อ่านแล้วอยากไปหา #กระท่อม มาปลูกที่บ้านเลยครับ เผื่อเอาไว้ต้มชาแก้ปวดเมื่อย 55
------
(รายงานข่าว)
ข่าวชาวสงขลานครินทร์
ม.อ. ชี้ผลวิจัยพืชกระท่อม ช่วยรักษาอาการพาร์กินสัน และกำลังศึกษาการใช้เพื่อบำบัดการติดยาเสพติดในอาสาสมัคร
รศ. ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ และ ผศ. ดร.ดาร์เนีย เจ๊ะหะ นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศึกษาพบว่าพืชกระท่อมช่วยต้านอาการซึมเศร้า จากการทดลองและบันทึกคลื่นสมองในหนูทดลอง และได้เผยแพร่ผลการวิจัยไปในระดับนานาชาติ และกำลังเป็นที่สนใจ ขณะนี้ทีมงานกำลังทำการวิจัย ร่วมกับแพทย์ด้านระบาดวิทยา ศึกษาผู้ที่ใช้พืชกระท่อม ในภาคใต้เพื่อบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด
วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ประเทศไทยเริ่มมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2564 ปลดล็อกพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ทำให้สามารถปลูกพืชกระท่อม เอาไว้ครอบครอง สามารถซื้อ ขาย หรือนำมาบริโภคได้อย่างเสรี ไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป และเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ นอกจากนี้ผู้ที่ถูกดำเนินคดี ในความผิดฐานครอบครองพืชกระท่อม ถือว่าไม่ได้ทำความผิด ยกเว้น น้ำต้มใบกระท่อมผสมน้ำอัดลม หรือผสมยาแก้ไอ ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า 4x100 สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ส่วนน้ำอัดลมมีสารคาเฟอีนซึ่งกระตุ้นสมองส่วนกลาง ยาแก้ไอทำให้ง่วงซึม เมื่อนำมาผสมเข้าด้วยกันจะออกฤทธิ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว
ชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้ ใช้ใบกระท่อมในการรักษาอาการและโรคต่างๆ หลายชนิด เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง โดยการเคี้ยวใบสด เคี้ยวครั้งละ 1-3 ใบ และมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อให้สามารถทำงานได้ทนนาน และใช้ทดแทนสารเสพติดชนิดอื่น เช่น ยาบ้า เฮโรอิน
สมบัติทางเภสัชวิทยา พบสารมิตรากัยนิน (mitragynine)
ทีมวิจัยพืชกระท่อมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์กำลังดำเนินงานศึกษาวิจัย เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนมาตรการทางสาธารณสุขและการแพทย์ทั้งในการป้องกันและดูแลรักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจากการใช้พืชกระท่อมและผู้ใช้สารเสพติดชนิดอื่น รวมทั้งในการพัฒนาศักยภาพของพืชสมุนไพรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์อีกด้วย
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 รศ. ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และทีมงานคณะวิทยาศาสตร์ หนึ่งในทีมที่กำลังศึกษาวิจัย พืชกระท่อม เปิดเผยว่า ได้ใช้เวลาถึง 19 ปีที่ศึกษาวิจัย พืชกระท่อม ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นภาคใต้ เมื่อกฎหมายปลดล็อค จะปลูกกี่ต้นก็ได้ เพราะพืชกระท่อมคือสมุนไพร ยิ่งทำให้เกิดความสนใจทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับชาวบ้านในภาคใต้จะกินเพื่อให้ตื่นตัว เพื่อให้ร่างกายพร้อมทำงาน แก้อาการปวดเมื่อย และเพื่อรักษาโรคท้องร่วง
ผลการวิจัยล่าสุดที่เป็นไฮไลต์ ในขณะนี้ คือผลการวิจัยในสัตว์ทดลองที่ชี้ว่า พืชกระท่อม ช่วยต้านอาการซึมเศร้า บรรเทาอาการโรคพาร์กินสันได้ โรคสมองเสื่อมชนิดนี้มีอัตราการเกิดสูงถึง 1 ใน 3 ของโรคสมองเสื่อมทั้งหมด (อันดับหนึ่งคือโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีจำนวน 2 ใน 3) ผลวิจัยนี้นับว่าเป็นความหวังและโอกาสที่จะนำพืชกระท่อมไปใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าได้อีกมาก
การวิจัยในหนูทดลอง ที่ชี้ว่าพืชกระท่อม แก้อาการซึมเศร้าได้ โดยวิเคราะห์จากรูปแบบคลื่นสมองของหนูทดลอง และพฤติกรรมของหนู พบว่าเมื่อให้หนูทดลองว่ายน้ำ หนูที่ได้รับสารจากพืชกระท่อม จะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบแอคทีฟ ไม่เซื่องซึมหรือหยุดนิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัดจากใบกระท่อม ซึ่งจะได้มีการศึกษาในมนุษย์ต่อไป
