การลงทุนในบริษัทที่มีอัตราการเติบโตของกำไรสูงพร้อมทั้งสร้างผลกระทบเชิงบวก และช่วยให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ โอกาสทางสังคมและการศึกษา การดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
โดยมีเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกบริษัทที่จะลงทุน
ที่สามารถวัดผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรม
เช่น ทุกการลงทุน 15 ล้านบาทในปี 2019
- จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 124 ตัน
- จะช่วยประหยัดน้ำดื่มได้ 2.9 แสนลิตร
ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าไปลงทุน เช่น
- ธุรกิจเทคโนโลยีที่มีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อโลก เช่น Tesla และ TSMC
- ธุรกิจส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการวิจัยด้านยารักษาโรค เช่น Moderna และ M3
ที่น่าสนใจคือ K-CHANGE ลงทุนใน Moderna ตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19
เพราะเป็นธุรกิจเทคโนโลยีสุขภาพในเมกะเทรนด์ ที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้แก่โลกได้
โดยกองทุน K-CHANGE มีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนต่อปีที่ 47.46%
ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิงต่อปีที่ 17.29% (ณ 7 เมษายน 2564)
พูดง่าย ๆ ว่ากองทุน K-CLIMATE และ กองทุน K-CHANGE
เป็นหนึ่งช่องทางสร้าง Long Term Capital Growth
หรือผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้นั่นเอง
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า..
เทรนด์ “Sustainability” ไม่ใช่แค่เรื่องของนโยบายระดับประเทศ
แต่ยังเป็นโอกาสสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับโลกธุรกิจ
แม้วันนี้.. หลาย ๆ อย่างจะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
แต่การมีเป้าหมายที่ชัดเจน แม้จะใช้ระยะเวลานาน ก็มั่นใจได้ว่า การเดินทางครั้งนี้ จะไม่หลงทาง
เช่นเดียวกับการเลือกลงทุนกับองค์กรมืออาชีพที่ช่วยดูแลการลงทุน ให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วย “ธุรกิจแห่งความยั่งยืน”
และยังเป็นเทรนด์การลงทุนที่จะสร้าง “ผลตอบแทนระยะยาว” ให้แก่นักลงทุน และ “ความยั่งยืน” ให้แก่โลกไปพร้อมกันนั่นเอง..
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในธีม Sustainability สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.kasikornbank.com/th/personal/private-banking/vdo-covid/Pages/KPB-Perspective-EP2.aspx และ https://www.kasikornbank.com/th/personal/private-banking/vdo-covid/Pages/KPB-Perspective-EP3.aspx
ข้อมูลสำคัญสำหรับการลงทุน
- K-CLIMATE ระดับความเสี่ยงกองทุน : ระดับ 6 / ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน : การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจ
- K-CHANGE ระดับความเสี่ยงกองทุน : ระดับ 6 / ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน : การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน
- โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า/เงื่อนไขผลตอบแทน/ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน
References
-https://joebiden.com/climate-plan/
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-05/china-s-new-green-target-still-means-pumping-too-much-pollution
-https://ec.europa.eu/info/strategy/priorities-2019-2024/european-green-deal_en#timeline
-https://greennews.agency/?p=22111
-https://www.lombardodier.com/clic
-https://www.apple.com/environment/
-https://csr.tsmc.com/csr/en/CSR/valueCreation.html
-https://kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-CHANGE-A(A).aspx
-https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-CLIMATE.aspx
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
mutual fund คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปภาพรวม อุตสาหกรรม “กองทุนรวม” ในประเทศไทย /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า กองทุนรวมกองแรกในประเทศไทย
เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อ 44 ปีที่แล้ว
และตลอดเวลาที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกองทุนรวม
มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก
จนวันนี้มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมทั้งหมดในประเทศไทย
คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทยแล้ว
