Rick Guerin นักลงทุนที่ บัฟเฟตต์ เคยยกย่อง แต่โลกลืม /โดย ลงทุนแมน
เมื่อพูดถึงนักลงทุนรุ่นเก๋า เราก็น่าจะคุ้นเคยกับสองคู่หูแห่ง Berkshire Hathaway
คือ Warren Buffett และ Charlie Munger
ทั้งคู่ถือเป็นนักลงทุนต้นแบบด้านการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
จากการที่อยู่ในตลาดหุ้นมาแล้วหลายทศวรรษและยังประสบความสำเร็จ
รวมถึงเป็นผู้คอยให้คำแนะนำแก่เหล่านักลงทุนหน้าใหม่
แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนหน้านี้ในปี 1970 Berkshire Hathaway ยังมีหุ้นส่วนอีกคนหนึ่ง
มีชื่อว่า “Rick Guerin” ผู้ที่ได้รับการยกย่องจาก Buffett ว่าเป็นคนที่เฉลียวฉลาดที่สุดในกลุ่ม
โดยกองทุนที่เขาบริหารส่วนตัวสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 33% ต่อปี
ติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานถึง 19 ปีด้วยกัน
แล้วทำไมอยู่ดี ๆ เขาถึงกลายเป็นนักลงทุนที่ถูกลืม ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Rick Guerin เกิดที่ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 1929
เขาเริ่มทำงานตั้งแต่อายุ 6 ขวบ โดยประกอบอาชีพเป็นคนส่งน้ำแข็งและหนังสือพิมพ์
Guerin ได้เข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สาขาเอกคณิตศาสตร์
และเมื่อจบการศึกษา เขาก็ได้เข้าทำงานเป็นเซลส์แมนที่ IBM
หลังจากนั้นจึงได้เข้าสู่วงการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
แม้ว่า Guerin จะย้ายมาทำงานในแวดวงการลงทุนแล้ว
แต่เขาก็ยังไม่เคยบริหารเงินทุนมาก่อน โดยคนที่ทำให้เขาเข้าสู่วงการนี้ไม่ใช่ใคร
เขาคนนั้นก็คือ Munger นั่นเอง ซึ่งพวกเขาได้รู้จักกัน
ในช่วงที่ Munger กำลังเข้าสู่วงการลงทุนแบบเต็มตัว
ช่วงเวลานั้น Munger เห็นว่า Guerin มีความสนใจในวงการการลงทุนอย่างมาก
จึงตัดสินใจชวนให้เขาเข้ามาทำงานร่วมกันที่บริษัทด้านการลงทุนของตน
และที่แห่งนี้เอง เป็นสถานที่ที่ทำให้เขาเข้าใจโลกการลงทุนมากยิ่งขึ้น
แม้ว่า Guerin จะไม่ได้จบสายการเงินหรือแม้กระทั่งสายธุรกิจ
แต่เขาสามารถเรียนรู้และเข้าใจเรื่องการลงทุนแบบเน้นคุณค่าได้อย่างรวดเร็ว
ขนาด Buffett เองยังยอมรับทักษะและความคิดด้านการลงทุนของเขา
หลังจากร่วมงานกับ Munger ไปสักระยะเวลาหนึ่ง จนเริ่มมีฝีมือ
Guerin ก็ออกมาบริหารกองทุนของตัวเอง ที่มีชื่อว่า “Pacific Partners”
สไตล์การลงทุนของ Guerin คือการเลือกกิจการพื้นฐานที่ดีและราคาที่ถูก
ตรงตามต้นตำรับการลงทุนเน้นคุณค่าของคู่หู Buffett และ Munger
และจากการที่เขามีแนวคิดการลงทุนและนิสัยใจคอที่ใกล้เคียงกัน
นั่นทำให้เขาได้กลายมาเป็นหุ้นส่วนกับ Berkshire Hathaway ในเวลาต่อมา
หากดูหุ้นในพอร์ตของเขาเทียบกับ Buffett และ Munger จะพบว่าคล้ายกันมาก
จากเรื่องนี้เองทำให้พวกเขาทั้งสามคนมักจะพูดคุยและร่วมเข้าซื้อกิจการด้วยกัน
การเข้าซื้อกิจการที่โด่งดังที่ Guerin มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจคือ Blue Chip Stamps
Blue Chip Stamps เป็นบริษัทที่ทำคูปองส่วนลดให้แก่ร้านค้าปลีก เพื่อให้แต่ละรายนำไปแจกจ่ายให้ลูกค้าต่อ สำหรับการสร้าง Brand Loyalty
เหตุผลที่พวกเขาเข้าซื้อกิจการแห่งนี้เพราะว่า จะได้ใช้ Float ของบริษัทหรือเงินสดที่ได้รับจากการออกคูปอง แต่ยังไม่มีใครมาเคลม สำหรับเข้าซื้อกิจการอื่น ๆ ต่อไป
โดยกิจการที่ใช้เงินจาก Float ในการเข้าซื้อ ตัวอย่างเช่น
See's Candy ร้านขนมหวาน
Wesco Financial บริษัทด้านการเงิน
The Buffalo Evening News สำนักพิมพ์
การลงทุนเหล่านี้ล้วนสร้างผลตอบแทนดีและก็ได้กลายเป็นรากฐานของ Berkshire Hathaway ที่เรารู้จักในปัจจุบัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการดีลครั้งนี้ ถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ Berkshire Hathaway ยิ่งใหญ่ได้