เนื่องจากมีการกล่าวอ้างในชุมชนที่เสพติดสุรา เฮโรอีน มอร์ฟีนและยาบ้า ว่าสามารถใช้กระท่อมบรรเทาอาการติดยาเสพติดได้ ถึงแม้จะมีการศึกษาเบื้องต้นในสัตว์ทดลองแล้ว แต่ยังไม่มีการยืนยันด้วยการพิสูจน์ที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบมาก่อน ทีมวิจัยจึงได้ร่วมกับ ทีมงานระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ ศ. พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และ ดร.ดาริกา ใสงาม วางแผนทำการศึกษาในผู้ที่ใช้พืชกระท่อม เพื่อบำบัดอาการเสพติด เฮโรอีนและยาบ้า โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ทำการศึกษาผู้ที่เคยเสพยาเสพติดและใช้พืชกระท่อมเพื่อบำบัดอาการเสพติด (เมื่อต้องการเสพ จะเคี้ยวใบกระท่อมลดอาการ) พื้นที่ที่ทำการศึกษา คือที่ อ.จะนะ จ.สงขลา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง และ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง จำนวนประมาณ 90 ราย การวิจัยนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาโครงการวิจัยในมนุษย์ตามหลักจริยธรรมการวิจัยเพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงใดๆ ต่ออาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ และจะไม่มีการให้ผู้ที่ไม่เคยใช้พืชกระท่อมมาก่อนทดลองใช้
https://www.youtube.com/watch?v=BLuY9tzlT54 ชมคลิปเปิดสรรพคุณพืชกระท่อม โดย รศ.ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์
同時也有76部Youtube影片,追蹤數超過19萬的網紅MUSLIMITED,也在其Youtube影片中提到,โควิดระบาด ไปมาเลย์ไม่ได้ พวกเขาเลยต้องหางานทำแถวบ้าน แต่ทำงานแถวบ้านไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด สนับสนุนโดย Mfahmee Talib ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ คณะพย...
「มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์」的推薦目錄:
- 關於มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
- 關於มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
- 關於มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 ติดโปร - PRO addict Facebook 的精選貼文
- 關於มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 MUSLIMITED Youtube 的精選貼文
- 關於มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 MUSLIMITED Youtube 的最佳解答
- 關於มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 Droidsans News Updates Youtube 的最佳貼文
- 關於มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 Prince of Songkla University - Facebook 的評價
- 關於มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - YouTube 的評價
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
จริงๆ เรื่อง "พืชกระท่อม" นี่ผมโพสเชียร์มานานหลายปีแล้วนะครับ ว่าถ้าจะปลดล็อคพืชสารเสพติด น่าจะทำกระท่อมนี้ ก่อนกัญชาด้วยซ้ำ
เพราะมีการวิจัยออกมาจำนวนมากเลยว่า มีความเป็นสารเสพติดน้อย และมีสรรพคุณที่มีประโยชน์ทางยาอยู่เยอะ โดยเฉพาะผลการวิจัยจากฝีมือของรุ่นพี่ผม อาจารย์เอกสิทธิ์ Ekkasit Kumarnsit (รศ.ดร.เอกสิทธิ์ กุมารสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
โดยงานวิจัย ได้พบว่า กระท่อมมีผลในการรักษาโรคอ้วน โรคไขมันเกิน น้ำตาลในเลือดสูง โรคอาการสมองเสื่อมพาร์กินสัน ฯลฯ และสามารถพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน และสร้างมูลค่าให้กับประเทศในอนาคตได้
ลองฟังอาจารย์เขาให้สัมภาษณ์ (ในคลิปข่าว) นะครับ ว่าเมื่อปลดล็อกจาก พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 ยกเลิก "พืชกระท่อม" ออกจากยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 จนทำให้ประชาชนสามารถปลูกและขายได้ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 นี้แล้ว จะเกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
--------
(เพิ่มเติมข้อมูลข่าวเกี่ยวกับ "สรรพคุณของพืชกระท่อม" นะครับ)