แล้วอุตสาหกรรมกองทุนรวมของไทย เติบโตแค่ไหน ในช่วงที่ผ่านมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
อ้างอิงจากเว็บไซต์ของ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)
กองทุนรวมกองแรกของไทย คือ “กองทุนสินภิญโญ” ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2520
ที่มีผู้ดูแลกองทุนคือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี
ด้วยขนาดกองทุน 100 ล้านบาท และมีอายุโครงการ 10 ปี
หลังจากนั้นมา กองทุนรวม ก็ค่อย ๆ เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ในฐานะทางเลือกในการลงทุน ของนักลงทุนทั้งรายเล็กและรายใหญ่ในไทย
แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทย เกิดขึ้นในปี 2544
เมื่อรัฐบาลในสมัยนั้น มีมติให้จัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
หรือ Retirement Mutual Fund (RMF)
โดยมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อ ส่งเสริมให้คนไทยให้ความสำคัญกับการออมระยะยาว โดยสร้างแรงจูงใจให้คนอยากลงทุนใน RMF ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุน
หลังจากกองทุน RMF ก่อตั้งมาได้ 3 ปี
ในปี 2547 กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
หรือ Long-Term Equity Fund (LTF) ก็ถูกจัดตั้งตามมา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศ ส่งเสริมการลงทุนระยะยาวในหุ้น พร้อมทั้งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่คนที่ซื้อกองทุน LTF
แต่ปัจจุบัน ทางรัฐบาลได้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนในกองทุน LTF แล้ว แม้ว่า เรายังสามารถลงทุนในกองทุน LTF ได้ก็ตาม
โดยที่มีการจัดตั้งกองทุน Super Saving Fund หรือ SSF ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว ที่มีความยืดหยุ่นในการไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศของกองทุนมากขึ้น
และผู้ซื้อก็ยังได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีด้วย
ต้องบอกว่า กองทุนประหยัดภาษีทั้งกองทุน RMF และ LTF นับเป็นจุดเปลี่ยนและเครื่องมือสำคัญ ที่ทำให้คนไทยหันมาลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น
ถ้าลองมาดูมูลค่าสินทรัพย์ของทั้ง 2 กองทุน ตั้งแต่ปี 2547-2562
- มูลค่าสินทรัพย์ของ RMF เพิ่มขึ้นถึง 24 เท่า จากประมาณ 12,238 ล้านบาท มาอยู่ที่ 304,306 ล้านบาท
- มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุน LTF ก็เติบโตระเบิด โดยเพิ่มขึ้นถึง 72 เท่าจากประมาณ 5,634 ล้านบาท มาอยู่ที่ 406,416 ล้านบาท
ขณะที่มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมทั้งหมดในไทย ตั้งแต่ปี 2547-2562
ก็เพิ่มขึ้นจาก 681,356 ล้านบาท มาเป็น 5,389,707 ล้านบาท
หรือเติบโตเกือบ 8 เท่า ในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา
ในปัจจุบัน มีจำนวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
ที่ได้รับใบอนุญาต การจัดการกองทุนรวมในประเทศไทย ทั้งสิ้น 26 บริษัท
และมีจำนวนกองทุนรวมให้เลือกลงทุนได้มากกว่า 2,051 กองทุน
ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไปในปี 2544 หรือปีแรกที่มีการจัดตั้ง RMF
ในตอนนั้น ยังมีจำนวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในประเทศไทยอยู่เพียง 14 บริษัท
และมีจำนวนกองทุนในตลาดให้ลงทุนได้เพียง 285 กองทุนเท่านั้น
อีกคำถามที่น่าสนใจก็คือ แล้ววันนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ไหนในประเทศไทย ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม มากที่สุด 3 อันดับแรก ?
เรื่องนี้ ลงทุนแมนก็ไปค้นมาและพบว่า สิ้นปี 2563 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมมากสุด 3 อันดับแรกก็คือ
1. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม 1,111,625 ล้านบาท
2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม 941,830 ล้านบาท
3. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม 725,703 ล้านบาท
ซึ่งทั้ง 3 บลจ. นี้ มีสัดส่วนมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุน
รวมกันแล้ว คิดเป็นประมาณ 52% ของมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมทั้งหมดในไทย
โดยทั้ง 3 รายนั้น เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม
ที่อยู่ในเครือ 3 ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของประเทศไทย
คือ ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ
แล้วผลประกอบการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เป็นอย่างไร ?
