จากสำนักงานกิจการยุติธรรมครับ เรื่องน้องขมพู่น่ะ
#ใครฆ่าหนู..? (ตอน 1)
ข่าวดังตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง ด.ญ. คนหนึ่ง อายุเพียง 3 ขวบที่หายออกไปจากบ้าน.. ต่อมาพบเป็นศพอยู่บนภูเขาสูงห่างจากบ้านขึ้นไปราว 3 กิโลเมตร..
ตอนแรก ผมก็สนใจนะครับว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร... ก็เลยติดตามดูข่าวทางสื่อมวลชนต่างๆ...
•
#ข้อเท็จจริง ในฐานะสื่อที่ควรนำเสนอโดยไม่ชี้นำสังคม.. คือ ข้อเท็จจริงดิบๆ ที่ไม่ต้องวิเคราะห์...
เพราะประชาชนที่ติดตามข่าวคงวิเคราะห์ ติชมตามปกติวิสัยได้เอง....แต่สื่อ ก็ติดตามนำเสนอข่าวนี้ทุกวันติดต่อกันนานนับเดือน... จนไม่มีข้อมูลดิบอะไรจะนำเสนออีกแล้ว...
•
#สื่อ บางช่องก็เลย เริ่มวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในคดีเสียเอง.. ไม่ก็หาข้อมูลที่อาจจะชี้นำผลของคดีล่วงหน้า..
ทั้งที่ ความจริงแล้ว.. ควรปล่อยให้เป็นบทบาทของพนักงานสอบสวนในการรวบรวม #พยานหลักฐาน...
•
หากสื่อต้องการช่วยเหลือ #พนักงานสอบสวน ก็ควรแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับพยานหลักฐานให้พนักงานสอบสวนทราบ.. ไม่ใช่มาเปิดเผยต่อสาธารณะ..
ในต่างประเทศ ข้อมูลคดีที่สื่อนำเสนอเป็นข่าว จะต้องเป็นข้อมูลที่ได้มาโดยเปิดเผยจากพนักงานสอบสวนเท่านั้น..
•
แต่ทุกวันนี้.. สื่อรวบรวมพยานหลักฐาน.. ไปตรวจที่เกิดเหตุ... ไปสอบถามพยานเอาเอง...
ไปสอบถาม ซักไซ้ #พยาน ไม่ว่าจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับคดี... ใช้ #คำถามนำ บ้าง... ใช้ #คำถามชี้แนะ บ้าง... ใช้ #คำถามปลายเปิด บ้าง ปลายปิดบ้าง...ยิ่งกว่าทนายความซักค้านพยานในศาลเสียอีก...
• ถามเขาจน บางครั้ง.. ราวกับว่า ผู้ถูกถามไม่มีสิทธิในความเป็นส่วนตัว..
• ถามจน บางครั้ง ผู้ถูกถามรู้สึกว่า ตนเองตกเป็นจำเลยไปก่อนที่จะถูกตำรวจแจ้งข้อหาเสียอีก...
• ถามจน บางครั้ง เหมือนเป็นการขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัวของพยานออกมาตีแผ่ให้สังคมรับรู้...
• ราวกับ #พยานถูกเปลื้องผ้าต่อหน้าสื่อ ทั้งที่เรื่องนั้นอาจไม่เกี่ยวกับคดีเลยและเป็นเรื่องส่วนตัวเขาล้วนๆ..
•
บางที ก็ถามจน พยานสับสน หวาดระแวงกันเอง.. ถามจนทำให้สังคมเกิดสงสัยใครต่อใคร มั่วไปหมด.. ซึ่งเสี่ยงต่อการทำให้ผู้บริสุทธิ์ตกเป็นแพะอย่างยิ่ง...แม้ตำรวจจะไม่สนใจข้อมูลส่วนนี้.. แต่สังคมสนใจมากก..
•
ทำให้คนที่สื่อชี้นำให้สงสัยตกเป็น #จำเลยสังคม ถูก #ดูหมิ่นเกลียดชัง ไปได้ภายในข้ามคืนเดียว...และบางที ก็ถามจน.. ครอบครัวเขาแตกแยก.. จนญาติพี่น้อง คนในหมู่บ้านทะเลาะเบาะแว้งกันจนขาดความสงบสุขไปในบัดดล...
•
ใครจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ทราบนะ... แต่สื่อก็ทำหน้าที่แบบตรงไปตรงมา และไร้ซึ่งชีวิตจิตใจ... เพราะต้องทำหน้าที่เสาะหาข้อมูลมาให้มากที่สุด...
ส่วนผลกระทบจะเป็นอย่างไรนั้น ไม่ใช่หน้าที่... ไม่ต้องรับรู้ ขอเพียงได้ข้อมูลมาทำข่าวแข่งกันทุกวันๆก็พอ..