#กระท่อม (ชื่อวิทยาศาสตร์:Mitragyna speciosa) เป็นพรรณไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในวงศ์ Rubiaceae
สารสำคัญที่พบในใบกระท่อมคือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่น psilocybin LSD และ ยาบ้า
ทำให้รู้สึกชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงานได้นานและทนมากขึ้น และทนต่อความร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ที่ใช้ใบกระท่อม สามารถทำงานกลางแจ้ง ได้ทนนานขึ้น
กระท่อมออกฤทธิ์ประเภทกระตุ้นประสาท การเสพใบกระท่อมมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น
และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "ถุงท่อม" ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้
สมัยโบราณ กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ เช่น ตำรับยาประสะกระท่อม และบางพื้นที่ก็กล่าวต่อ ๆ กันมาว่า สามารถรักษา บรรเทา โรคเบาหวานได้
กระท่อมเคยจัดเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามความใน พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 7 ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งสิ่งเสพติดในประเภท 5 ได้แก่ กัญชา และพืชกระท่อม
ต่อมาในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2564 ในการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แต่ห้ามขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564
#ประโยชน์กระท่อมต่อสุขภาพ
จากงานวิจัยพบว่าในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวดจะส่งผลต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- ช่วยรักษาอาการไอ
- ช่วยลดการหลั่งกรด
- ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
- ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท
- แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด
- แก้ปวดฟัน
- ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท
- แก้ปวดเมื่อยร่างกาย
- ช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย
- ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก
- เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
- นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลาย ประการ เช่น กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้
- ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด
#ผลข้างเคียงจากการเสพกระท่อมมากเกินไป
- ความอยากอาหารลดลง หรือน้ำหนักลด
- ท้องผูก
- ปัสสาวะบ่อย
- ปากแห้ง
- วิตกกังวล และกระวนกระวายใจ
- เหงื่อออก และคัน
- แพ้แดด หรือผิวหนังมีสีเข้มกว่าเม็ดสีปกติ
- อาการคลื่นไส้ และอาเจียน
- นอนไม่หลับ หรือร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- รู้สึกกระวนกระวาย สับสน
- เห็นภาพหลอน
#ข้อควรระวังและหลีกเลี่ยงการใช้ใบกระท่อม
- สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร
- ผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดสุรา
- ผู้มีความผิดปกติทางจิต
- ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
- กินกระท่อมร่วมกับชุมเห็ดช่วยแก้ท้องผูก หากมีอาการมึนเมา วิงเวียน ซึม จากการกินกระท่อมมากเกิน ให้ดื่มน้ำหรือกินของเปรี้ยว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
ข้อมูลข่าว จาก https://www.tnnthailand.com/news/social/89083/
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 ติดโปร - PRO addict Facebook 的精選貼文
📚 อัพสกิลภาษาอังกฤษฟรีง่ายๆ ที่บ้าน เปิดเรียนเว็บเดียว ได้ความรู้ครบสูตร
✨ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดโอกาสแล้ว สำหรับคนอยากอัปสกิลภาษาอังกฤษของตัวเอง กับคอร์ส สรรสาระภาษาอังกฤษ (Essential English) ที่มาพร้อมความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางไวยากรณ์และคำศัพท์ภาษาอังกฤษ การออกเสียง ทักษะพื้นฐานการฟัง พูด อ่าน และเขียนระดับประโยคและข้อความสั้นๆ โดยทั้งหมดนี้ฟรี! อยู่บ้านว่างๆ แค่เปิดฟังคอร์สนี้ให้ครบ 30 ชั่วโมง บอกเลยว่าสกิลภาษาอังกฤษพุ่งกระฉูดแน่นอน
.
