กรณีศึกษา LeBron James นักบาสที่ทำธุรกิจ ระหว่างเล่นบาส /โดย ลงทุนแมน
“LeBron James” ถูกยกย่องให้เป็นตำนานบาสเกตบอล NBA
แม้ว่าปัจจุบันเขาก็ยังคงลงสนามแข่งขันอยู่
ซึ่งนอกจากในด้านกีฬาแล้ว รู้หรือไม่ว่าเขายังเป็นเจ้าของและได้เข้าไปลงทุนในอีกหลายธุรกิจ
รวม ๆ กันแล้ว มีมูลค่าระดับหมื่นล้านบาท
แต่กว่าที่เขาจะประสบความสำเร็จทั้งด้านการแข่งขันกีฬาและธุรกิจ
ในวัยเด็ก LeBron James ก็เรียกได้ว่ามีต้นทุนติดลบตั้งแต่เกิด
แล้วเขาเปลี่ยนต้นทุนติดลบให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
LeBron James เกิดในปี ค.ศ. 1984 ที่เมืองเอกรอน รัฐโอไฮโอ
เขาเกิดในขณะที่แม่ของเขามีอายุเพียง 16 ปีเท่านั้น
ส่วนพ่อของเขาก็ติดคุกและไม่เคยได้พบหน้ากันตั้งแต่เด็ก
นอกจากปัญหาของพ่อแม่แล้ว ชีวิตในวัยเด็กของเขาถือว่ามีต้นทุนที่ติดลบกว่าเด็กคนอื่น ๆ อย่างมาก
เริ่มตั้งแต่เมืองที่เขาเกิด..
ในการสำรวจจัดอันดับเมืองที่น่าหดหู่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา
เอกรอน คลีฟแลนด์ และอีกหลายเมืองในรัฐโอไฮโอ มักจะติดอันดับต้น ๆ อยู่เสมอ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดีนัก ปัญหาคอร์รัปชัน ไปจนกระทั่งความล้มเหลวทางการกีฬา
ที่ไม่สามารถคว้าแชมป์ในกีฬาประเภทใดได้เลยมายาวนานกว่า 50 ปี
ชีวิตในวัยเด็กของเขาก็ถือว่าน่าหดหู่ไม่แพ้กัน
ด้วยความที่แม่ของเขาต้องเปลี่ยนงานอยู่บ่อยครั้ง จึงไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายค่าเช่าบ้าน
ทำให้ทั้งแม่และตัวเขาเองในวัย 3 ขวบไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
ต้องคอยอาศัยโซฟาในบ้านของคนรู้จักเป็นที่หลับนอนยาวนานกว่า 6 ปี
ซึ่งก็มีอยู่หลายบ้านด้วยกันที่เขาเคยย้ายเข้าไปอยู่ โดยในปี ค.ศ. 1993 เขาเคยย้ายที่อยู่ 5 ครั้งใน 3 เดือน
ในขณะที่ James เองสมัยเรียนอยู่เกรด 4 ก็เคยขาดเรียนกว่าร้อยวันจากปัญหาสภาพจิตใจและเรื่องรอบตัว
ถึงแม้จะเกิดมาด้วยต้นทุนที่ติดลบ แถมยังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม แต่ความพิเศษหนึ่งที่ติดตัวเขามาด้วยนั่นคือร่างกายที่พิเศษกว่าใคร
ในปี ค.ศ. 1993 James ในวัย 9 ขวบ มีส่วนสูงเกือบเท่ากับแม่ของเขาคือ 165 เซนติเมตร วิ่งเร็วและแข็งแรงถึงขั้นที่เรียกได้ว่าผิดปกติจากเด็กทั่วไป และในตอนนั้นเองที่เขาได้รู้จักกับ Bruce Kelker โค้ชอเมริกันฟุตบอลที่กำลังจะตั้งทีมขึ้นมาแข่งในระดับประถม
ซึ่ง Kelker ได้ดึงตัว James เข้าทีมและอาสารับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่างของเขาและได้ชวนสองแม่ลูกมาอาศัยอยู่บ้านเดียวกันกับเขา
ในปีแรกที่ James ลงแข่ง เขาทำทัชดาวน์ไปถึง 17 ครั้งภายใน 6 เกมที่ลงแข่งขัน ความสามารถและร่างกายของเขาโดดเด่นถึงขนาดที่ว่าโค้ชของทีมตรงข้ามต้องขอดูสูติบัตรเพราะสงสัยว่า James อาจจะโกงอายุเพื่อลงมาเข้าแข่งขัน
ต่อมา James และแม่ของเขามีความจำเป็นต้องย้ายบ้านอีกครั้งและตัวเขาได้ย้ายไปอยู่กับเพื่อนของโค้ช Kelker ที่ได้กลายมาเป็นโค้ชสอนบาสเกตบอลคนแรกของเขาชื่อ “Frankie Walker”
James จึงได้เรียนรู้การเล่นบาสเกตบอล และด้วยวินัยที่ยอดเยี่ยม บวกกับความตั้งใจในการฝึกซ้อม ฝีมือการเล่นบาสเกตบอลของ James ก็ได้พัฒนาแบบก้าวกระโดด
ต่อมา ฝีมือและชื่อเสียงของ James เริ่มมีมากขึ้นและโด่งดังไปไกลระดับประเทศ ถึงขนาดที่ว่า ESPN สื่อกีฬายักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาต้องถ่ายทอดสดการแข่งขันระหว่างทีมของเขาและ Oak Hill Academy ซึ่งเป็นทีมเต็งแชมป์ระดับประเทศ
โดยการถ่ายทอดสดครั้งนี้ นับเป็นการถ่ายทอดเกมบาสเกตบอลระดับมัธยมเป็นครั้งแรกของ ESPN ในรอบ 13 ปี และ James ก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวัง เพราะเขาเป็นตัวหลักที่พาทีมเอาชนะทีมเต็งแชมป์ท่ามกลางสายตาของชาวอเมริกันทั่วประเทศ
และแล้ว ช่วงเวลาที่เขาได้กอบโกยเงินจำนวนมหาศาลก็มาถึง
ในปี ค.ศ. 2002 James ในวัย 18 ปีเป็นที่สนใจของสื่อทั่วประเทศ ทั้งดารา นักบาสเกตบอลชื่อดัง หรือแม้แต่ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์เสื้อผ้ากีฬา Nike อย่าง Phil Knight ก็ยังต้องมาดูเขาแข่งที่ข้างสนาม