อย่างไรก็ตาม แม้แนวทางการเลือกหุ้นของพวกเขาจะคล้ายกัน
แต่สิ่งที่ทำให้ Guerin แตกต่างออกไปคือ “การใช้มาร์จินในการซื้อหุ้น”
การใช้มาร์จิน คือ การกู้ยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อนำมาซื้อหุ้น
ยกตัวอย่าง เช่น หากเรามีเงิน 100,000 บาท คิดว่าหุ้น A กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น
แต่เราอยากได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ก็เพียงกู้เงินจากโบรกเกอร์อีก 100,000 บาท
เพื่อเพิ่มอำนาจในการซื้อเป็น 2 เท่า
ถ้าหุ้นขึ้น 10% ปกติเราจะได้กำไร 10,000 บาท คิดเป็นผลตอบแทน 10%
แต่ถ้าใช้มาร์จิน เราจะได้กำไรเป็น 2 เท่า คิดเป็น 20,000 บาท ผลตอบแทนกลายเป็น 20%
ก่อนหักด้วยค่าดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงิน
ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้มีนักลงทุนหลายรายชอบใช้มาร์จินสำหรับการซื้อหุ้น
รวมถึง Guerin ก็เช่นเดียวกัน ที่ต้องการจะรวยได้อย่างรวดเร็ว
จากการใช้มาร์จินส่งผลให้กองทุนของเขาช่วง 8 ปีแรก
มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 55% ต่อปี
ซึ่งมีเพียงปีเดียวที่ขาดทุน และขาดทุนแค่ 7% เท่านั้น
หมายความว่าในช่วงเวลาดังกล่าว
หากใครที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนของเขา มูลค่า 1,000,000 บาทเป็นระยะเวลา 8 ปี
เงินก้อนนั้นจะเติบโตเป็น 33,000,000 บาท เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม เหรียญมีสองด้านเสมอ
หากมาร์จินสามารถสร้างผลตอบแทนที่มหาศาลแล้ว
ในทางกลับกัน มาร์จินที่ผิดทางก็ทำให้เราขาดทุนมหาศาล เช่นกัน
ดังนั้นเห็นได้ว่าการใช้มาร์จินมีความเสี่ยงอย่างมาก
เพราะถ้าหากเราทายผิด มีโอกาสขาดทุนอย่างมหาศาล
ซึ่งเหตุการณ์ที่น่ากลัวนี้เองได้เกิดขึ้นกับ Guerin ในที่สุด
เมื่อตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเผชิญกับวิกฤติช่วงปี 1973-1974
เนื่องจากนโยบายด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดี Richard Nixon
ไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ ซ้ำร้ายยังเจอ OPEC ร่วมกันงดส่งออกน้ำมันไปยังสหรัฐอเมริกา
ส่งผลให้ในปี 1973 และ 1974 นักลงทุนต่างพากันวิตกกังวลและเทขายหุ้น
ดัชนี S&P จึงลดลงถึง 14.8% และ 26.4% ตามลำดับ
และด้วยความที่ Guerin ใช้มาร์จินเพื่อทวีคูณผลตอบแทน
แต่พอผิดทาง ผลตอบแทนของกองทุน Pacific Partners จึงติดลบหนักกว่าตลาด
ปี 1973 อัตราผลตอบแทนของ Pacific Partners อยู่ที่ -42%
ในขณะที่ปีต่อมา อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ -34.4%
หากใครลงทุนเมื่อต้นปี 1973 ด้วยเงินจำนวน 1,000,000 บาท
สิ้นสุดปี 1974 จะเหลือเพียง 382,800 บาทเท่านั้น
จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลให้ Guerin โดนบังคับต้องขายหุ้นบางส่วนที่มีออกมา
เพื่อปิดสถานะการขาดทุนที่ถือเอาไว้
ซึ่งหนึ่งในหุ้นที่ขายออกมานั้นคือ Berkshire Hathaway
เรื่องนี้เอง ได้ทำให้ความเป็นพาร์ตเนอร์ของเขากับ Buffett และ Munger สิ้นสุดลง
โดยเขาได้ขายหุ้น Berkshire Hathaway คืนให้กับ Buffett ในราคาที่ต่ำกว่า 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น
ซึ่งถ้าเรามาดูราคาหุ้น Berkshire Hathaway ในปัจจุบัน
อยู่ที่ประมาณ 419,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น
หมายความว่าถ้า Guerin ไม่ได้ขายหุ้นออกไป การลงทุนของเขาก็เติบโตเป็น 10,475 เท่าในระยะเวลา 28 ปีหลังจากนั้น หากคิดอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจะสูงถึง 21% ต่อปี
