หากคุณกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ว่าธุรกิจของเรากำลังไปได้สวย ยอดขายก็ดี แต่ทำไมยังไม่มีเงินเก็บสักทีอยู่หรือไม่ อย่าพึ่งกลุ้มใจไป เพราะนี่เป็นสิ่งที่พ่อค้าแม่ขายทุกคนต่างต้องเคยเจอ เพียงแค่คุณต้องรีบตอบคำถาม 5 ข้อ ต่อไปนี้ให้ได้ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ได้อย่างทันท่วงที
.
1. ตั้งราคาต่ำเกินไปหรือเปล่า?
ปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่มักต้องเผชิญก็คือการไม่รู้ว่าตัวเองควรจะตั้งราคาสินค้าเท่าไหร่ กังวลว่าถ้าตั้งแพงไปก็จะไม่สามารถสู้กับร้านอื่นได้ ส่วนมากจึงเน้นไปที่การตั้งราคาต่ำๆ ไว้ก่อน จนลืมคำนึงไปถึงว่าราคาที่ขายไปนั้นเมื่อหักลบกับต้นทุนแล้วจะเหลือสักกำไรเท่าไหร่ นอกจากต้นทุนที่ผลิตออกมาเป็นสินค้าต่างๆ แล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะลืมคำนวณไปถึงต้นทุนอื่นๆ ที่ไม่ว่าจะเป็น ค่าเดินทาง ค่าส่งของ ค่าเช่าร้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจิปาถะต่างๆ ที่จริงๆ แล้วควรจะต้องนำมาหักลบลงไปในต้นทุนด้วย เพราะหากคำนวณราคาว่าได้กำไรแล้ว สุดท้ายต้องมาเสียเงินให้กับค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว อย่าว่าแต่กำไรเลย เผลออาจจะขาดทุนเลยก็ได้ ดังนั้นอย่าเน้นแค่จะขายของถูกให้ได้เยอะ แต่เมื่อขายแล้วต้องได้กำไรด้วย
.
2. ไม่จัดระเบียบและเช็คสต็อกสินค้าหรือเปล่า?
หลายครั้งที่ธุรกิจประเภทซื้อมาขายไปมักตุนสต็อกสินค้าไว้ในปริมาณเยอะๆ เพื่อที่เวลาลูกค้าสั่งของมาจะได้ขายได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอ แต่กลับลืมจัดระเบียบและเช็คสต็อกสินค้า ทำให้เกิดปัญหากำไรจมไปกับสต็อก พอสินค้าชิ้นไหนขายดีจนหมดก็สั่งเข้ามาเติมในสต็อกใหม่ แต่สินค้าชิ้นที่ขายไม่ได้ก็ยังอยู่ในสต็อกเหมือนเดิม และสินค้ากลุ่มนั้นก็คือเงินที่เราได้ลงทุนไปแต่ไม่ได้กำไรกลับมานั่นเอง ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือต้องจัดระเบียบแยกสต็อกสินค้าเป็นหมวดหมู่ว่ามีกี่ชิ้นกี่แบบ และเมื่อทำเช่นนี้ก็จะทำให้เห็นว่าสินค้าชิ้นใดขายดีและสินค้าชิ้นใดขายไม่ดี เวลาจะสั่งสินค้าล็อตใหม่ก็จะได้เลือกสั่งเฉพาะที่ขายได้ดี รวมไปถึงการหาทางระบายสินค้าที่ค้างสต็อกออกไป อาจจะขายครึ่งราคาหรือพอแค่คืนทุน เพื่อที่จะได้นำเอาเงินส่วนนั้นมาลงทุนซื้อสินค้าตัวอื่นเพิ่มขึ้นได้ต่อไป
.
3. ลืมแบ่งเงินเดือนให้ตัวเองหรือเปล่า?