ในตอนนั้นมีแบรนด์รองเท้ายักษ์ใหญ่ 3 แบรนด์รอที่จะเซ็นสัญญากับเด็กหนุ่มวัย 18 ปีคนนี้ ก่อนที่เขาจะถึงคิวเข้าคัดเลือกสู่ NBA ในปี ค.ศ. 2003 โดยมีทั้ง Adidas Reebok และ Nike ที่เข้าคิวรอเจรจากับ James
ซึ่ง James ก็เรียกได้ว่ามีดีเอ็นเอของความเป็นนักธุรกิจอยู่ในสายเลือดเลยทีเดียว เพราะเขาจะใส่ชุดกีฬาของ Adidas ทุกครั้งที่ไปออกงานของ Nike และจะเลือกใส่ชุดของ Nike ทุกครั้งที่ไปงานของ Adidas ส่งผลให้ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าเขาจะเลือกเซ็นสัญญากับแบรนด์ไหน
ซึ่งวิธีการนี้เองก็ทำให้แต่ละแบรนด์ต่างทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อเจรจากับ James
Adidas เสนอสัญญามูลค่า 1,800 ล้านบาท
Nike เสนอสัญญามูลค่า 2,700 ล้านบาท
Reebok เสนอสัญญามูลค่า 3,450 ล้านบาท พร้อมจ่ายเป็นเช็คเงินสดทันที 300 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม James ต้องการเลือก Nike ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะต้องการเดินตามรอยนักบาสเกตบอลระดับตำนานอย่าง Michael Jordan ที่ได้สร้างธุรกิจแบรนด์ชุดกีฬาเป็นของตัวเองขึ้นมาร่วมกับ Nike
นั่นจึงทำให้ในปี ค.ศ. 2003 เขาตัดสินใจเซ็นสัญญากับ Nike ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีมูลค่ามากกว่าซูเปอร์สตาร์คนดังอย่าง Kobe Bryant ที่ได้สัญญาจาก Nike เสียอีก โดยในปีนั้นมีนักกีฬาเพียง 3 คนทั่วโลก ที่มีรายได้จากสปอนเซอร์มากกว่าเขา
สุดท้ายแล้วการเลือก Nike ในครั้งนั้น ก็นำไปสู่การต่อสัญญาสปอนเซอร์มูลค่ามหาศาลที่คาดการณ์กันว่าสูงถึง 30,000 ล้านบาท ในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งนับเป็นสัญญาตลอดชีพสัญญาแรกของ Nike ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมา
นอกจาก Nike แล้ว หลากหลายแบรนด์ระดับโลกต่างก็ต้องการเซ็นสัญญากับ James อย่างเช่น McDonald’s, Coca-Cola หรือแม้แต่ Intel บริษัทผู้ผลิตชิปคอมพิวเตอร์..
แล้วอะไรกัน ที่ทำให้ James ต่างจากนักกีฬาส่วนใหญ่ ?
หนึ่งในสิ่งที่ทำให้เขาแตกต่างจากนักกีฬาชื่อดังคนอื่น ๆ
ก็คือ James เป็นนักกีฬาที่ชื่นชอบในด้านธุรกิจและการลงทุน
ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2006 หูฟังยี่ห้อ Beats by Dre ได้ถือกำเนิดขึ้น
และผู้ก่อตั้งอย่าง Dr. Dre แรปเปอร์ชื่อดังต้องการร่วมมือกับ James ในการโปรโมตสินค้า
แทนที่ James จะรับเป็นสปอนเซอร์ให้กับบริษัท แต่สิ่งที่ James ทำก็คือเขาได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมในการขอเป็นหุ้นส่วนในบริษัทเข้าไปด้วย
โดยหลังจากได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนกัน James ก็ได้เอาตัวเองเป็นช่องทางการตลาด
ซึ่งในช่วงกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศจีน เขาได้แจกหูฟังให้กับเพื่อนร่วมทีมชาติทุกคนที่ร่วมแข่ง
ทำให้ปรากฏภาพนักกีฬาบาสเกตบอลทีมชาติสหรัฐอเมริกาทั้ง 15 คน ที่ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่บ้านนักกีฬา ตอนซ้อม หรือสถานที่ท่องเที่ยวในเมือง ก็จะมีหูฟัง Beats by Dre คล้องคออยู่เสมอ
จุดนี้เองที่ทำให้หูฟังแบรนด์ Beats by Dre กลายเป็นที่พูดถึงไปทั่วโลกและเมื่อบริษัทถูกซื้อโดย Apple ในปี ค.ศ. 2014 ทำให้ James ได้รับส่วนแบ่งจากการขายกิจการดังกล่าวไปกว่า 900 ล้านบาท
อีกการลงทุนที่น่าสนใจคือ การลงทุนในร้านพิซซาแบรนด์ Blaze Pizza ในปี ค.ศ. 2012
ด้วยเงินลงทุน 30 ล้านบาทในขณะที่ร้านยังมีเพียงแค่ 1 สาขาเท่านั้น
โดยเขาเลือกที่จะไม่ต่อสัญญามูลค่า 450 ล้านบาทกับ McDonald’s
เพื่อที่จะได้นำภาพลักษณ์ของตัวเขาเองมาใช้ในการโปรโมตร้านพิซซาที่เขาลงทุน
ในปี ค.ศ. 2017 Forbes ได้จัดให้ Blaze Pizza คือเชนร้านอาหารที่เติบโตเร็วที่สุดที่เคยมีมา โดยปัจจุบัน Blaze Pizza มีจำนวนสาขากว่า 336 สาขา และมูลค่าเงินลงทุน 30 ล้านบาทของ James ได้เพิ่มกลายเป็น 1,200 ล้านบาทในปัจจุบัน คิดผลตอบแทนเป็น 40 เด้ง ภายใน 5 ปี