นอกจากพอร์ตที่ย่ำแย่แล้ว เรื่องนี้ก็ส่งผลต่อชื่อเสียงของ Guerin อีกด้วย
นักลงทุนและหุ้นส่วนหลายคนสูญเสียศรัทธาเช่นเดียวกับ Buffett และ Munger
อย่างไรก็ตามหลังจากนั้น 2 ปีเขาก็สามารถฟื้นฟูผลตอบแทนกลับมาคืนทุนได้อีกครั้ง
ตั้งแต่ 1965 ถึง 1983 กองทุน Pacific Partners สร้างผลตอบแทนถึง 222 เท่า
คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 33% ต่อปี
แต่ด้วยความที่ Guerin ไม่ได้มีส่วนร่วมใน Berkshire Hathaway อีกต่อไป
นั่นจึงทำให้ชื่อเสียงของเขานั้นค่อย ๆ จางลงและเลือนหายไปในที่สุด
ปิดท้ายด้วยข้อความที่ Buffett เคยกล่าวไว้ว่าตนและ Munger
รู้อยู่เสมอว่าจะกลายเป็นคนที่มั่งคั่งอย่างไม่น่าเชื่อ
พวกเขาจึงไม่รีบร้อนที่จะรวยให้เร็ว
ซึ่งต่างจาก Guerin ที่รีบร้อนเกินไป จึงทำให้เขาพลาดโอกาส ครั้งสำคัญ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.valuewalk.com/rick-guerin/
-https://www.usatoday.com/story/money/2020/03/21/stock-market-collapse-how-does-todays-compare-others/2890885001/
-https://finance.yahoo.com/news/case-study-fall-rick-guerin-170021290.html
-https://www.lutz.us/nobody-talks-about-rick-anymore/
-https://www.jpguerin.com/obituary
-https://finance.yahoo.com/news/why-warren-buffetts-blue-chip-164748907.html
-หนังสือ Damn Right! Behind the Scenes with Berkshire Hathaway Billionaire Charlie Munger โดย Janet Lowe
同時也有5部Youtube影片,追蹤數超過4萬的網紅สาระ ศาสตร์,也在其Youtube影片中提到,#สาระ #แนวคิด #ความรู้ #สาระศาสตร์ #หนังสือ จุดประสงค์ของช่องนี้ผมตั้งใจทำเพื่อให้คนที่รักการอ่านแต่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ และช่วยให้นักอ่านได้มีข้อมู...
「ลงทุนแมน หนังสือ」的推薦目錄:
- 關於ลงทุนแมน หนังสือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於ลงทุนแมน หนังสือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於ลงทุนแมน หนังสือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ลงทุนแมน หนังสือ 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最佳貼文
- 關於ลงทุนแมน หนังสือ 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最佳解答
- 關於ลงทุนแมน หนังสือ 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最佳解答
- 關於ลงทุนแมน หนังสือ 在 หนังสือลงทุนแมน ในเล่มหลังๆ ผลิตออกมาจำนวนจำกัด... - Facebook 的評價
- 關於ลงทุนแมน หนังสือ 在 Book Guide by SE-ED : ลงทุนแมน 1.0 - YouTube 的評價
ลงทุนแมน หนังสือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
Adobe ราชาแห่งกราฟิก ผู้ได้ประโยชน์ในโลกดิจิทัลมีเดีย /โดย ลงทุนแมน
Adobe เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนยุคนี้ค่อนข้างมาก
ไม่ว่าเราจะทำอินโฟกราฟิกลงเฟซบุ๊ก แต่งรูปลงอินสตาแกรม
ตัดต่อวิดีโอลงยูทูบ หรือแม้แต่ทำรูปประกอบโพสต์
เราก็มักจะมีโปรแกรมคู่ใจจากค่าย Adobe เป็นเพื่อนทั้งนั้น
และเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา บริษัท Adobe ได้รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ปี 2021
(ครอบคลุมตั้งแต่ 1 มีนาคม ถึง 31 พฤษภาคม ปี 2021) ผลปรากฏว่าทั้งรายได้และกำไร
ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้
ส่งผลให้มูลค่าของบริษัท Adobe ปรับตัวขึ้นอีก 3%
ดันให้บริษัทแห่งนี้ มีมูลค่า 8.5 ล้านล้านบาท
แล้ว Adobe เติบโตดีขนาดไหน ? มาดูกัน
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าปัจจุบัน Adobe มีผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง ?
ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันเป็นประจำ เช่น
Adobe Photoshop โปรแกรมสำหรับแต่งภาพ
Adobe Illustrator โปรแกรมสำหรับวาดภาพ สร้างภาพเวกเตอร์
Adobe InDesign โปรแกรมสำหรับสร้างสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือ นิตยสาร
Adobe Premiere Pro โปรแกรมสำหรับตัดต่อวิดีโอ
Adobe XD โปรแกรมออกแบบ UI/UX สำหรับแอปพลิเคชัน
สรุปง่าย ๆ ก็คือ Adobe มีผลิตภัณฑ์สำหรับการทำกราฟิก
และคอนเทนต์ประเภทภาพ เสียง วิดีโอแทบจะทุกแบบบนโลก
ทีนี้ เรามาดูผลประกอบการไตรมาสที่ 2 บริษัท Adobe
รายได้ 120,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23%
กำไร 35,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1%
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมไตรมาสที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่กำไรไม่เปลี่ยนแปลง นั่นก็เพราะว่าปีนี้ Adobe มีค่าใช้จ่ายพิเศษทางภาษี
หากเราตัดรายการนี้ออกไปและดูเฉพาะกำไรจากการดำเนินงาน
ไตรมาสที่ 2 ปี 2020 มูลค่า 31,940 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 2 ปี 2021 มูลค่า 44,200 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่ากำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 38% ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่สูงกว่ารายได้
สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทมีค่าใช้จ่ายในหลายส่วนเริ่มคงที่หรือเพิ่มขึ้นไม่มาก เช่น ค่าใช้จ่ายทางการตลาด, ค่าใช้จ่ายในการบริหาร รวมถึงค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา ส่งผลให้รายได้สมาชิกจากลูกค้าที่เข้ามาใหม่ไหลลงไปเป็นกำไรทันที
โดย Adobe มีรายได้แบ่งตามธุรกิจหลักออกเป็น
ธุรกิจ Digital Media (Creative Cloud และ Document Cloud) 73%
ธุรกิจ Digital Experience 24%
ธุรกิจโฆษณา 3%
การเติบโตของธุรกิจกลุ่ม Digital Media ในไตรมาสที่ผ่านมา มีสาเหตุมาจากฐานลูกค้าสมาชิกรายเดือนที่เพิ่มขึ้นจากแคมเปนการตลาดที่เติบโตขึ้นทั่วทุกมุมโลก
ทั้งนี้ บริษัทได้ระบุว่าซอฟต์แวร์ของบริษัทมีความต้องการจากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกม, รถยนต์, แฟชั่น, อีคอมเมิร์ซ รวมถึงการศึกษา
ในขณะเดียวกัน ธุรกิจ Digital Experience หรือซอฟต์แวร์บริหารระบบการสร้างประสบการณ์ลูกค้าก็ได้มีความต้องการมากขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในหลายอุตสาหกรรมเช่นกัน
โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2021 บริษัท Adobe มีรูปแบบรายได้
มาจากระบบสมาชิกรายเดือน 92% และการขายขาด 8%
จุดที่น่าสนใจก็คือ Adobe เป็นบริษัทที่ปรับโมเดลทางธุรกิจจากการขายโปรแกรมขาดครั้งเดียวเป็นรายได้ประจำ หรือ Recurring Income ได้อย่างรวดเร็ว
สะท้อนให้เห็นภาพจากการเปิดตัวระบบสมาชิก Adobe Creative Cloud ปี 2013
ถึงวันนี้ นับเป็นเวลาไม่ถึง 8 ปี Adobe มีรายได้เกือบทั้งบริษัทมาจากระบบสมาชิกแล้ว
สำหรับกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ของ Adobe เป็นลูกค้าองค์กรที่จ่ายให้กับพนักงานในบริษัทเป็นหลัก
ยกตัวอย่างลูกค้ารายใหญ่ของบริษัท เช่น ByteDance เจ้าของ TikTok, Netflix, Microsoft และ Unity ทำให้รายได้มีความสม่ำเสมอและผันผวนต่ำกว่า
เมื่อเทียบกับบริษัทเทคโนโลยีที่มีโมเดลสมาชิกรายเดือนแต่เป็นบริการที่ขายให้กับบุคคลทั่วไปเป็นหลัก
นอกจากนี้ บริษัทก็ยังได้รายงานว่าไตรมาสนี้เป็นไตรมาสที่บริษัทมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานสูงที่สุดในประวัติศาสตร์และก็คาดการณ์รายได้ไตรมาสถัดไปไว้ที่ 122,000 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโต 22% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
จากทั้งผลประกอบการ การคาดการณ์และตัวธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตตามการผลิตคอนเทนต์ที่เพิ่มขึ้นในแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในระยะยาว
ก็ได้ทำให้ตอนนี้ หุ้น Adobe ได้ถูกซื้อขายกันในราคาที่สูงขึ้น จนมีมูลค่ามากถึง 8.5 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทเลยทีเดียว..