แม้จะมี #กฎหมายเรื่องละเมิดอำนาจศาล บังคับห้ามสื่อลงข่าวชี้นำศาล... ชี้นำพยาน... หรือชี้นำประชาชนในคดีที่ได้ฟ้องศาลแล้ว...
และที่ผ่านมา สื่อก็ทราบดี จึงมักจะยุติการทำข่าวแบบชี้นำทันทีที่มีการฟ้องคดี... ซึ่งผมก็ดีใจนะที่ #สื่อมวลชนมีความรู้ด้านกฎหมาย ด้วย...
•
แต่การชี้นำผลคดีล่วงหน้าก่อนมี #การฟ้องคดี ทั้งที่รู้ว่า อย่างไรเสีย เรื่องนี้ต่อไป ก็ต้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาลแน่ๆ..
มันก็คือการชี้นำสังคมก่อนศาลมีคำพิพากษานั่นเอง..
คู่ความ.. พยาน.. และผู้พิพากษา ที่ติดตามข่าว ก็อาจถูกอิทธิพลสื่อครอบงำ ชี้นำให้เชื่อในข้อเท็จจริงไปตั้งแต่ยังไม่เริ่มสืบพยาน..
•
#นักกฎหมายสายตัวบท... อาจบอกว่า... สื่อทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย... เพราะกฎหมายเขียนไว้ว่า "สื่อที่ชี้นำคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาเท่านั้น" ที่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล..
ในเมื่อยังไม่มีคดีขึ้นสู่ศาล เพราะอัยการยังไม่ฟ้อง.. "สื่อก็ไม่มีความผิดที่ไปชี้นำสังคม.."
•
แต่นักกฎหมายสายที่เชื่อมั่นว่า ความยุติธรรมสำคัญกว่าตัวบทนั้น เขาบอกว่า.. “เจตนารมย์ของกฎหมายนั้น ไม่ต้องการให้ใครมีอิทธิพลเหนือความคิดเห็นของศาลและของพยานที่จะมาเบิกความ..
เพราะอาจเป็นการแทรกแซงให้เกิดอคติ ทำให้เสียความเป็นธรรมได้...
• ดังนั้น #การชี้นำ ไม่ว่า #ก่อนฟ้อง หรือ #ระหว่างพิจารณาคดี ก็เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้เช่นเดียวกัน”
จำได้ว่า เมื่อสักเกือบ 10 ปีก่อน ผมเคยไปบรรยายกฎหมายเรื่อง #สิทธิของเหยื่อ ให้สื่อมวลชนฟัง น่าจะเป็นที่ #สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย..
ได้พูดคุยกับ #สื่อมวลชน หลายคน ทำให้ทราบว่า.. สื่อมวลชนส่วนใหญ่นั้น ไม่รู้กฎหมายและขั้นตอนดำเนินคดี..
• นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ผู้จัดงานให้ความสำคัญ จัดเวทีให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่สื่อมวลชน..
ผมเห็นว่า.. สื่อมวลชลนั้น มีหน้าที่ #นำเสนอข่าว และมีความสามารถที่จะชี้นำสังคมไปในทางที่ดีได้..
หากสื่อมีความรู้กฎหมาย.. นอกจากสื่อจะไม่ทำผิดกฎหมายแล้ว.. สื่อยังจะ #ถ่ายทอดความรู้กฎหมาย ที่ถูกต้องให้แก่สังคมได้ด้วย..
•
ถ้าสื่อมีความรู้กฎหมายพื้นฐานที่ประชาชนควรรู้... น่าจะมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างมหาศาลนะครับ..
ฝากผู้เกี่ยวข้องไว้ด้วย..
• คราวต่อไป ตอน 2 ของเรื่อง #ใครฆ่าหนู.. ? จะนำเสนอว่า มี "กฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของสื่อ" ในเรื่องนี้บ้าง...