และการลงทุนที่สร้างชื่อให้กับ James มากที่สุดก็คือการลงทุนในทีมฟุตบอลลิเวอร์พูล
ในปี ค.ศ. 2011 เป็นช่วงที่ทีมลิเวอร์พูลไม่ได้มีผลงานที่ดีนัก ในขณะที่เจ้าของทีมอย่าง Fenway Sports Group (FSG) บริษัทที่เป็นเจ้าของทีมกีฬาจำนวนมาก ซึ่งก็ต้องการใช้ชื่อของ James ในการโปรโมตแบรนด์และดึงดูดลูกค้าเข้าบริษัท
James จึงยื่นข้อแลกเปลี่ยนนอกเหนือจากค่าตัวแล้ว เขายังต้องการหุ้น 2% ในทีมลิเวอร์พูลอีกด้วย
หลังจากข้อตกลงกับ FSG เสร็จสิ้น James ได้เยี่ยมชมการแข่งขันของลิเวอร์พูลและเขายังได้มอบหูฟัง Beats by Dre รุ่นพิเศษให้กับนักฟุตบอลในทีมอีกด้วย
จากดีลดังกล่าวทำให้หลังจากที่ลิเวอร์พูลได้เป็นแชมป์ในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ก็ทำให้มูลค่าของทีมลิเวอร์พูลในปี ค.ศ. 2019 เพิ่มขึ้นมหาศาล และหุ้น 2% ของเขา ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2,100 ล้านบาท
นอกจากการลงทุนทั้งหมดที่กล่าวมานั้น
พอร์ตการลงทุนของ James ก็ยังมีอีกมากมาย เช่น
- บริษัท Ladder ซึ่งเขาได้ร่วมมือกับ Arnold Schwarzenegger เพื่อร่วมกันสร้างแบรนด์อาหารเสริมคุณภาพสูงสำหรับนักกีฬา และกิจการดังกล่าวก็ได้ถูกซื้อไปโดย Openfit แบรนด์ฟิตเนสชื่อดัง
- บริษัท SpringHill Entertainment บริษัทผลิตภาพยนตร์ สารคดี และรายการโทรทัศน์หลากหลายรายการ และได้รับการประเมินมูลค่าบริษัทกว่า 22,500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า James ถือหุ้นกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัท
- บริษัท Uninterrupted แพลตฟอร์มสื่อทางด้านกีฬา ที่เชื่อมต่อบรรดานักกีฬาชื่อดังกับแฟนคลับผ่านรายการต่าง ๆ มากมายซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก
ปัจจุบัน Forbes ระบุว่า James มีทรัพย์สินราว 25,500 ล้านบาท ซึ่งทำให้ชีวิตของเขานั้นถือได้ว่าประสบความสำเร็จทั้งในด้านกีฬาและธุรกิจเลยทีเดียว
ก็เป็นที่น่าติดตามว่าในอนาคตอาชีพนักกีฬาของ LeBron James จะเป็นอย่างไร
หรือเขาจะเริ่มวางมือจากสนามบาสเกตบอล แล้วเข้าสู่สนามธุรกิจเต็มตัวเมื่อไร
เพราะอีกหนึ่งความฝันของเขาก็คือ “การได้เป็นเจ้าของทีมใน NBA”
ซึ่งด้วยกฎปัจจุบันของ NBA ทำให้เขาที่มีสถานะเป็นนักกีฬายังไม่สามารถเป็นเจ้าของทีมใด ๆ ได้
เรื่องทั้งหมดนี้ของ LeBron James สะท้อนให้เห็นว่าต้นทุนทางชีวิตของเรา
อาจจะมีผลมากกับช่วงชีวิตในวัยเด็กก็จริง แต่หลังจากนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับตัวเราเองมากกว่า
เหมือนกับ James ชีวิตในวัยเด็ก เรียกได้ว่าติดลบ
แต่พอเขาโตขึ้น เขาก็ได้นำความพิเศษทางร่างกายที่ได้รับมา
รวมเข้ากับความมุ่งมั่นตั้งใจฝึกซ้อม จนก้าวขึ้นมาเป็นนักกีฬาระดับโลก และมีส่วนช่วยต่อยอดให้เขาเป็นนักธุรกิจระดับโลกด้วย นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.youtube.com/watch?v=0Qrey_QLSr8
-https://www.espn.com/nba/story/_/id/9825052/how-lebron-james-life-changed-fourth-grade-espn-magazine
-https://tonesanddefinition.com/2018/12/03/the-chosen-one-1-lebron-james/
-https://www.forbes.com/video/6269489945001/heres-how-lebron-james-could-become-a-billionaire-/?sh=2fdd29996486
-https://www.forbes.com/sites/kurtbadenhausen/2017/07/11/lebron-james-backed-blaze-pizza-is-fastest-growing-restaurant-chain-ever/?sh=649f2a5752b2
-https://www.marketwatch.com/story/when-lebron-james-chose-nike-in-2003-he-gave-up-28-million-it-could-end-up-making-him-1-billion-2019-08-29
-https://www.essentiallysports.com/nba-basketball-newsfrom-blaze-pizza-to-liverpool-f-c-the-top-5-businesses-lebron-james-owns/
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過19萬的網紅National Football News,也在其Youtube影片中提到,The Herd | Colin Cowherd SHOCKED Deshaun Watson removes all references to Texans from social media...