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นการให้ข้อมูลบริษัท ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.adobe.com/content/dam/cc/en/investor-relations/pdfs/71601202/a0m2p5h3fw96x8.pdf
-https://www.adobe.com/content/dam/cc/en/investor-relations/pdfs/71601202/c4b7o2s58fim94fz.pdf
-https://www.adobe.com/content/dam/cc/en/investor-relations/pdfs/71601202/b5u2n52ji6ba1l0w.pdf
ลงทุนแมน หนังสือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
มองยุคดิจิทัล หลังโควิด เพื่อคว้าโอกาสใหม่ ๆ ผ่านหนังสือ “The Great Remake สู่โลกใหม่” โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist ของ Sea Group
Sea x ลงทุนแมน
ถ้าเปรียบ “ภาคธุรกิจการเงิน” เป็นดั่งธุรกิจครอบครัว
ในตอนนี้ คงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านธุรกิจครั้งสำคัญ จากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก เพื่อให้บริหารต่อ
ซึ่งลูก ๆ ในที่นี้ คือ 3 พี่น้อง ที่จะเข้ามาสร้างแรงกระเพื่อม ให้กับวงการการเงินนี้ ได้แก่
- พี่ใหญ่ ชื่อ การเงิน (Finance)
คนนี้เป็นคนที่ทำงานกับพ่อแม่นานที่สุด มากประสบการณ์
งานสำคัญของเขา คือการนำเงินออมของคนอื่น มาปล่อยสินเชื่อ หรือลงทุน
ด้วยความที่เคยทำผิดพลาด และผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง ทำให้เขาเป็นคนที่มีความเข้มงวด (ในการปล่อยสินเชื่อ), ช่างระมัดระวัง ไม่ชอบความเสี่ยง และยึดหลักทำงานที่สืบทอดกันมา
- พี่รอง ชื่อ ดิจิทัล
คนนี้จะมีนิสัยต่างจากพี่ใหญ่อย่างสิ้นเชิง โดยเขามักมองข้ามกรอบธรรมเนียมประเพณี ที่เคยทำกันมา และชอบพลิกแพลงหาวิธีใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าของลูกค้า
สำหรับพี่ใหญ่แล้ว การจะลองทำอะไรใหม่ ต้องคิดแล้วคิดอีก ปรับแผนหลายรอบ
ส่วนพี่รอง มักลุยทันที ลองทำไปก่อนแบบเล็ก ๆ แล้วคุยกับลูกค้า หรือนำผลลัพธ์ที่ได้ มาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ไปเรื่อย ๆ (Agile)
ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากเรียนจบและเข้ามาช่วยธุรกิจที่บ้านเต็มตัว
บทบาทของพี่รอง ก็มีมากขึ้นในธุรกิจ ซึ่งเขาได้สร้างผลงานไว้มากมาย
อาทิ ระบบอีเพย์เมนต์, การปล่อยสินเชื่อดิจิทัล (Digital Lending), การใช้ AI มาให้คำปรึกษาด้านการลงทุน
ซึ่งตลอดเส้นทางการทำธุรกิจ หลายครั้งความคิดของ พี่ใหญ่และพี่รอง จะขัดแย้งกัน
โดยพี่รอง มองว่าพี่ใหญ่ ไม่ยอมปรับตัว ส่วนพี่ใหญ่ ก็มองว่า น้องรอง ทำอะไรเร็วเกินไป..
- น้องเล็ก ชื่อ DLT (Distributed Ledger Technology)
โดยประเภทของ DLT ที่คนรู้จักกันมากที่สุดคือ เทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของคริปโทเคอร์เรนซี เช่น บิตคอยน์
น้องเล็กคนนี้ เป็นคนที่มีโอกาสปฏิวัติวงการนี้ ได้มากที่สุด
เขามีความสามารถพิเศษสูง และเข้ากับคนง่าย จึงมีหลายฝ่ายพยายามแย่งตัวไปทำงานด้วย
ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายที่อยากตัดตัวกลางออกไปจากระบบการเงิน เช่น กลุ่มคนที่สร้างคริปโทเคอร์เรนซี และ Decentralized Finance (DeFi)
หรือกลุ่มคนที่เป็นตัวกลาง เช่น รัฐบาล, ธนาคารกลาง แต่เห็นศักยภาพของ DLT
จึงชวนน้องเล็กคนนี้ มาร่วมพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง ที่เรียกกันว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) มาต่อกรกับคริปโทเคอร์เรนซี