เป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของธุรกิจรายเล็กทุกคนมักมองข้าม เพราะมัวแต่คิดแค่ว่ากำไรเหลือเท่าไหร่ทั้งหมดนั้นก็ค่อยเก็บ แต่ไม่เลยทุกท่านควรที่จะตั้งเงินเดือนของตัวเองไว้ตั้งแต่ต้น เหมือนกับเป็นรายจ่ายที่ต้องจ่ายประจำในทุกเดือน โดยส่วนมากควรจะตั้งไว้อยู่ที่ 10% ของยอดขายที่ได้ ส่วนที่เหลือให้เก็บเอาไว้เป็นเงินหมุนของธุรกิจ แต่ถ้าหากทั้งปีทำกำไรได้เยอะก็อาจจะให้โบนัสตัวเองเป็นของขวัญสักหน่อยก็ไม่เสียหาย และที่สำคัญควรแยกกระเป๋าเงินส่วนตัวกับธุรกิจให้ชัดเจน จนเมื่อเงินส่วนไหนขาดก็หยิบกันไปกันมาปนกันมั่วไปหมดจนไม่มีกระเป๋าไหนที่มีเงินสำรองเลยจริงๆ เรื่องนี้ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเจ๊งมานักต่อนักแล้ว
.
4. ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายบ้างไหม?
หลายครั้งที่คุณไม่รู้ว่าเงินที่ได้มานั้นหายไปกับค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้างนั่นเพราะคุณละเลยที่จะทำบัญชีรายรับรายจ่าย ดังนั้นจึงควรที่จะเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างละเอียดรวมถึงแยกรายการของส่วนตัวและธุรกิจออกจากกัน และควรที่จะเก็บเอกสารทุกอย่างเอาไว้ให้ดี พอทำเช่นนี้ก็จะทำทราบได้ว่าจุดไหนที่มีปัญหาและควรแก้ไข ค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็นและควรที่หาทางลดหรืองดไป นอกจากนี้การทำบัญชีและเก็บเอกสารไว้อย่างละเอียดจะช่วยให้คุณสามารถเคลียร์เรื่องภาษีได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย
.
5. ปล่อยเครดิตจนขาดกระแสเงินสดหรือเปล่า?
ธุรกิจหลายเจ้ามักมีการปล่อยเครดิตให้ลูกค้า อาจจะ 30 หรือ 60 วันเป็นต้น จุดนี้แหละเป็นการแข่งขันเพื่อซื้อใจลูกค้า เพราะยิ่งให้เครดิตลุกค้าก็จะสบายใจว่าทำธุรกิจด้วยแล้วไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเลยแต่สามารถรอไปได้อีก 1 – 2 เดือน แต่นอกจากข้อดีเช่นนี้แล้วก็มีข้อเสียตามมาเช่นกัน เพราะหลายครั้งที่มีการปล่อยเครดิตให้ลูกค้ามากเกินไปจนเดือนๆ นึงมีแต่เครดิตติดไว้ แต่ไม่ได้รับเงินสดเลยจริงๆ สักเจ้า แต่ทำอย่างไรล่ะเมื่อค่าใช้จ่ายที่ยังต้องจ่ายอาจจะเป็นเงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องจ่ายเป็นเงินสดเท่านั้น ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาอาจจะต้องมีการกำหนดว่าเดือนนึงจะปล่อยเครดิตให้ลูกค้ากี่เจ้า หรือขั้นต่ำในการให้เครดิตต้องมียอดรวมเท่าไหร่ขึ้นไป สิ่งนี้อาจจะทำให้เสียฐานลูกค้าบ้าง แต่ก็ดีกว่าต้องสูญเสียธุรกิจที่สร้างมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของคุณเอง จริงไหม?
.