「nba references」的推薦目錄:
- 關於nba references 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於nba references 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於nba references 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於nba references 在 National Football News Youtube 的精選貼文
- 關於nba references 在 NBA references - YouTube 的評價
- 關於nba references 在 jaebradley/basketball_reference_web_scraper: NBA Stats API ... 的評價
nba references 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
Axie Infinity เกมเวียดนาม ที่สร้างรายได้หมื่นล้าน ใน 2 เดือน /โดย ลงทุนแมน
เมื่อพูดถึงเกม คนเรามักจะนึกถึงความสนุกสนานและความเพลิดเพลินอยู่เสมอ
ยกตัวอย่างเช่น The Sims เกมใช้ชีวิตบนโลกจำลองสุดหรรษา ที่เราจะสามารถออกแบบชีวิตอย่างไรก็ได้ หรือ Among Us เกมหนีตายจากฆาตกรที่แฝงตัวในกลุ่มเพื่อนของเรา
แต่ปัจจุบัน ก็ได้มีเกมประเภทใหม่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยไม่ได้มีจุดมุ่งหมายมอบความสนุกสนานเท่านั้น แต่สร้างขึ้นมาให้ผู้เล่นสามารถสร้างรายได้ ได้เช่นกัน
หนึ่งในเกมประเภทนี้ ที่กำลังเป็นกระแสชื่อว่า “Axie Infinity” ที่ให้ผู้เล่นนำมอนสเตอร์มาสู้กัน
เช่นเดียวกับโปเกมอน เพื่อชิงทรัพยากรต่าง ๆ ภายในเกมและเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี
โดยทั้งทรัพยากรและคริปโทเคอร์เรนซีที่เราได้ เราก็สามารถนำไปขายต่อเป็นสกุลเงินจริงได้
จุดนี้เอง ก็ได้ทำให้ Axie Infinity กลายมาเป็นกระแสทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย
แล้ว Axie Infinity มีโมเดลอย่างไร
และได้รับความนิยมขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Axie Infinity ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2018 โดยบริษัทสตูดิโอเกมสัญชาติเวียดนาม
ชื่อว่า “Sky Mavis” ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก 2 นักธุรกิจชาวอเมริกัน
นั่นก็คือ Mark Cuban มหาเศรษฐีเจ้าของทีมบาสเกตบอล NBA และ Alexis Ohanian ผู้ก่อตั้ง Reddit
Axie Infinity เป็นเกมที่ถูกสร้างและพัฒนาอยู่บนเครือข่ายบล็อกเชน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจการพัฒนารูปแบบการเล่นมาจากโปเกมอนของ Nintendo
ซึ่งรูปแบบที่ว่านั้นก็คือผู้เล่นจะต้องเลี้ยงดู ฝึกฝน จับคู่ผสมพันธุ์มอนสเตอร์ชื่อ “Axie” ไปเรื่อย ๆ แล้วนำไปสู้กับผู้เล่นคนอื่น เพื่อที่จะได้ชิงโทเคนชื่อว่า Smooth Love Potion หรือ SLP
โดย SLP มีความสำคัญสำหรับการเล่นเกมนี้เป็นอย่างมาก เพราะผู้เล่นสามารถนำไปใช้ในการผสมพันธุ์ Axie ใหม่ เพื่ออัปเกรดให้มันมีพลังการต่อสู้มากขึ้น
และเมื่อเราได้ตัวมอนสเตอร์ใหม่ที่มีพลังมากขึ้น
โอกาสที่เราจะเอาชนะการต่อสู้ได้จึงมากขึ้น
นำไปสู่โอกาสที่จะได้รับ SLP มากขึ้น ตามไปด้วย
ทั้งหมดนี้ จึงเกิดเป็น Ecosystem ของ Axie Infinity ในปัจจุบัน
นอกจาก SLP แล้ว Axie Infinity ยังมีอีกเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีหนึ่งที่จะแจกเป็นรางวัล
เรียกว่า Axie Infinity Shards หรือ AXS ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ SLP แต่มีความพิเศษกว่า
โดยพิเศษตรงที่เหรียญจะมีอยู่อย่างจำกัดและมีหลักการเดียวกันกับ Governance Token บนแพลตฟอร์ม DeFi ทำให้ผู้เล่นที่ถือเหรียญ สามารถโหวตเปลี่ยนแปลงนโยบายต่าง ๆ ในแพลตฟอร์มได้อีกด้วย
นั่นจึงส่งผลให้เหรียญ SLP และ AXS กลายเป็นที่ต้องการของผู้เล่น จนเกิดการซื้อขายด้วยเงินจริงขึ้นมานั่นเอง
หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ที่วงการเกมจะมีการซื้อขายไอเทม ด้วยเงินจริง แต่ที่ Axie Infinity ทำแตกต่างจากเกมอื่น ๆ นั่นก็เพราะว่าพวกเขาได้สร้าง Marketplace สำหรับซื้อขายสิ่งต่าง ๆ ภายในเกมขึ้นมาเป็นของตัวเองเลย
ในขณะที่เกมอื่น ผู้เล่นต้องทำการเจรจาซื้อขายตัวต่อตัวกันเอง
ความสะดวกสบาย รวมถึงความปลอดภัยจึงค่อนข้างแตกต่างกัน
จากเหตุผลเหล่านี้ นำไปสู่การดึงดูดผู้คนทั่วไปที่ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเกมเมอร์ ให้เข้ามาร่วมเล่นเกมด้วยเพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเอง ซึ่งโมเดลธุรกิจแบบนี้ถูกเรียกว่า “Play to Earn” หรือยิ่งเล่น ยิ่งมีโอกาสในการหารายได้