มาถึงตรงนี้ สังเกตไหมว่า เกือบทุกสถาบันการเงินในปัจจุบัน
มักจะมี 3 พี่น้อง อยู่ร่วมด้วยช่วยกันบริหารธุรกิจ
ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามบริษัท ว่าจะให้ใคร มีบทบาทในการเป็นผู้นำ เพื่อกำหนดแนวทางธุรกิจมากกว่ากัน
สำหรับระดับประเทศ ทิศทางของภาคการเงินหลังจากนี้ จะไปทางไหน
ก็ขึ้นอยู่กับพ่อแม่ หรือรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย ของประเทศนั้น ๆ
ว่าจะรักษาสมดุลระหว่าง การป้องกันความเสี่ยง (พี่ใหญ่) และการสร้างนวัตกรรม (พี่รองและน้องเล็ก)
เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ที่ตอบโจทย์ยุคปัจจุบันและอนาคต
รู้หรือไม่ว่า นิทานเปรียบเปรย ธุรกิจภาคการเงิน ที่เล่าไปนี้
เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสือที่ชื่อว่า “The Great Remake สู่โลกใหม่”
ในบท “3 พี่น้อง ผู้ปฏิวัติโลกการเงิน”
ซึ่งเขียนโดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ด้าน Digital Economy แนวหน้าของอาเซียน
ที่เคยเขียนหนังสือ “Futuration เปลี่ยนปัจจุบัน ทันอนาคต”
และยังดำรงตำแหน่ง Group Chief Economist และกรรมการผู้จัดการ ของ Sea Group
ผู้พัฒนาและให้บริการเกมออนไลน์ Garena, แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Shopee และผู้ให้บริการดิจิทัลเพย์เมนต์และการเงินดิจิทัล SeaMoney
โดย ดร.สันติธาร ต้องการถ่ายทอดมุมมองต่อวิกฤติการณ์โควิด
ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมแทบทุกด้าน
ให้นักธุรกิจ, นักลงทุน, รัฐบาล, พนักงานบริษัท และประชาชนทั่วไป
สามารถเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกันเหล่านั้น
และประเมินถึงเศรษฐกิจและสังคมหลังจากนี้ ว่าจะเป็นอย่างไร
ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้คนไทยทุกคนมองเห็นโอกาส
ท่ามกลางความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่ถูกเร่งด้วยเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนไป
จนสามารถเตรียมตัวรับมือ, เปลี่ยนแปลงตัวเอง และสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ หรือการใช้ชีวิตได้ในระยะยาว
ผ่านผลงานหนังสือเล่มล่าสุด “The Great Remake สู่โลกใหม่”
ที่น่าสนใจคือ เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ยังแฝงไปด้วยวิสัยทัศน์ของ Sea Group และผู้บริหาร
ที่ต้องการเห็นและพยายามผลักดันให้ประเทศไทย เป็น Digital Nation โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งผู้บริหารทั้งในประเทศไทยและบริษัทแม่ที่สิงคโปร์ให้ความสำคัญมาก
ต้อง ‘Remake’ คนเพื่ออนาคตอย่างไร ให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และการเน่าบูดของความรู้เดิมที่เร็วขึ้นจนน่าใจหาย การศึกษาในโลกอนาคตจะเป็นอย่างไร ทักษะอะไรที่จำเป็น และเราจะสร้างมันได้อย่างไร ล้วนเป็นคำถามที่เชิญชวนให้เข้าไปค้นหาคำตอบในหนังสือ “The Great Remake สู่โลกใหม่”
สามารถ Pre-Order หนังสือ The Great Remake สู่โลกใหม่
ได้ระหว่างวันนี้ - 7 มิถุนายน 2564
ในราคา 272 บาท (จากราคาเต็ม 320 บาท)
พร้อมจัดส่งฟรี! เริ่มจัดส่งวันที่ 15 มิถุนายน 2564
https://bit.ly/3fpQNO7 หรือ www.matichonbook.com
หรือสั่งที่ Shopee : https://bit.ly/3tZeEJZ (คิดค่าส่งตามจริง)
แล้วหนังสือ The Great Remake สู่โลกใหม่ จะเปิดโลกให้เราได้อย่างไร ?