สุดท้ายนี้พ่อค้าแม้ค้าหรือผู้ประกอบการท่านใดกำลังเผชิญกับปัญหาที่ยอดขายดี แต่กลับไม่มีเงินเก็บนั้น ก็ลองตอบคำถาม 5 ข้อที่ได้ถามไปข้างต้นและรีบแก้ไขให้ทันท่วงที ถึงแม้ว่าการวางแผนการทำธุรกิจหรือเรื่องเงินอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่ขอให้ค่อยๆ ปรับตัวเพื่อแก้ไขไปทีละนิด เชื่อว่าสถานกาณ์การเงินของธุรกิจทุกท่านจะกลับมาดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
.
ที่มา : https://thaiwinner.com/profit-but-no-cash/
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#Business #ธุรกิจ #ไอเดียธุรกิจ #ขายดีแต่ไม่มีเงินเก็บ #วางแผนการเงิน #การเงิน #การลงทุน #ขาย #ร้านค้าออนไลน์ #ผู้ประกอบการรายย่อย #SME
「ผู้ประกอบการรายย่อย」的推薦目錄:
- 關於ผู้ประกอบการรายย่อย 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
- 關於ผู้ประกอบการรายย่อย 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
- 關於ผู้ประกอบการรายย่อย 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
- 關於ผู้ประกอบการรายย่อย 在 MSMEs News - ผู้ประกอบการรายย่อย คือใคร? ประเด็น... | Facebook 的評價
- 關於ผู้ประกอบการรายย่อย 在 'Full Lockdown' ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยได้จริงหรือ? | HIGHLIGHT 的評價
- 關於ผู้ประกอบการรายย่อย 在 โครงการยกระดับผู้ประกอบการรายย่อย (MSME Step up) คุณศิลาวลัย ... 的評價
ผู้ประกอบการรายย่อย 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
รัฐบาลผุดโครงการ “SME คนละครึ่ง” ช่วยลดภาระค่าบริการทางธุรกิจ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย คาดเริ่มกลางปีนี้!
.
เพราะที่ผ่านมา การขอรับบริการทางธุรกิจต่างๆ มีค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งมันกลายเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ผู้บริโภคและตลาด ส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นต้องผุดมาตรการเพื่อช่วยเหลือและต่อลมหายใจแก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย
.
โดยนายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาลเตรียมตัวเปิดโครงการ “SME คนละครึ่ง” มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ในลักษณะร่วมกันจ่ายกับ SME (Co-payment) สัดส่วนตั้งแต่ 50-80% โดยมีค่าใช้จ่ายที่ขอรับการสนับสนุนได้ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการขอทดสอบผลิตภัณฑ์ จดทะเบียนหรือขอใบรับรองมาตรฐานต่าง ๆ และการปรึกษาทางธุรกิจ เช่น มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกอช.) มาตรฐานอาหารและยา (อย.) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวโครงการกลางปีนี้
.
อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ SME ไทยทุกคน สามารถตัดสินใจเลือกพัฒนาคุณภาพและขอรับมาตรฐานสินค้าและบริการที่ต้องการของอุตสาหกรรมแต่ละรายได้ ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมาตรฐานสากลด้วย
.
ด้านสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า ตอนนี้มีหน่วยงานผู้ให้บริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจ เข้าร่วมกับ สสว. แล้วกว่า 100 หน่วยงาน และคาดว่าจะมีหน่วยงานอื่น ๆ เข้าร่วมเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งหน่วยงานเหล่านั้น จะต้องมีมาตรฐานและมีระดับราคาตามที่กำหนด เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าใช้บริการได้รับประโยชน์เต็มที่ รวมถึงมีทางเลือกที่หลากหลาย
.
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นธุรกิจที่มีการยื่นชำระภาษีและขึ้นทะเบียนสมาชิกกับ สสว. เรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่า การดำเนินการงานในปี 2564 ของ สสว. จะสามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 3,700 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยในทุกมิติ
.