อย่างไรก็ตาม การจะเข้าเล่นเกม Axie Infinity ใช่ว่าเราสามารถเข้าไปเล่นได้ทันที
ผู้เล่นจำเป็นต้องมีเงินทุนก้อนหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อเหล่ามอนสเตอร์สำหรับเล่นไว้ถึง 3 ตัวก่อน
ซึ่งมอนสเตอร์ที่พอเล่นได้ มีราคาเฉลี่ยตัวละ 6,500 บาท
หากซื้อขั้นต่ำ 3 ตัว รวมค่าใช้จ่ายแล้วจะอยู่ที่ 19,500 บาทเลยทีเดียว
แน่นอนว่ามูลค่าดังกล่าวนับเป็นเงินก้อนใหญ่สำหรับใครหลายคน
มันจึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้คนที่ต้องการเข้ามาเล่นเกมอย่างมาก
ผู้คนจำนวนหนึ่งที่มีเงินทุนหนาแต่ไม่ค่อยมีเวลา เลยก่อตั้ง Scholar หรือให้ทุนแก่ผู้คนที่ไม่มีเงินทุนเพียงพอ สามารถเข้ามาเล่นได้ โดยจะมีมอนสเตอร์เตรียมไว้ให้พร้อมเริ่มเกมครบ 3 ตัว
ส่วนผลตอบแทนจากการเล่นจะแบ่งตามที่ตกลงกันเอง
ปัจจุบันประเทศที่ผู้คนกำลังนิยมเล่นเกม Axie Infinity มากที่สุดคือ ประเทศฟิลิปปินส์
รองลงมาคือ ประเทศเวเนซุเอลา เมื่อรวมจำนวนผู้เล่นจากสองประเทศนี้จะคิดเป็น 45% ถึง 50% ของผู้เล่นทั้งหมด
หากสังเกตจากข้อมูลจะพบว่า ผู้เล่นส่วนใหญ่นั้นมาจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
เหตุผลเพราะว่า พวกเขาต้องพยายามหารายได้ เพื่อชดเชยจากการลดลงของค่าจ้างหรือตกงาน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
ซึ่งต่างจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีรัฐสวัสดิการคอยช่วยเหลือผู้คนเพียงพออยู่แล้ว
ผู้คนในประเทศเหล่านั้น จึงไม่ต้องขวนขวายหางานเสริมเพิ่มหรืองานใหม่เช่นเดียวกัน
Vincent Gallarte ชาวฟิลิปปินส์ วัย 25 ปี คือตัวอย่างที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ฮิตได้อย่างชัดเจน
ก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นพนักงานไอทีของบริษัทแห่งหนึ่ง แต่ถูกไล่ออกจากสถานการณ์โควิด 19
ต่อมา Gallarte ได้รับการบอกต่อเรื่อง Axie Infinity ว่าเป็นเกมที่สามารถสร้างเงินได้ จากญาติและเพื่อนฝูง เขารู้สึกสนใจทันที แต่ด้วยความที่เป็นคนว่างงาน จึงติดปัญหาตรงที่ไม่มีเงินทุนเพียงพอนัก
โชคดีที่มี Scholar ทุนสำหรับให้ผู้เล่นจากเหล่าสปอนเซอร์
ทำให้เขาสามารถเข้าร่วมเล่นเกมได้ในที่สุด
ภายในเวลาเพียงแค่ 2 สัปดาห์ เขาสามารถสร้างรายได้ถึง 24,000 บาทหรือ 3 เท่าจากเงินเดือนเดิมที่เคยได้รับ ส่วนสปอนเซอร์ก็คืนทุนได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่เดือน
เรื่องราวเหล่านี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนสามารถผลักดันให้ผู้เล่นเติบโตอย่างรวดเร็ว
จากเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว Axie Infinity มีผู้เล่นเพียง 7,500 คนเท่านั้น
แต่ปัจจุบันกลับมีผู้เล่นแตะยอด 1 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และจากผู้เล่นที่มากขึ้นก็ส่งผลให้เหรียญ AXS มีมูลค่าตลาดทั้งหมดที่ 142,111 ล้านบาท
ส่วนโทเคน SLP มีมูลค่าตลาดทั้งหมดที่ 9,100 ล้านบาท
นอกจากราคาพวกเหรียญแล้ว ราคาตัวละครและที่ดินภายในเกมก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
ราคาสูงสุดของเจ้ามอนสเตอร์อยู่ที่ 4.3 ล้านบาท
ขณะที่ราคาที่ดินเคยแตะสูงสุดที่ 49 ล้านบาทเลยทีเดียว
แน่นอนว่าความนิยมอย่างนี้ส่งผลให้ 2 เดือนล่าสุด เจ้าของเกมอย่าง Sky Mavis สร้างรายได้จากการขายไอเทมภายในเกม รวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ถึง 1.7 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม มีคนวิเคราะห์ว่า ธุรกิจแบบ Axie Infinity นั้นจะไม่มั่นคงในระยะยาว
เนื่องจากผู้เล่นต้องจ่ายเงินหลายหมื่นบาทล่วงหน้าเพื่อเล่น โดยที่ยังไม่รู้ว่าเกมนี้เกี่ยวกับอะไร
หากวันข้างหน้าเกมได้รับความนิยมลดลง โอกาสที่ผู้คนจะยอมจ่ายก็คงยากขึ้นตามเช่นกัน
อีกเรื่องที่น่าคิดต่อว่า หากวันหนึ่งเกมได้รับความนิยมเล่นน้อยลงกว่าเดิม
สุดท้ายแล้วผู้คนจะยังให้มูลค่าแก่เหล่ามอนสเตอร์และเหรียญในเกมอีกต่อไปหรือไม่
ดังนั้นสิ่งที่ Sky Mavis ควรทำต่อ คงไม่ใช่แค่การจูงใจผู้คนด้วยเงินเท่านั้น
แต่ต้องพัฒนาเกมให้มีความสนุกสนานและสมดุลควบคู่ไปด้วย