------------------------------------------------------------------
ที่มา : ขอขอบคุณ ดร.ธีร์รัฐ ไชยอัคราวัชร์ ที่ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และอนุญาตให้สำนักงานกิจการยุติธรรมได้เผยแพร่ให้ประชาชนได้ความรู้ต่อไปครับ
#บทความ #กฎหมาย #กฎหมายน่ารู้ #พยานหลักฐาน #น้องชมพู่ #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #สื่อ #ข่าวน้องชมพู่ #สถานีโทรทัศน์ #กสทช #คดีน้องชมพ่ #คดีอาญา #saveลุงพล #สำนักงานกิจการยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น
「รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น」的推薦目錄:
- 關於รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
- 關於รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
- 關於รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的最佳貼文
- 關於รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น 在 การใช้กฎหมายและการตีความกฎหมา... - หลักกฎหมายปกครองวันละเรื่อง 的評價
- 關於รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น 在 วิชาสังคมศึกษา | ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย - YouTube 的評價
รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
ขอบคุณความรู้ดีๆจากสำนักงานกิจการยุติธรรม ว่าเมื่อมีหมายเรียก ควรทำยังไงนะครับ
เมื่อมี "หมายเรียก" จาก • พนักงานสอบสวน • พนักงานฝ่ายปกครอง • ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือของศาลแล้วแต่กรณี” หากคนที่ได้รับหมายเรียกไม่ไปพบตามหมายเรียกผลจะเป็นอย่างไร ?
•
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 52 วรรคแรกได้ให้อำนาจในแต่ละชั้นไว้ว่า “การที่จะให้บุคคลใดมาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือมาศาล เนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดี หรือการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ *จักต้องมีหมายเรียก*
•
ดังนั้น ตำรวจจึงออกหมายเรียกได้เอง ไม่ต้องขออนุมัติจากศาล เป็นการเรียกมาเพื่อการสอบสวนคดี จะเรียกตัวผู้ต้องหาหรือเรียกผู้ที่เป็นพยานในคดีมาก็ได้ เฉพาะในชั้นตำรวจหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าชั้นพนักงานสอบสวน ไม่ขอพูดถึงหมายเรียกของศาล เพื่อไม่ให้เราสับสน
•
เมื่อตำรวจออกหมายเรียก แต่คนที่ได้รับหมายเรียกไม่ไปพบตำรวจตามหมายเรียกผลจะเป็นอย่างไร ? เท่ากับเป็นการขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน
ดังนั้น เราอย่าเพิ่งคิดว่าตำรวจจะกลั่นแกล้งหรือคิดไปต่างๆนาๆ ในเบื้องต้นขอให้เราทำความเข้าใจกระบวนการดำเนินคดีอาญาและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสอบสวนในคดี
•
เพราะบางครั้งการที่เราไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกจะเป็นการปกป้องสิทธิของเราเองและหากจะเป็นประโยชน์ต่อคดีอีกด้วย
•
ฝากกดติดตาม กดไลท์เป็นกำลังใจ และกด Subscribe Youtube : Justice Channel.TV (กดกระดิ่งแจ้งเตือน)ให้ด้วยนะครับ
#กฎหมายน่ารู้ #กระบวนการยุติธรรม #หมายเรียก #คดีอาญา #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น #สํานักงานกิจการยุติธรรม
รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的最佳貼文
กฎหมายใหม่ 44 : อ่านให้จบ ดูให้ครบ ก่อนจะเซ็น........(พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562) มีผลบังคับใช้วันที่ 28 พฤษภาคม 2563
ปัจจุบันการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลมีให้เห็นกันจนชินตาและมักจะสร้างความเดือดร้อนรำคาญและเกิดความเสียหาย กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิด ทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ส่งผลต่อความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลสำคัญที่เราจะต้องรับรู้ในเบื้องต้นมีอะไรบ้าง เช่น
- ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลอะไร
- เจ้าของข้อมูลมีสิทธิอะไรบ้าง หลังยินยอมให้ข้อมูลไปแล้ว
- วิธีขอข้อมูลส่วนบุคคลต้องทำอย่างไร
- ใครเป็นผู้ดูแลข้อมูลส่วนบุคคลที่เรายินยอมให้ข้อมูลไป
ในเบื้องต้นหากมีประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โทร.02-1416993 ได้นะครับ
#กฎหมายใหม่ #ข้อมูลส่วนบุคคล #คุ้มครอง #ละเมิด #สิทธิ #กฎหมายน่ารู้ #สำนักงานกิจการยุติธรรม #กระทรวงยุติธรรม #ชื่นใจคนไทยรู้กฎหมาย #รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น
ที่มา : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/…/P…/2562/A/069/T_0052.PDF
รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น 在 วิชาสังคมศึกษา | ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย - YouTube 的推薦與評價
... คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือผ็มีอำนาจสูงสุดเพื่อ ใช้เป็น เครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่... ... <看更多>
รู้กฎหมายไว้ใช้กฎหมายเป็น 在 การใช้กฎหมายและการตีความกฎหมา... - หลักกฎหมายปกครองวันละเรื่อง 的推薦與評價
“ การใช้กฎหมาย” เป็นคำกว้าง หมายถึง การใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร ... แต่ถ้าเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้อย่างไรแล้วคู่กรณีที่เกี่ยวข้องตกลงเป็นอย่าง ... ... <看更多>