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง มีการหารือเพื่อปรับปรุงโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Softloan) ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เข้าถึงซอฟท์โลนได้ง่ายและมีวงเงินกู้สูงขึ้น รวมทั้งแนวทาง asset warehousing เพื่อช่วยเหลือไม่ใช้ทรัพย์สินธุรกิจที่ยังมีศักยภาพต้องถูกยึดหรือปิดตัวลง ซึ่งรายละเอียดจะนำสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้
.
ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/143321
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#SME #ผู้ประกอบการ #ผู้ประกอบการรายย่อย #Business #สสว #คนละครึ่ง #รัฐบาล #เอสเอ็มอี #มาตรการช่วยเหลือ
ผู้ประกอบการรายย่อย 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
SME ควรอ่านเอาไว้! ธุรกิจมีปัญหาหนี้สินรัดตัว ยื่นฟื้นฟูกิจการช่วยได้ รีบวางแผนให้เร็ว รัดกุม ก็จะสามารถผ่านวิกฤตไปได้ …ในสถานการณ์ที่โควิด-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่นี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการหลายท่าน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง SME ที่มีจำนวนมากอีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย ซึ่งการสั่งปิดสถานที่ประกอบการหลายแห่งส่งผลให้ธุรกิจนั้นเกิดปัญหา ขาดสภาพคล่อง เกิดภาระหนี้สิ้นเพิ่มมากขึ้น หากปล่อยไว้อาจทำให้ไม่สามารถดูแลกิจการต่อได้และเสี่ยงถูกฟ้องล้มละลายได้ในที่สุด แต่อย่าพึ่งกังวลไป เพราะ “การฟื้นฟูกิจการ” สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้
.
การฟื้นฟูกิจการ คือ ทางเลือกหนึ่งของลูกหนี้ที่จะยื่นขอฟื้นฟูกิจการเพื่อช่วยให้ธุรกิจที่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องที่ไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้ ให้สามารถดำเนินการธุรกิจต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น การบินไทย วุฒิศักดิ์คลินิก ที่ยื่นศาลล้มละลายกลาง ขอฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย สำหรับในต่างประเทศก็มีกรณีเช่นนี้เหมือนกันนั่นก็คือ บริษัท MUJI เป็นต้น โดยที่การยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ สามารถยื่นได้ทั้งในกรณีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายแล้ว หรือก่อนที่จะมีการฟ้องให้ล้มละลายก็ได้
.
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การฟื้นฟูกิจการ ไม่ใช่การล้มละลาย เพราะ “การล้มละลาย” คือ การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้จะไม่มีสิทธิกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนเองได้เลย แต่จะเป็นการนำเอาทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งให้กับเจ้าหนี้ตามกระบวนการทางกฎหมาย สำหรับ “การฟื้นฟูกิจการ” คือ เมื่อศาลรับและอนุมัติคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้จะได้รับสภาวะพักการชำระหนี้ และสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ แต่ต้องทำแผนฟื้นฟูกิจการและต้องดำเนินตามแผนระยะเวลาตามแผน 5 ปี และขอขยายได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี โดยจะได้รับความคุ้มครองกิจการและทรัพย์สิน เช่น เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องคดีแพ่งหรือบังคับคดี เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ และห้ามตัดน้ำตัดไฟ เป็นต้น
.
• สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ประกอบไปด้วย เจ้าหนี้, ลูกหนี้, ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.), กรมการประกันภัย และ หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้
• หลักการเบื้องต้นในการขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กฎหมายการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้/ลูกหนี้ ปี 2541 มีเงื่อนไขดังนี้
1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้
2. มีหนี้สินไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
3. มีเหตุอันควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
4. ศาลยังไม่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
5. ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคล หรือ นิติบุคคลเลิกกันด้วยเหตุอื่น หรือศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนนิติบุคคล (ยังไม่ปิดกิจการ)
6. ยื่นคำขอโดยสุจริต
.