The Great Remake ช่วยพัฒนาผู้อ่านให้เป็น “คนใหม่” ในยุคใหม่ได้
ด้วยเนื้อหาทั้งหมด 4 ตอน นั่นคือ
1) Rethink อ่านอนาคตที่เร่งเข้ามา
มี 8 บท เช่น “คลื่น 6D” ที่มาก่อนกำหนด เขย่าอนาคตโลกหลังโควิด, Digital Soft Power โอกาสของประเทศไทยในยุคโควิด
ตอนนี้จะมาชวนมอง และทำความเข้าใจภาพใหญ่ว่า
คลื่นเมกะเทรนด์ต่าง ๆ ที่ถูกเร่งให้มาเร็วและแรงขึ้นในโลกหลังโควิด
อาทิ การเข้าสู่โลกดิจิทัล, ความเหลื่อมล้ำในสังคม, การผงาดขึ้นของเอเชีย, ภาวะหนี้ท่วม, ความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม, การเสื่อมถอยของโลกาภิวัตน์ นำมาซึ่งความเสี่ยงและโอกาสอะไรบ้าง
โดยเฉพาะหากคลื่นเมกะเทรนด์เหล่านี้ ซัดเข้ามาพร้อม ๆ กัน และผสานกันเป็นคลื่นใหญ่
มันยิ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ต่อเศรษฐกิจและสังคม แบบที่ซับซ้อนและเดาทางได้ยาก
2) Recovery รับมือวิกฤติแห่งยุค
มี 4 บท เช่น “บาซูก้า” (การคลัง) ที่ดีต้องมี 5T และ 3 กระบวนท่า นโยบายการเงินยุคโควิด
ตอนนี้จะอธิบายถึงกลยุทธ์ ที่รัฐบาล, ธุรกิจ และผู้คน สามารถใช้เพื่อรับมือกับวิกฤติโควิดในระยะสั้น กลาง และยาว ซึ่งต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและตรงจุด
อาทิ “หลัก 3 อยู่ สู้วิกฤติโควิด” ระยะสั้น อยู่รอด ระยะกลาง อยู่เป็น ระยะยาว อยู่ยืน
รวมถึงเรื่องของนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินแบบนอกตำรา ที่รัฐบาลต่าง ๆ เลือกใช้เพื่อต่อลมหายใจของเศรษฐกิจ
3) Reimagine คิดใหม่ยุทธศาสตร์อนาคต
มี 5 บท เช่น ดิสรัปชันคือเสียงที่เราไม่ได้ยิน, “สะพาน” และ “รั้ว” ที่ต้องสร้างในยุคดิจิทัล
แม้โควิดจะเป็นดั่งวิกฤติ แต่อีกมุมก็มาพร้อมกับโอกาส ที่ทำให้เราและธุรกิจ ต้องกลับมาทบทวนตัวเอง
“รีเซ็ต” กรอบความคิดแบบเก่า แล้วคิดใหม่
เพื่อกลับมาทำความรู้จักตัวเอง และค้นหาว่า อะไรคือ จุดมุ่งหมายของเรา ในโลกที่เปลี่ยนไป
และเราต้องปรับตัวอะไรบ้าง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น
4) Remake สร้างคนเพื่ออนาคต
มี 9 บท เช่น ทักษะที่ขาดไม่ได้ในยุคหลังโควิด, Collective Intelligence มนุษย์เราพิเศษอย่างไรในยุค AI, บทบาทมหาวิทยาลัยในโลกที่อาจไม่ต้องมีมหาวิทยาลัย
ตอนนี้ จะเจาะลึกในเรื่องของ “คน” ที่เป็นส่วนสำคัญและมีค่าที่สุดในระบบเศรษฐกิจ
ว่าจะเตรียมคน พัฒนาคน และการศึกษาในยุคหลังโควิดอย่างไร
เพื่อสามารถทำให้กลายเป็นคนที่ทันโลก ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และตอบโจทย์โลกอนาคต
โดยคำว่า Remake ส่วนใหญ่ใช้ในวงการบันเทิง เช่น ละคร, ภาพยนตร์
หมายถึงการนำคอนเทนต์เก่า กลับมาทำใหม่
โดยอาจใช้โครงเรื่องเดิม เป็นจุดเริ่มต้น แต่ปรับเปลี่ยนเรื่องราวและตัวละคร ให้แตกต่างจากเดิม จนแทบจะเป็นละครหรือภาพยนตร์ คนละเรื่อง
หัวใจของการ “Remake คน” จึงเป็นการพยายามสร้างเวอร์ชันใหม่ของตัวเอง ให้ดีกว่าเดิม
แต่ไม่ใช่การ Reset หรือการเริ่มใหม่จากศูนย์ เริ่มจากเป็นกระดาษเปล่า
เพราะทุกคนย่อมมีประสบการณ์ และเรื่องราวชีวิตที่แตกต่าง
ทำให้เส้นทางการพัฒนาและปรับตัว ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ก็คือ การ Remake เป็นการอัปเกรดตัวเอง ให้เป็นคนใหม่ ที่มีความคิดและทักษะเหมาะกับโลกอนาคต
โดยไม่ยึดติดกับกรอบเดิม ๆ หรือความสำเร็จในอดีต
แต่ในขณะเดียวกัน ก็เข้าใจและไม่ปฏิเสธ สิ่งที่ทำให้เราเป็นตัวตนของตัวเอง หรือเป็นเรา ในวันนี้..