เพื่อเป็นการการันตีให้แน่ใจว่ามูลค่าสมมติที่ถูกสร้างขึ้นมา
และทุกคนกำลังเชื่อมั่น ณ วันนี้ จะอยู่ต่อไปได้ ในระยะยาว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://coinmarketcap.com/currencies/axie-infinity/
-https://coinmarketcap.com/currencies/smooth-love-potion/
-https://theconversation.com/axie-infinity-online-games-where-people-earn-as-they-play-are-transforming-gaming-164881
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-08-25/axie-infinity-how-game-is-turning-pandemic-jobless-into-crypto-nft-traders
-https://restofworld.org/2021/axie-infinity/
-https://cryptobriefing.com/axie-infinity-revenue-jumped-another-85-august/
nba references 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
วิวัฒนาการ NBA จากลีกบาสเกตบอลไม่มีคนดู สู่ธุรกิจ 2 ล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงลีกการแข่งขันบาสเกตบอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คงหนีไม่พ้น “NBA” ลีกบาสเกตบอลของสหรัฐอเมริกา
ที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 72 ปี
รู้หรือไม่ว่าฤดูกาลแข่งขันปี 2019/2020 NBA มีรายได้ 2.4 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับเมื่อ 9 ปีที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ Forbes ยังได้ประเมินว่าทีมบาสเกตบอล
ที่อยู่ในการแข่งขัน NBA ทั้ง 30 ทีม มีมูลค่าตลาดรวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท
แล้ว NBA มีกลยุทธ์อย่างไร
และปัจจัยใดที่ทำให้ความนิยมของ NBA
เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
NBA ย่อมาจาก National Basketball Association ก่อตั้งขึ้นในปี 1949
โดยเป็นการรวมตัวกัน ระหว่างลีกบาสเกตบอลของสหรัฐอเมริกา 2 ลีก
คือ Basketball Association of America (BAA) ก่อตั้งในปี 1946
และ National Basketball League (NBL) ก่อตั้งในปี 1937
แม้ในปัจจุบัน NBA จะมีทีมบาสเกตบอลถึง 30 ทีม
แต่ในช่วงเริ่มแรกนั้น NBA มีทีมบาสเกตบอลทั้งหมดเพียง 17 ทีม
แถมในช่วงเริ่มต้น NBA ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
เพราะในปี 1955 มีทีมบาสเกตบอลแข่งขันกันเพียง 8 ทีมเท่านั้น
แต่สิ่งที่ทำให้ NBA กลับมาเป็นที่นิยม และกลับมาเติบโตได้
มาจากการปรับโครงสร้างการแข่งขันขึ้นใหม่
เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาการแข่งขัน
ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มเขตทำคะแนน 3 แต้ม
จากเดิมที่มีการทำคะแนนได้เพียง 2 แต้มต่อการชูตลง 1 ลูกเท่านั้น
ซึ่งลูก 3 แต้มนี้ทำให้เกิดความหลากหลายและรูปแบบการเล่นใหม่เข้ามาในเกม
หรืออีกกฎที่เพิ่มเข้ามาคือ การเพิ่มระบบ “Shot Clock”
ที่กำหนดเวลาในการครอบครองบอลของแต่ละฝั่ง
ทำให้แต่ละทีมต้องรีบทำคะแนนภายในเวลาที่กำหนด
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้เกมการแข่งขันมีความรวดเร็ว
มีรูปแบบที่กระตุ้นให้นักกีฬาต้องแข่งกันทำแต้มตลอดเวลา
ส่งผลให้เกมดูสนุกและตื่นเต้นมากขึ้น และผู้ชมก็เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ อีกหนึ่งในโครงสร้างของ NBA ที่แตกต่างจากลีกกีฬาอื่น
คือรูปแบบโมเดลธุรกิจของ NBA ที่สร้างความมั่นคงให้กับทุกทีมที่มีส่วนร่วม
และลดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบระหว่างกัน
เช่น การเลือกตัวนักกีฬาหน้าใหม่เข้าทีมหรือการดราฟต์
ด้วยระบบที่เน้นให้โอกาสกับทีมที่ทำผลงานได้ไม่ดี
มีโอกาสในการคว้าตัวนักกีฬาอันดับต้น ๆ ในระบบดราฟต์ มากกว่าทีมที่มีผลงานดี
โดยปัจจุบัน 3 ทีมที่มีผลงานแย่สุด จะมีโอกาสเท่ากันที่ 14% ที่จะคว้าสิทธิ์ดราฟต์อันดับ 1
ซึ่งสิทธิ์ดราฟต์ที่แต่ละทีมได้มา สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาแลกเปลี่ยน
ตัวนักกีฬาระหว่างทีมได้อีกด้วย
นอกจากการรักษาสมดุลระหว่างผู้เล่นในแต่ละทีม
NBA ก็ยังได้กำหนดเพดานค่าจ้างนักกีฬาของแต่ละทีม
โดยมีระบบการคำนวณมาจากรายได้รวมของลีก
ทำให้แต่ละทีมมีเพดานสำหรับการจ่ายค่าจ้างเท่ากัน และหากทีมใดจ้างนักกีฬาเกินเพดานที่กำหนด
จะต้องเสียภาษีเพดานค่าจ้างในอัตราที่สูงมาก ระบบนี้จึงกลายมาเป็นการป้องกันการซื้อตัวนักกีฬาดังไม่ให้ไปอยู่รวมกันภายในทีมเดียวมากเกินไป