👩🏻💻 เรียนได้ที่ https://bit.ly/3rhHndk
📆 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
#คอร์สเรียนฟรี #คอร์สภาษาอังกฤษ #เรียนภาษาอังกฤษ #TIDPRO #ติดโปร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 MUSLIMITED Youtube 的精選貼文
โควิดระบาด ไปมาเลย์ไม่ได้ พวกเขาเลยต้องหางานทำแถวบ้าน แต่ทำงานแถวบ้านไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
สนับสนุนโดย
Mfahmee Talib ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
UNICEF Thailand
#ดารานายู #MUSLIMITED
ติดตามผ่านYoutube : MUSLIMITED
ติดตามผ่านFacebook : MUSLIMITED
ติดตามผ่านInstagram : @ dara_nayu
ติดตามผ่านTiktok : dara_nayu
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 MUSLIMITED Youtube 的最佳解答
หนังสั้น รอมาฏอนที่ไม่เหมือนเคย
สร้างสรรค์โดย
Mfahmee Talib ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
UNICEF Thailand
#ดารานายู #MUSLIMITED
ติดตามผ่านยูทูป กดปุ่มติดตามที่ https://goo.gl/iipajK
ติดตามผ่านFacebook : MUSLIMITED
ติดตามผ่านInstagram : @ dara_nayu
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 Droidsans News Updates Youtube 的最佳貼文
อัพเดท 35 จุดตรวจ COVID-19 จากสถานพยาบาลทั่วประเทศ โดยได้เพิ่มพิกัดตำแหน่งห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2 เพื่อให้ประชาชนต่างจังหวัดได้สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ในพื้นที่ใกล้เคียง เบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ได้จะรับสิทธิ์ตรวจฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
.
ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ตรวจฟรีต้องมีลักษณะดังนี้
- รู้สึกตัวร้อน หรือวัดอุณหภูมิร่างกายได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก และมีประวัติการเดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ประกอบอาชีพใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยว สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วย
.
ในกรณีที่ ไม่ได้เป็นผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ อาจมีค่าใช้จ่ายที่ผู้ขอรับการตรวจต้องรับผิดชอบส่วนตัว โดยสามารถโทรสอบถามได้ที่สถานตรวจบริการนั้นๆ ซึ่งผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมพิกัดสถานที่ สัญลักษณ์จุดพอยท์สีเขียวและสีแดง พร้อมช่องทางการติดต่อกับสถานพยาบาลได้ในแอปพลิเคชันนะครับ
.
-- โรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจ COVID 19 (ใน กทม. และปริมลฑล)
รพ. จุฬาลงกรณ์
รพ. ราชวิถี
รพ. รามาธิบดี
รพ. วิชัยยุทธ
รพ. บางปะกอก 9 อินเตอร์แนชั่นแนล
รพ. พญาไท 2
รพ. พญาไท 3
รพ. แพทย์รังสิต
รพ. ศิริราชปิยมหาราชการุณย์
สถาบันบำราศนราดูร
รพ. กรุงเทพคริสเตียน
รพ. พระราม 9
รพ. เปาโลเมโมเรียล
รพ. เปาโลเมโมเรียลโชคชัย 4
รพ. เปาโลเมโมเรียลสมุทรปราการ
รพ. เปาโลเมโมเรียลรังสิต
รพ. เปาโลเมโมเรียลเกษตร
รพ. เปาโลเมโมเรียลพระประแดง
.
-- ห้องปฏิบัติการตรวจ COVID-19 (รวมทั่วประเทศ)
คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บริษัท ไบโอ โมเลกุลาร์ แลบบอราทอรีส์ (ประเทศไทย)
รพ.ราชวิถี
รพ.บำรุงราษฎร์
รพ.มหาราชนครราชสีมา
รพ.ลำปาง
รพ.สวรรค์ประชารักษ์ (นครสวรรค์)
รพ.นครปฐม
รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำนักป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี
สถาบันบำราศนราดูร
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายไทย)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา)
ศูนย์วิจัยมาลาเรียโซโคล ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (ตามหัวเมืองใหญ่ทุกภูมิภาค)
.
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://droidsans.com/covid-19-test-free-35-medical-hospital-map-nostra/
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - YouTube 的推薦與評價
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อักษรย่อ : ม.อ. ที่ตั้ง : ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา Prince of Songkla University Acronym : PSU Location ... ... <看更多>
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 在 Prince of Songkla University - Facebook 的推薦與評價
อาคารสำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในวันและเวลาราชการ (เปิดบริการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น. และ เวลา ... <看更多>