ถึงอย่างนั้นด้วยเพดานหนี้ทีต้องมีสูงถึง 10 ล้าน ทำให้โอกาสในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ SME นั้นมีน้อยมาก ทำให้มีการเพิ่มบทบัญญัติเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด และบริษัทจํากัด ก็สามารถขอฟื้นฟูกิจการได้เช่นกัน โดยจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้มีสามารถเป็นเป็นกรณีได้ดังนี้
- กิจการ SME (ขนาดกลางและขนาดย่อม) บุคคลธรรมดา : จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด : จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
- บริษัทจํากัด : จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท
.
สำหรับ SME ในการขอฟื้นฟูกิจการจะมีขั้นตอนที่รวบรัดกว่าปกติ เพราะจากที่ปกติศาลต้องมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการก่อน แต่สำหรับ SME สามารถแนบแผนฟื้นฟูกิจการพร้อมกับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้เลย แล้วหากศาลเห็นชอบกับแผนที่เสนอ ก็จะมีคำสั่ง "ให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน" จากนั้นก็สามารถดำเนินการบริหารธุรกิจตามแผนต่อไปได้เลย
.
ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการ SME ท่านใดที่กำลังประสบปัญหาทางธุรกิจอยู่นั้น กระบวนการขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ SME ก็เป็นอีกตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ นอกจากจะอำนวยความสะดวกต่อลูกหนี้ในการปรับตัวและแก้ไขการดำเนินธุรกิจแล้ว ก็จะส่งผลดีต่อเจ้าหนี้ที่จะได้รับการชำระหนี้อย่าครบถ้วนมากกว่ารับการแบ่งทรัพย์สินจากการล้มลายของธุรกิจ นอกจากนี้รัฐบาลอาจจะต้องมีการเพิ่มและปรับมาตรการในการรองรับการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการจากผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เศรษฐกิจและบ้านเมืองที่กำลังเผชิญอยู่มากขึ้น ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกท่านผ่านพ้นวิกฤตและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นตลอดทั้งปี
.
ที่มา : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/sme-rehabilitation.html
https://www.dharmniti.co.th/business-debtor/
https://www.terrabkk.com/articles/198532/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#SME #เอสเอ็มอี #ผู้ประกอบการรายย่อย #ล้มละลาย #ฟื้นฟูกิจการ #วางแผนการเงิน #วางแผนธุรกิจ #ผ่อนชำระหนี้ #พักชำระหนี้ #หนี้ #การเงิน #ธุรกิจ #ปลดหนี้ #เจ้าหนี้ #ลูกหนี้ #ธนาคารแห่งประเทศไทย #สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ #กรมการประกันภัย
ผู้ประกอบการรายย่อย 在 'Full Lockdown' ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยได้จริงหรือ? | HIGHLIGHT 的推薦與評價
สัมภาษณ์พิเศษ ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SMEs เอาตัวรอดอย่างไรเมื่อโควิด-19 ระลอกใหม่ยังไม่จบ รวมถึงผลกระทบและมุมมองต่อมาตรการเยียวยาของรัฐ ... ... <看更多>
ผู้ประกอบการรายย่อย 在 โครงการยกระดับผู้ประกอบการรายย่อย (MSME Step up) คุณศิลาวลัย ... 的推薦與評價
ประกอบ ธุรกิจ garlicious ข้าวกระเทียมกึ่งสำเร็จรูปความคาดหวัง : ได้ความรู้มากกว่าที่คาดหวัง มีแพลตฟอร์มใหม่ เพื่อใช้พัฒนาตัวเอง. ... <看更多>
ผู้ประกอบการรายย่อย 在 MSMEs News - ผู้ประกอบการรายย่อย คือใคร? ประเด็น... | Facebook 的推薦與評價
3) ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีสถานะเป็นผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนพาณิชย์ แต่ก็มีทั้งที่จัดทำและไม่ได้จัดทำระบบบัญชี ไม่มีรายงานการจ้างงาน ... ... <看更多>