อีกระบบที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระบบการคำนวณรายได้มวลรวมของลีก
เป็นระบบที่ช่วยการกระจายรายได้ของแต่ละทีม
โดยทุกทีมจะต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งมารวมกันและเฉลี่ยไปยังทีมอื่นเท่า ๆ กัน
เพื่อเป็นการปรับช่องว่างรายได้ ระหว่างทีมที่อยู่ในตลาดขนาดเล็กและใหญ่
เช่น LA Lakers ที่อยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีประชากรเกือบ 4.0 ล้านคน
กับทีม Phoenix Suns ที่อยู่ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา ซึ่งมีประชากรเพียง 1.6 ล้านคน
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ทีม อยู่ในเมืองที่มีฐานประชากรห่างกันมาก และส่งผลต่อรายได้ของทีม
แต่ระบบของ NBA จะทำให้ทีมที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับเงินอุดหนุนจำนวนหนึ่ง
จากทีมที่มีรายได้มากกว่าเกณฑ์
ทั้งนี้ทีมขนาดเล็กก็ต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 70% ของรายได้เฉลี่ยที่แบ่งกันในแต่ละทีม จึงจะสามารถรับส่วนแบ่งได้เต็มอัตรา เพื่อเป็นการจูงใจและผลักดันให้ทีมขนาดเล็กปรับปรุงและพัฒนาทีมอยู่ตลอดเวลา
เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างถูกสร้างสรรค์และออกแบบมาอย่างดีแล้ว
ก็ส่งผลให้ความนิยมและรายได้ของ NBA เพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ทีนี้เรามาดูกันว่าการหารายได้ของ NBA เป็นอย่างไร ?
NBA เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของความหลากหลายของช่องทางการหารายได้
ซึ่งก็คือการกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้เพียงไม่กี่ช่องทาง
โดยรายได้หลักของ NBA มาจาก 4 ช่องทางด้วยกันคือ
1. ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด
รายได้ส่วนนี้ ถือเป็นรายได้หลักของ NBA ซึ่งในปี 2016 NBA ได้มีการเซ็นสัญญากับสื่อกีฬายักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง ESPN และ Turner Sports ด้วยสัญญา 9 ปี มูลค่าราว 720,000 ล้านบาท
หรือเฉลี่ยปีละ 80,000 ล้านบาท สำหรับการถ่ายทอดสดการแข่งขันของ NBA
โดยสัญญานี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 180% จากสัญญาเดิมที่ได้ 29,000 ล้านบาทต่อปี
และแต่ละทีมสามารถเซ็นสัญญาถ่ายทอดสดกับสื่อท้องถิ่นได้อีกด้วย
นอกจากนี้ NBA ยังมีระบบสตรีมมิง ชื่อว่า NBA League Pass ที่ให้ผู้ชมสามารถเลือกซื้อได้ทั้งแบบ รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ทำให้ผู้ชมทั่วโลกสามารถรับชมการแข่งขันได้แบบถูกลิขสิทธิ์
2. ลิขสิทธิ์ทางด้านสินค้าและการสนับสนุนจากสปอนเซอร์
ถึงแม้จะไม่ใช่รายได้ที่มีสัดส่วนที่มาก แต่ก็มีสินค้าหลากหลายแบรนด์ที่พร้อมจะร่วมสนับสนุนกับ NBA
อย่างเช่น การซื้อป้ายโฆษณาบนเสื้อนักกีฬา ซึ่งป้ายดังกล่าวมีขนาดประมาณบัตรประชาชนเท่านั้น แต่กลับมีมูลค่าที่สูงมาก
ในปี 2019 ป้ายแบรนด์เหล่านี้ทำรายได้ให้กับ NBA กว่า 4,500 ล้านบาท
อย่างเช่น Rakuten แบรนด์ E-commerce จากญี่ปุ่น ที่ยอมจ่ายถึง 600 ล้านบาทต่อปี
ให้กับทีม Golden State Warriors เพื่อซื้อโฆษณาบนเสื้อดังกล่าว
หรือจะเป็นสัญญากับ Nike แบรนด์เสื้อผ้ากีฬาอันดับหนึ่งของโลก
ที่ยอมจ่าย 30,000 ล้านบาทให้กับ NBA เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่ายชุดบาสเกตบอลของ NBA ทั้ง 30 ทีมเป็นระยะเวลา 8 ปี ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าของสัญญาเดิมที่เคยทำร่วมกับ Adidas
และ Nike จะต้องจ่ายค่าเครื่องแต่งกายของนักกีฬาใน NBA เป็นมูลค่ากว่า 3,750 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคาดว่ามากกว่าที่ Adidas เคยจ่ายให้ถึงเท่าตัว เช่นกัน
3. รายได้จากการจำหน่ายตั๋วเข้าชมในสนาม
น่าแปลกใจที่รายได้ส่วนนี้กลับไม่ใช่รายได้หลักของแต่ละทีม เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ชมสามารถรับชมผ่าน ระบบออนไลน์ได้ทุกที่ แต่มีรายงานว่าในฤดูกาล 2019/2020 ค่าใช้จ่ายในการเข้าชมการแข่งขัน 1 เกมสำหรับครอบครัว 4 คน ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายหลัก ๆ เช่น ค่าตั๋ว ค่าที่จอดรถ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตกเฉลี่ยเกมละ 13,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.5% จากฤดูกาลก่อนหน้า