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย
ปี 2561 รายได้รวม 8,276 ล้านบาท กำไร 2,810 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 8,269 ล้านบาท กำไร 2,843 ล้านบาท
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์
ปี 2561 รายได้รวม 6,394 ล้านบาท กำไร 1,377 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 6,355 ล้านบาท กำไร 1,492 ล้านบาท
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง
ปี 2561 รายได้รวม 4,804 ล้านบาท กำไร 1,529 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 4,855 ล้านบาท กำไร 1,598 ล้านบาท
เมื่อดูตัวเลขแล้วก็อาจบอกได้ว่า
ธุรกิจจัดการกองทุนรวม ก็น่าจะมีรายได้ที่แน่นอนในระดับหนึ่ง
ที่เป็นแบบนี้ ก็เนื่องมาจาก รายได้หลักของบริษัทจัดการกองทุนมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการบริหารจัดการ
ซึ่งค่าธรรมเนียมที่ว่านี้ จะได้รับจากลูกค้าแน่นอน ไม่ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ จะเป็นอย่างไร แต่ก็อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามผลการดำเนินงานของแต่ละกองทุนในปีนั้น ๆ
และในอนาคต เมื่อคนไทยมีความรู้ทางการเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ
ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีเม็ดเงินอีกมหาศาล
ที่จะไหลเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมกองทุนรวมมากขึ้นอีก..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ปัจจุบัน บริษัทจัดการกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ BlackRock Funds
ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการอยู่ประมาณ 261 ล้านล้านบาท
ซึ่งมูลค่านี้ใหญ่กว่ามูลค่า GDP ประเทศญี่ปุ่น เกือบเท่าตัว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.set.or.th/yfs/main/download/YFS2017_YFSCamp_FinPL_Reading02.pdf
-http://oldweb.aimc.or.th/home.php
-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1
-https://mutualfunddirectory.org/latest-directory-ranking-here/
mutual fund คือ 在 ติดโปร - PRO addict Facebook 的精選貼文
🎉 เทียบชัดๆ กองทุนลดหย่อนภาษี SSF และ RMF แตกต่างกันอย่างไร ตัวไหนเหมาะกับเรา
💰 พูดถึงเรื่องการลงทุน หลายคนกำลังศึกษา หลายคนกำลังเล่นอยู่ ต่างคนต่างวัตถุประสงค์ในการลงทุนกันไป และเหตุผลอันดับ 1 ในใจใครหลายคนคือเพื่อนลดหย่อนภาษี วันนี้เราจะพามาดู SSF หรือ กองทุนรวมเพื่อการออม และ RMF หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ทั้งสองตัวนี้คือกองทุนที่ช่วยลดหย่อนภาษี ทำให้กลายเป็นตัวลงทุนที่ฮอตฮิตมาก ๆ แต่ทั้งสองตัวแตกต่างกันอย่างไร ตัวไหนเหมาะกับใคร มาติดตามในโพสต์เลย
.
🪙 SSF (Super Saving Fund) - กองทุนรวมเพื่อการออม
ให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี เพื่อทดแทนกองทุนLTF ที่สิ้นสุดลงในปี 2562 มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน ดังนี้
- ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท ไม่จำกัดแค่หุ้นไทย
- ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปีเต็ม นับจากวันที่ลงทุน ซึ่งถือว่ายาวกว่า LTF
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ
- ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี คือ ซื้อปีไหนลดหย่อนปีนั้น
- หักลดหย่อนได้ในปี 2563–2567 โดยลงทุนสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท (เมื่อรวม RMF + SSF + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กบข. + กอช. + ประกันบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
🙆 เหมาะกับใคร
เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี และผู้เริ่มต้นวัยทำงานเพื่อเป็นแรงจูงใจในการออมเงินระยะยาว
.
🪙 RMF (Retiremant Mutual Fund) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
กองทุนรวมประเภททส่งเสริมให้เกิดการออมเงินระยะยาวเพื่อใช้ยามเกษียณอายุ มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน ดังนี้
- ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท
- ถือครองอย่างต่ำ 5 ปี และจนมีอายุครบ 55 ปี
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ
- ลงทุนต่อเนื่องทุกปี (อย่างน้อยปีเว้นปี)
- สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ในปีที่มีการลงทุน สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม 15% แต่เมื่อรวม SSF + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กบข. + กอช. ไม่เกิน 500,000 บาท)
🙆 เหมาะกับใคร
เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
ขอบคุณข้อมูลจาก >> https://bit.ly/3spJ60g
https://bit.ly/3nK3tSd
.
***************************************
ติดตามโปรช่องทางอื่น ไม่ให้ตกโปร
กลับไปดูโปรเก่าๆ ทุกโปร : http://www.tidpro.net
Twitter : http://www.twitter.com/tidpromo
Instagram : https://www.instagram.com/tidpromo
#TIDPRO #ติดโปร #กองทุน #SSF #RMF