ข้อปิดท้ายด้วยประโยคที่ทรงพลัง และชวนให้เราคิด ในหนังสือ “The Great Remake สู่โลกใหม่”
“เราเลือกที่จะทำอะไรในช่วงวิกฤติ แห่งประวัติศาสตร์ครั้งนี้
จะรอให้มันผ่านไป หรือจะใช้มันเพื่อสร้าง ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ
เราเลือกที่จะกลัวการเปลี่ยนแปลง หรือเราจะเชื่อมั่นในพลังของตัวเอง
เพราะสุดท้าย ประวัติศาสตร์ ย่อมถูกเขียนจากอนาคตที่ เราเลือกเดิน”
#TheGreatRemake #สู่โลกใหม่ #สันติธารเสถียรไทย
#SeaTH #Garena #Shopee #SeaMoney
ลงทุนแมน หนังสือ 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最佳貼文
#สาระ #แนวคิด #ความรู้ #สาระศาสตร์ #หนังสือ
จุดประสงค์ของช่องนี้ผมตั้งใจทำเพื่อให้คนที่รักการอ่านแต่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ และช่วยให้นักอ่านได้มีข้อมูลในการตัดสินใจก่อนซื้อหนังสือซักเล่ม หนังสือทุกเล่มที่เลือกอ่านลงช่องนี้คือหนังสือที่ผมได้ซื้อและอ่านเองจนจบแล้วทุกเล่ม ผมเชื่อว่าหนังสือดีๆ เพียงหนึ่งเล่มสามารถเปลี่ยนชีวิตคนคนหนึ่งได้ และหวังว่าหนังสือเสียงทุกเล่มในช่องนี้จะช่วยทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
สำหรับคนที่อยากอ่านอะไรสั้น ผมได้เขียนเอาไว้ที่นี่ https://twitter.com/M0l30T
สำหรับคนที่เล่นเฟซบุ๊คมากกว่า ผมมีเพจที่นี่ http://bit.ly/2DnkUVM
ขอบคุณทุกคนจากใจจริงที่ยังติดตามและสนับสนุนกันอยู่นะครับ
ลงทุนแมน หนังสือ 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最佳解答
#สาระ #แนวคิด #ความรู้ #สาระศาสตร์ #หนังสือ
จุดประสงค์ของช่องนี้ผมตั้งใจทำเพื่อให้คนที่รักการอ่านแต่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ และช่วยให้นักอ่านได้มีข้อมูลในการตัดสินใจก่อนซื้อหนังสือซักเล่ม หนังสือทุกเล่มที่เลือกอ่านลงช่องนี้คือหนังสือที่ผมได้ซื้อและอ่านเองจนจบแล้วทุกเล่ม ผมเชื่อว่าหนังสือดีๆ เพียงหนึ่งเล่มสามารถเปลี่ยนชีวิตคนคนหนึ่งได้ และหวังว่าหนังสือเสียงทุกเล่มในช่องนี้จะช่วยทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
สำหรับคนที่อยากอ่านอะไรสั้น ผมได้เขียนเอาไว้ที่นี่ https://twitter.com/M0l30T
สำหรับคนที่เล่นเฟซบุ๊คมากกว่า ผมมีเพจที่นี่ http://bit.ly/2DnkUVM
ขอบคุณทุกคนจากใจจริงที่ยังติดตามและสนับสนุนกันอยู่นะครับ
ลงทุนแมน หนังสือ 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最佳解答
#สาระ #แนวคิด #ความรู้ #สาระศาสตร์ #นิทานการเงิน
จุดประสงค์ของช่องนี้ผมตั้งใจทำเพื่อให้คนที่รักการอ่านแต่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ และช่วยให้นักอ่านได้มีข้อมูลในการตัดสินใจก่อนซื้อหนังสือซักเล่ม หนังสือทุกเล่มที่เลือกอ่านลงช่องนี้คือหนังสือที่ผมได้ซื้อและอ่านเองจนจบแล้วทุกเล่ม ผมเชื่อว่าหนังสือดีๆ เพียงหนึ่งเล่มสามารถเปลี่ยนชีวิตคนคนหนึ่งได้ และหวังว่าหนังสือเสียงทุกเล่มในช่องนี้จะช่วยทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
สำหรับคนที่อยากอ่านอะไรสั้น ผมได้เขียนเอาไว้ที่นี่ https://twitter.com/M0l30T
สำหรับคนที่เล่นเฟซบุ๊คมากกว่า ผมมีเพจที่นี่ http://bit.ly/2DnkUVM
ขอบคุณทุกคนจากใจจริงที่ยังติดตามและสนับสนุนกันอยู่นะครับ
ลงทุนแมน หนังสือ 在 Book Guide by SE-ED : ลงทุนแมน 1.0 - YouTube 的推薦與評價
" ลงทุนแมน 1.0" เล่มนี้ เป็นการรวมบทความจากเพจ " ลงทุนแมน " ซึ่งมีผู้ติดตามเป็นแสน ว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์ธุรกิจ การลงทุน ... ... <看更多>
ลงทุนแมน หนังสือ 在 หนังสือลงทุนแมน ในเล่มหลังๆ ผลิตออกมาจำนวนจำกัด... - Facebook 的推薦與評價
หนังสือลงทุนแมน ในเล่มหลังๆ ผลิตออกมาจำนวนจำกัด และ มีโอกาสที่จะขาดตลาดได้ในเร็วๆนี้ ก่อนที่จะพลาด สั่งซื้อทุกเล่มทางออนไลน์ได้ พิเศษ Pre-order เล่ม... ... <看更多>