4. รายได้จากต่างประเทศ
NBA ได้มีการขยายตลาดไปยังต่างประเทศมาหลายปีแล้ว และได้กลายมาเป็นรายได้สำคัญของลีก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งมีการประเมินว่า NBA มีรายได้จากประเทศจีนปีละกว่า 15,000 ล้านบาท ตัวเลขนี้รวมถึงดีลระหว่าง NBA กับ Tencent บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนด้วยสัญญา 5 ปี 45,000 ล้านบาท
ในการเป็นพาร์ตเนอร์ที่ได้รับสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันจาก NBA เพียงรายเดียวในจีน
และกลยุทธ์สำคัญที่ผลักดันให้ NBA สามารถขยายไปยังต่างประเทศได้
ก็คือการเปิดรับนักกีฬาต่างชาติเข้ามาในลีกมากขึ้น โดยในฤดูกาล 2019/2020 มีจำนวนนักกีฬาที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันกว่า 108 คน จาก 38 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น 4 เท่าของฤดูกาล 1994/1995
กลยุทธ์นี้ได้ช่วยเพิ่มฐานคนดูของ NBA ในต่างแดน เพราะสำหรับบางประเทศที่กีฬาบาสเกตบอลยังไม่เป็นที่นิยม และไม่มีทีมที่คุ้นเคยไว้ตามเชียร์ คนดูก็สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเชียร์นักกีฬาของประเทศตัวเอง
ถึงตรงนี้ก็คงบอกได้ว่า NBA คือองค์กรที่มีโมเดลธุรกิจที่หลากหลาย
เป็นตัวอย่างขององค์กรที่พร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
และกระตุ้นให้มีการแข่งขันกันเองภายในลีกอยู่ตลอดเวลา
นำมาซึ่งผลงานที่น่าประทับใจแก่คนดูและเจ้าของทีมเอง
ก็เป็นที่น่าติดตาม ว่าถ้าหาก NBA เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
จะมีมูลค่าเท่าไร และในอนาคตจะมีอะไรใหม่ ๆ มาให้เราได้ศึกษา
แต่ดูเหมือนว่าทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นอกจากจะทำให้ผู้ชื่นชอบบาสเกตบอลสนุกขึ้นแล้ว
มันก็ยังได้กลายมาเป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่ง จน NBA สามารถเติบโต
จากวันที่เหลือเพียง 8 ทีมในปี 1955 จนกลายมาเป็นธุรกิจ
ที่มีมูลค่าตลาด 2 ล้านล้านบาทไปแล้ว นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Joseph Tsai ผู้ร่วมก่อตั้งและรองประธานบริหารของ Alibaba Group
ได้เข้าซื้อทีม Brooklyn Nets ในปี 2019 ด้วยจำนวนเงิน 70,500 ล้านบาท
ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การซื้อทีมกีฬาของสหรัฐอเมริกา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/articles/investing/070715/nbas-business-model.asp
-https://www.investopedia.com/articles/personal-finance/071415/how-nba-makes-money.asp#citation-9
-https://www.forbes.com/sites/kurtbadenhausen/2021/02/10/nba-team-values-2021-knicks-keep-top-spot-at-5-billion-warriors-bump-lakers-for-second-place/?sh=2ea4a89645b7
-https://www.statista.com/statistics/193467/total-league-revenue-of-the-nba-since-2005/
-https://www.nba.com/news/nba-rosters-feature-108-international-players-2019-20
-https://bleacherreport.com/articles/1039092-nba-revenue-sharing-small-market-teams-to-benefit-from-new-sharing-structure
-https://nba.nbcsports.com/2015/06/10/nike-to-replace-adidas-as-official-maker-of-nba-uniforms-apparel/related/
-https://www.netsdaily.com/2019/8/15/20806783/with-joe-tsai-purchase-confirmed-nets-incredible-summer-continues
-https://www.history.com/this-day-in-history/nba-is-born
nba references 在 National Football News Youtube 的精選貼文
The Herd | Colin Cowherd SHOCKED Deshaun Watson removes all references to Texans from social media
nba references 在 jaebradley/basketball_reference_web_scraper: NBA Stats API ... 的推薦與評價
NBA Stats API via Basketball Reference. Contribute to jaebradley/basketball_reference_web_scraper development by creating an account on GitHub. ... <看更多>
nba references 在 NBA references - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>